เนื้อสัตว์ ใครว่าแพงจ่ายเพิ่มนิดชีวิตปลอดภัย คนไทยอยู่ได้ เกษตรกรอยู่รอด

เนื้อสัตว์ ใครว่าแพงจ่ายเพิ่มนิดชีวิตปลอดภัย  คนไทยอยู่ได้ เกษตรกรอยู่รอด

ต้นทุนการเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 บาทต่อตัวจากการปรับตัวหนี ASF สร้างมาตรฐานฟาร์มวัตถุดิบอาหารแพง ทำต้นทุนการเลี้ยงพุ่งแต่ยืนยันจะตรึงราคา80 บาทต่อกก. ทั่วประเทศ

การระบาดของโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF และ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ทำให้ปัจจุบันต้นทุนการเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 บาทต่อตัว หรือกิโลกรัมละ 80 บาท ใกล้เคียงกับต้นทุน แต่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรยังยืนยันจะตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไว้ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัมทั่วประเทศ   

 

น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า  ผลพวงของ โควิด และ ASF  กระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของไทยโดยตรง ซึ่งโควิด -19 แม้จะไม่แพร่ระบาดในฝูงสัตว์แต่ก็ทำให้ผู้บริโภคกังวลเรื่องความปลอดภัยในกระบวนการเลี้ยง สุขอนามัยในฟาร์ม ที่อาจจะติดมากับสัตว์ คนงาน หรือ เกษตรกรได้ ไม่ต่างจากโรค ASF ที่เกษตรกรไม่ว่ารายย่อย-รายใหญ่ ต้องใช้มาตรการป้องกันโรคดีที่สุด แข็งแกร่งที่สุด ยกระดับมาตรการป้องกันด้วยความเคร่งครัดและเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าป้องกันโรคได้ 100%  เพราะหากหมูเพียง 1 ตัวที่ติดโรค ต้องทำลายหมูหมดทั้งโรงเรือนนั้น  

161112985447

นับเป็นความโชคดีของประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตสุกรรายใหญ่ของเอเซีย ที่รอดพ้นจากโรค ASF เพียงประเทศเดียว ต้องขอบคุณทุกภาคส่วนตั้งแต่เกษตกร ภาคเอกชน สมาคมที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล ที่ร่วมมือกันป้องกันโรคมาด้วยดีตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แม้ต้องแบกภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นทุกฟาร์ม จากตัวเลขของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เกษตรกรมีต้นทุนในการป้องกันโรคเพิ่มขึ้น 300 บาทต่อตัว  

นอกจากนี้ ต้นทุนวัตถุดิบหลักที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะกากถั่วเหลืองทำสถิติสูงสุดในรอบ ปี โดยราคากากถั่วเหลืองในปัจจุบัน (จากถั่วเหลืองนำเข้า) อยู่ที่กิโลกรัมละ 18.75 บาท ขณะที่วัตถุดิบอื่น เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง รำ-ปลายข้าว ราคาก็เพิ่มขึ้นจากมาตรการประกันรายได้เกษตรกรของภาครัฐ เพื่อชดเชยความเสียหายของผลผลิตที่เกิดจากภัยพิบัติหลายครั้ง 

            ที่สำคัญกรมปศุสัตว์ ได้ประกาศให้ฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ที่ต้องมีการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Pratice : GMP) ส่วนฟาร์มขนาดเล็กต้องอยู่ภายใต้มาตรฐาน GFM ที่ต้องมีระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมอย่างเคร่งครัด ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงฟาร์มด้วยการจัดเตรียมและติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันโรค ขณะที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศกำหนดให้การเลี้ยงสุกรต้องควบคุมน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เกษตรกรต้องทำการบำบัดน้ำเสียตามาตรฐาน เหล่านี้เป็นต้นทุนทั้งสิ้น  

            อีกหนึ่งโรคระบาดที่ไทยยังต้องตั้ง “การ์ดสูง” คือ โรคเพิร์ส (PRRS) จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันโรคเพิ่มเติม เพื่อลดการสูญเสียจากการที่สัตว์ติดโรคไม่เพียงแต่หมูเท่านั้น ที่ต้องเผชิญกับโรคระบาดสัตว์และโควิด-19 สัตว์อื่น เช่น ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด หรือ สัตว์น้ำอื่นๆ ก็ต้องมีมาตรการป้องกันโรคเข้มแข้งระดับสูงสุด เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์คุณภาพดีปลอดภัยต่อผู้บริโภค 

 

สมาคมที่เกี่ยวข้องต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการป้องกันโรคระบาดดังกล่าว ซึ่งการป้องกันยังคงต่อเนื่องไปถึงบุคลากรทุกคนในฟาร์มและโรงงานแปรรูป ล้วนเป็นต้นทุนทั้งสิ้น  

 

ต้นทุนการเลี้ยงสุกร ตามข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 75 บาท ขณะที่ราคาขายสุกรหน้าฟาร์มเกษตรกรตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกร อยู่ที่ 76-80 บาทต่อกิโลกรัม โดยต้องจับตาประกาศต้นทุนของ สศก. ในไตรมาสที่ 1/2564 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 78 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจัยราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่น่าจะเพิ่มขึ้น ภาวะภัยแล้งในช่วงเดือนมีนาคมต่อเมษายน การป้องกันโรคทั้ง ASF และโควิด-19 และยังมีความสูญเสียจากโรคในสุกรที่สำคัญอย่างโรคเพิร์สทำให้ต้นทุนสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าปีนี้ภาวะอากาศแปรปรวนจะรุนแรงกว่าทุกปี ฝนจะมาเร็วและหมดเร็ว ส่งผลให้ช่วงฤดูแล้งยาวนานขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยชาวหมูยังคงร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการร่วมใจกันตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไว้ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัมทั่วประเทศ แม้ต้นทุนจะเพิ่มเกือบเท่าราคาขายที่ 80 บาทแล้วก็ตาม วอนผู้บริโภคเข้าใจในกลไกตลาดที่แท้จริง”

 

ปัจจุบัน หมูไทย "ราคาถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชีย" เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบจาก ASF ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตสูงขึ้นกว่า 2-3 เท่าตัว เช่นประเทศจีน ที่ราคาสูงถึง 160 บาทต่อกิโลกรัม กัมพูชาราคา 95 ต่อกิโลกรัม เวียดนามราคา 90 บาทต่อกิโลกรัม ลาวราคา 85 บาทต่อกิโลกรัม ประเทศเพื่อนบ้านยังนิยมนำเข้าเนื้อหมูคุณภาพดีจากไทยเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนในประเทศด้วย  

 

หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงข้างต้น ราคาต้นทุนที่ขึ้นรอบด้าน เทียบกับราคาเนื้อสัตว์ที่ปลอดโรค-ปลอดภัย ในปัจจุบัน ถือว่าขณะนี้ คือช่วงเวลาที่ “กลไกการตลาด” ทำงานสมบูรณ์ เป็นผลมาจากอุปสงค์-อุปทานอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเนื้อหมู ซึ่งเป็นโปรตีนพื้นฐานในหลายประเทศมีความต้องการสูง แต่ผลผลิตลดลงกว่า 50% ในประเทศที่ประสบกับโรคระบาด ASF และ โรค PRRS ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตสูงขึ้น  ส่วนราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์มกิโลกรัมละ 32 บาท ไข่ไก่หน้าฟาร์มฟองละ 2.50 บาท ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีราคาไม่แพงและเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในช่วงที่เนื้อหมูมีความต้องการสูง