"FOOD" SECTOR (6 ม.ค.64)

"FOOD" SECTOR (6 ม.ค.64)

ราคาสุกรที่สูงขึ้น หนุน CPF

  • What’s new

1) ปริมาณส่งออกทูนากระป๋องลดลง yoy ใน พ.ย.: จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การบริโภคทูนากระป๋องเพิ่มขึ้น 42%yoy สู่ระดับ 3,282 ตันในพ.ย. ในขณะที่ปริมาณการส่งออกยังคงลดลง -3%yoy สู่ระดับ 48,357 ตัน ปริมาณขายรวมเดือน ต.ค. - พ.ย. ลดลงสู่ระดับ 101,186 ตัน, ลดลง -8%yoy

 

2) ปริมาณส่งออกไก่เนื้อชะลอตัวลงใน พ.ย.: การบริโภคไก่เนื้อในประเทศลดลง      -2%yoy สู่ระดับ 161,014 ตัน ใน พ.ย. และปริมาณการส่งออกลดลง -6% สู่ 48,231 ตัน ดังนั้นปริมาณขายรวมเดือน ต.ค. - พ.ย. อยู่ที่ 427,420 ตัน เพิ่มขึ้น 1%yoy

 

3) ราคาสุกรภายในประเทศลดลง mom แต่ยังคงเพิ่มขึ้น yoy: ราคาสุกรภายในประเทศลดลง 12%mom สู่ 73 บาท/กก. ใน ธ.ค. แต่ราคาเฉลี่ย 4Q20 สูงกว่า 4Q19 ราว 26% ทั้งนี้ราคาสุกรภายในประเทศล่าสุดฟื้นตัวสู่ 78 บาท/กก.

 

4) ต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นทำให้กำไร 1Q21F อ่อนแอลง: ราคาข้าวโพดและกากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นใน ธ.ค. ราว 3%yoy และ 27%yoy, ตามลำดับ สำหรับ 4Q20 ราคาข้าวโพดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2%yoy และราคากากถั่วเหลืองเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 20%yoy

 

  • Analysis

กำไรของ CPF มีแนวโน้มเติบโต yoy แต่ทรงตัว qoq 

เนื่องจากราคาสุกรภายในประเทศที่สูงขึ้นจะชดเชยผลกระทบเชิงลบจากธุรกิจไก่เนื้อที่อ่อนแอ และคาดว่ากำไรของ TU  จะอ่อนแอลงใน 4Q20F จากปริมาณขายที่ลดลงของอาหารทะเลแปรรูป

 

  • Action/ Recommendation

ชอบ CPF (ซื้อ, เป้า 42.20 บาท) มากกว่า TU (ซื้อ, เป้า 19.60 บาท): เราคาดว่ากำไรของ CPF มีแนวโน้มที่จะโดดเด่น yoy ทั้งใน 4Q20F โดยได้รับแรงหนุนจากธุรกิจสุกรภายในประเทศ และรายการพิเศษจากการเข้าซื้อกิจการฟาร์มสุกรในจีน ในขณะที่ กำไรของ TU อาจอ่อนแอ yoy เนื่องจากการบริโภคและการส่งออกทูน่ากระป๋องที่ลดลง นอกจากนี้ TU อาจได้รับผลกระทบเชิงลบ ระหว่างที่พนักงานรอผลตรวจ COVID-19 ในสัปดาห์หน้า ในกรณีที่มีการปิดโรงงาน 2 สัปดาห์ เราคาดว่าผลกระทบไม่เกิน 1.6% ของรายได้รวมทั้งปี