Economic (6 ส.ค.63)

Economic (6 ส.ค.63)

กนง. มติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50%

Event

"…ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ในประเทศและการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกแต่ยังต้องระวังความเสี่ยงจากโอกาสเกิดการระบาดระลอกที่สอง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบในปีนี้แต่มีแนวโน้มกลับสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปี 2564 ตามที่ประเมินไว้ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจคณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี มาตรการการคลังของรัฐบาลรวมทั้งมาตรการการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติมช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดคลี่คลายเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย และลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้และเห็นว่าควรผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งหนี้ครัวเรือนและธุรกิจให้เกิดผลในวงกว้างมากขึ้นและเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ตรงจุดและทันการณ์…."

Impact

- ที่ผ่านมา ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินได้ดีแล้ว แต่ยังดีไม่พอ ธปท. ต้องเป็นศูนย์การในการจัดการบริหารการปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือนเพื่อให้การปรับโครงสร้างนี้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อภาครรัวเรือนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ มากกว่าปล่อยให้การปรับโครงสร้างหนี้โดยธนาคารพาณิชย์กับลูกหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังคงคิดอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงมากเกินควร โดยทั้ง ธปท. และรัฐบาลจะต้องผ่อนคลายข้อกำหนดต่างๆ ลงอีก และต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีกใน 2H63 ไปจนถึง 2564 นอกจากนี้ ธปท. ต้อบริหารจัดการให้ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนต่างๆ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนบุคคลทุกประเภทลงมาต่ำกว่า 10% และลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจดจำนองลง 1% เป็นอย่างน้อย และกำหนดเพดานดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สำหรับสินเชื่อทุกประเภทลงจาก 28% ให้เหลือ 15%

- ในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากกว่าที่เคยใช้เคยปฏิบัติมา ธปท. ควรใช้เครื่องมือ และมาตรการทั้งหมดที่มีในมือเพื่อดึงให้เศรษฐกิจดีขึ้นให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ ธปท. ควรใช้วิธีการ “การคุม yield curve” มาใช้แบบเดียวกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลจากการใช้งบประมาณจำนวนมากในมาตรการบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ระดับต่ำเป็น
ประวัติการณ์ต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อยสามปี

- ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลไม่สามารถชำระหนี้ที่คิดดอกเบี้ยแพงได้ ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินต่างพยายามจะทำกำไรให้ได้มากที่สุด นี่คือสาเหตุที่ ธปท. ต้องเป็นศูนย์การในการจัดการบริหารการปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือน

- แม้ในช่วงที่มีการพักชำระหนี้ส่วนบุคคล และผ่อนคลายเกณฑ์การจัดชั้น NPLs ของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน แต่ NPLs เพิ่มขึ้นในงบ 2Q63 ดังนั้น เราจึงไม่แปลกใจถ้า NPLs จะพุ่งขึ้นหลังจากสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้ส่วนบุคคลในปลายเดือนกันยายน

- ตามความเห็นของนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารของ KGI คาดว่า NPLs อาจจะพุ่งขึ้นตั้งแต่ต้นปีหน้าหลังจากที่ธนาคาพาณิชย์และสถาบันการเงินเร่งปรับโครงสร้างหนี้ในไตรมาสที่ 4/63

- การปรับโครงสร้างของธนาคารพาณิชย์ที่ยังคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับที่สูงมากเกินควรจะถ่วงให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าลง

- หลายประเทศเกิดการระบาดรอบสองอาจจะทำให้ศักยภาพการส่งออกของไทย และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสที่ 4/63 ลดลง และมีความเป็นไปได้ที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสที่ 4/63 จะลดลง 100% ต่อไปและฉุดให้ GDP ใน 4Q63 หดตัวแรงกว่าที่คาดไว้

- ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจอาจจะฟื้นตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอก็อาจจะยือเยื้อยาวไปจนถึงไตรมาสที่ 2/64 กนง. ควรจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25bps เหลือ 0.25%และผ่อนคลายเกณฑ์ด้านอื่นๆ เพิ่มอีก เราสนับสนุนให้ กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0% ให้เร็วที่สุด