ดับบลิวเอชเอตั้งเป้าโต15% ครึ่งปีหลังธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมฟื้น

ดับบลิวเอชเอตั้งเป้าโต15% ครึ่งปีหลังธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมฟื้น

ดับบลิวเอชเอ ยืนเป้าโต 15% ธุรกิจโลจิสติกส์ – สาธารณูปโภค – ดิจิทัลแพลตฟอร์ม โตต่อเนื่อง ส่วนธุรกิจนิคมฯ จะฟื้นครึ่งปีหลัง มั่นใจถึงเป้า 1.4 พันไร่ เดินหน้าลงทุนปีนี้ 9 พันล้านบาท ปั 2564 ลงทุนเพิ่ม 1 หมื่นล้านบาท

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยระหว่างการสัมมนาเรื่อง "ส่องหุ้นไทย ฝ่าวิกฤติโควิด" จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่า โควิด-19 เป็ฯงิกฤติที่เจอและต้องผ่าน ตั้งแต่ทำธุรกิจไม่เคยสบาย การที่จะเป็นผู้บริหารในองค์กรจะต้องมองเสนอว่าจะเกิดวิกฤติอะไรในอนาคตได้บ้าง และวางแผนรองรับในด้านต่างๆอย่างไร เพาะวิกฤติจะเกิดขึ้นซ้ำๆตลอดเวลาดังนั้น ดับบลิวเอชเอ จึงระมัดระวังในการลงทุน

โดย ก่อนที่จะเกิดโควิด-19 ดับบลิวเอชเอ คาดว่าในปีนี้จะเป็นปีที่ดีที่สุดตั้งแต่ตั้งบริษัทมาจะขยายตัวกว่า 20%  แต่เมื่อเกิดโควิด-19 ธุรกิจเริ่มได้รับผลกระทบ จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น และปรับลดเป้าหมายเหลือขยายตัว 15% ซึ่งจากการประเมิน 4 กลุ่มธุรกิจหลักของ ดับบลิวเอชเอ ได้แก่ 1. ธุรกิจโลจิสติกส์ 2. ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม 3. ธุถรกิจสาธารณูปโภค และ4. ธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยในธุรกิจโลจิสติกส์ ผลจากโควิด-19 ได้ส่งผลดีต่อธุรกิจนี้มาก ลูกค้าที่มาเช่าคลังสินค้าล้วนแต่มีรายได้โตตั้งแต่ 100-400% โตเร็วมาแต่เป็นธุรกิจข้ามชาติ ซึ่งในขณะนี้ดับบลิวเอชเอ มีพื้นที่คลังสินค้ากว่า 2.5 ล้านตารางเมตร และในปลายปีนี้จะขยายไปที่ 2.56 ล้านตารางเมตร

ทั้งนี้ ธุรกิจคลังสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง มีลูกค้าที่ได้เข้ามาเชื่อพื้นที่ในปีก่อน 3 หมื่นตารางเมตร ปีนี้ได้เป่าเพิ่มอีก 3 หมื่นตารางเมตร และได้เซ็นสัญญาเช่าพื้นที่เพิ่มในปีหน้าอีก 3 หมื่นตารางเมตร และจะมีลูกค้ารายใหม่ขนาดใหญ่จากจีนเข้ามาเพิ่มอีก

ส่วนธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม มองว่าได้รับผลกระทบในระยะสั้น จากการประเมิณในช่วงเดือนก.พ.ที่ผ่านมา พบว่าลูกค้าจีน และเชื้อสายจีนทั่วโลกที่เจรจากันอยู่ต้องการที่จะย้ายฐานออกไปลงทุนนอกจีนโดยเร็ว เพื่อหลีกหนีจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ เพราะผู้ประกอบการต่างไม่ชอบภาวะผันผวน จึงมองว่าแนวโน้มของธุรกิจนิคมฯยังจะไปได้ดี แต่ในช่วงครึ่งปีแรกจะชะงักงัน เพราะไม่สามารถเดินทางมาไทยได้ แต่ในช่วงครึ่งปีหลังการลงทุนในนิคมฯจะกลับมา เพราะได้คุยกับลูกค้ามาโดยตลอด โดยเฉพาะลูกค้าจากจีน ฮ่องกง ไต้หวัน จะมาไทยอีกมากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

               “โควิด-19 และสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้เกิดการย้านฐานการลงทุนออกจากจีน โดยยังคงเป้าหมายการขายพื้นที่ในนิคมฯประเทศไทยที่ 1.2 พันไร่เหมือนเดิม ส่วนที่เวียดนามตั้งเป้าไว้ 200 ไร่ แต่ลูกค้าเข้ามามาก อาจจะเกิดกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้โดยรวมแล้วยังคงเป็นไปตามเป้า 1.4 พันไร่ ซึ่งลูกค้าที่ไปเวียดนามจะเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง ลูกค้ารายล่าสุดในเวียดนามใช้แรงงานหลายหมื่นคน ส่วนไทยมีความได้เปรียบโครงสร้างพื้ฯบาน และเทคโนโลยี 5จี ทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูง โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ยานยนต์สมัยใหม่ และคอนซูเมอร์ จะเข้ามาเพิ่มขึ้น”

ในธุรกิจสาธารณูปโภค ในพวกน้ำ และไฟฟ้า จะลดลงเล็กน้อบจากภัยแล้งทำให้ลดการใช้น้ำ แต่พอเข้าหน้าผลการใช้น้ำก็กบัลมาเหมือนเดิม และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจไฟฟ้าก็มีการลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม จะเข้ามาผลักดันเสริมศักยภาพของธุรกิจต่างๆของดับบลิวเอชเอ เข้ามาช่วยทรานฟอร์เมชั่นในกลุ่มทั้งหมด ส่วนกรณีที่อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นลูกค้าที่สำคัญของดับบลิวเอชเอได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด-19 โดยธุรกิจกลุ่มนี้จะต้องปิดโรงงานเพื่อซ่อมบำรุงปรับปรุงโรงงานทุกปี จึงได้เลื่อนมาปิดโรงงานซ่อมบำรุงในช่วงนี้ 2-8 สัปดาห์ และมองว่าธุรกิจกลุ่มนี้สายป่านยามสามารถผ่านวิกฤตินี้ไปได้ ส่วนโรงงานชิ้นส่วนที่เป็นเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบสูง แต่ก็ไม่ได้เป็นลูกค้าในนิคม และในอุตสาหกรรมนี้บริษัทใหญ่จะดูแลบริษัทรายเล็กที่อยู่ในซัพพลายเชนเป็นอย่างดี

“วิกฤติโควิด-19 กระทบต่อธุรกิจทั้งหมดของดับลลิวเอชเอไม่มาก เพราะ 3 ใน 4 ของธุรกิจหลักยังคงขยายตัว มีเพียงนิคมอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน 20% กว่าๆ ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งถือเป็นการกระจายความเสี่ยงของธุรกิจได้ดี ซึ่งหากรัฐบาลเปิดประเทศให้นักลงทุนเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลังตัวเลขยอดขายของนิคมฯก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น ดับบลิวเอชเอ จึงยังไม่ปรับเป้าหมายลงไปกว่านี้ เพราะความต้องการพื้นที่ในนิคมฯไม่ได้หายไปไหนยังคงมีอยู่สูง ซึ่งรัฐบาลมีแผนที่จะเปิดให้นักลงทุนเข้ามาเจรจาธุรกิจ 3-4 วันโดยไม่ต้องกักตัว คาดว่าจะชัดเจอีก 1 เดือน นักลงทุนก็จะกลับมา ส่วนปีหน้าทุกธุรกิจของดับบลิวเอชเอจะดีขึ้นอย่างแน่นอน”

สำหรับในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มองว่าการลงทุนยังเข้ามาน้อยนั้น ในมุมมองของดับบลิวเอชเอ มองว่า อีอีซื ไม่ใช้ยาวิเศษที่ทำให้นักลงทุนเข้ามาเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว แต่นักลงทุนจะมาแน่นอน ซึ่งในอีอีซี ไม่ได้มีแค่ข้อได้เปรัยบในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เสริมกับโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่ดีอยู่แล้ว แต่รัฐบาลยังได้ปรับสิทธิประโยชน์การลงทุนเอื้อต่อการดึงดูดการลงทุนใน อีอีซี ดีมาก เมื่อรวมกันแล้วทำให้ศักยภาพการดึงดูดการลงทุนของไทยเพิ่มขึ้นมาก

“ในช่วงก่อนปี 2559 ไทยหลุดไปจากแผนที่การลงทุนของโลก เพราะไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ และนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่โดดเด่น และมีปัญหาการเมืองภายในมายาวนาน แต่หลังจากเริ่มโครงการอีอีซีในปี 2560-2561 ไทยได้กลับมาสู่แผนที่การลงทุนของโลกตัวเลขการลงทุนในอีอีซีปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในปีนี้มีการเซ็นต์สัญญาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ไปเกือบทุกโครงการ มีเพียงศูนย์ซ่อมอากาศยานที่เลื่อนออกๆไป ก็จะยิ่งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนมากขึ้น”

ส่วนงบลงทุนในปีนี้ยังคงเป้าหมายเดิม 9 พันล้านบาท และในปีหน้าคาดว่าจะลงทุนอีก 1 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ธุรกิจทั้งหมดขยายได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งในการวางรากฐานใน 4 กลุ่มธุรกิจที่ผ่านมา เป็นการวางรากฐานของสาธารณูปโภคสมัยใหม่ หลังจากนี้จะต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ที่ทุกกลุ่มจะช่วยส่งเสริมขยายตัวไปพร้อมกัน เช่น ในธุรกิจคลังสินค้าก็ขยายไปสู่การใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มีการใช้อุปกรณ์ไอโอที เพื่อขยายธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์มากขึ้น ธุรกิจธุรกิจไฟฟ้าก็จะขยายไปสู่สมาร์ทกริด และใช้เทคโนโลยี 5 จี ต่อยอดสร้างธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งดับบลิวเอชเอ เป็นนิคมฯแห่งแรกที่ได้สิทธิ์ทำ sandbox 5จี เป็นนิคมฯแรก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติหุ่นยนต์ในโรงงานมากขึ้น มีความได้เปรียบมากกว่าที่อื่น

“ที่ผ่านมาเป็นเพียงการวางรากฐานใหม่ของดับบลิวเอชเอ ทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ หลังจากนี้จะนำมารวมกันต่อยอดเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งดับบลิวเอชมีทั้งโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และแพลตฟอร์ม ทำให้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ”