เน้นยืน 1,400 จุด

เน้นยืน 1,400 จุด

วานนี้ดัชนีปิดปรับตัวขึ้นแรงกว่า 36.8 จุด เช่นเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาค หลังทั่วโลกทยอยเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง

ประกอบกับแรงซื้อในกลุ่มที่ยัง Laggard ดัชนี อาทิกลุ่มแบงก์และรับเหมาก่อสร้าง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,411.01 จุด (+36.83 จุด) Volume 1.2 แสนลบ. ต่างชาติ +2,469.57 ลบ. TFEX Net -6,347 สัญญา ตราสารหนี้ +7,539 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+/- ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวก 11.93 จุด +0.05% ขานรับมุมมองบวกต่อแนวโน้มศก.หลังจากตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานในสหรัฐลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 2 ล้านรายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางเดือนมี.ค.

+/- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดบวกเล็กน้อย 12 เซนต์ +0.3% ปิดที่ 37.41 ดอลลาร์/บาร์เรลรอความชัดเจนการจัดประชุมของกลุ่มโอเปกและโอเปกพลัสที่มีการประชุมในสัปดาห์นี้

+ ECB มีมติคงดอกเบี้ยแต่เพิ่มวงเงินซื้อพันธบัตรตามโครงการฉุกเฉิน 6 แสนล้านยูโร ไม่มีนโยบายซื้อหุ้นกู้เอกชนที่มีอันดับ"ขยะ"

-การขาดดุลการค้าของสหรัฐพุ่งขึ้น 16.7% สู่ระดับ 4.94 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าคาดที่ข 4.90 หมื่นล้านดอลลาร์

+ม.หอการค้าฯ เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคพ.ค.ฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือนหลังคลายล็อกดาวน์

+จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยมีทิศทางที่ดีสัปดาห์คาดจะได้ผ่อนคลายเฟส 4 เร็วๆนี้

-ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดลบ 4.12 จุด -0.14% แตะที่ 2,919.25 จุด เช้าเปิด +3.94 จุด

+/- ดัชนีนิกเกอิปิดเพิ่มขึ้น 81.98 จุด +0.36% แตะที่ 22,695.74 จุด เช้าเปิด -82.66 จุด ขายทำกำไร

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 1.88 แสนลบ. ค่าเงินบาท 31.54 บาท/US

*จับตาสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้นลักษณะ Sideway Up หลัง Fund Flow ไหลเข้าตลาดต่อเนื่อง ประกอบกับแรงหนุนจากวานนี้ ศบค. ชุดเล็ก ประชุมพิจารณาผ่อนคลายมาตรการปลดล็อกเฟส คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,400-1,430จุด

 

หุ้นรายงานพิเศษ

(+) 2Q63 สินเชื่อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัว 4% ใน 1Q63 โดยได้แรงหนุนมาจาก 1) การเบิกใช้สินเชื่อเพิ่มขึ้นของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อทดแทนการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ / หุ้นกู้ 2) การปล่อย Soft Loan ดอกเบี้ยต่ำตามมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่อง

(-) การลดดอกเบี้ยเงินกู้ 2 ครั้งในเดือนเม.ย. และ พ.ค. ให้สอดคล้องกับนโยบายการเงินของธปท. รวมทั้งการพักชำระหนี้ กดดันรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย

(-) คุณภาพหนี้มีแนวโน้มลดลงจากภาพรวมศก.ชะลอและถูกกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กดดันให้ NPL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีภาระในการตั้งสำรองฯ สูงขึ้น

ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อปัจจัยพื้นฐานในระยะยาวของหุ้นกลุ่มธนาคารที่มีการซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี โดยมี PBV 0.67 เท่า เราให้น้ำหนักการลงทุนเป็น “Neutral”  เน้นหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ PBV ต่ำกว่ากลุ่ม

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2 ดี (WICE TASCO CPF)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากรัฐออกแพคเกจกระตุ้นเที่ยวในประเทศ (ERW CENTEL AOT AAV BA)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการผ่อนคลาย Lockdown เฟส 3 (SPA MAJOR CRC CPN SF HMPRO)

หุ้นมีข่าว   

 S Conference Call (แนะนำ wait & see)

·         1Q63 มีกำไรสุทธิ 335 ล้านบาท +14%yoy จากการรับรู้กำไร 423 ล้านบาทจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อยของ SHR และการรับรู้กำไรจากหุ้นกู้แปลงสภาพตามวิธี Mark to market 115 ล้านบาทหลังเริ่มใช้มาตรฐานบัญชี TFRS9 ทั้งนี้รายได้รวมจาก 3 ธุรกิจหลักจากที่พักอาศัย อาคารสำนักงานและพื้นที่เช่า และโรงแรมลดลง 27% เหลือ 2,186 ล้านบาทจากผลกระทบของมาตรการ lockdown ทำให้ธุรกิจโรงแรมเกือบทั้งหมดต้องปิดบริการ ส่วนการดำเนินงานปกติที่ไม่รวมรายการพิเศษพลิกขาดทุน 252 ล้านบาท

·         การดำเนินงานในช่วง 2Q63 เป็นช่วง lockdown เกือบเต็มไตรมาสจึงคาดว่าธุรกิจโรงแรม (สัดส่วนรายได้ 54%) และธุรกิจอาคารสำนักงานและพื้นที่เช่า (สัดส่วนรายได้ 17%) ยังได้รับผลกระทบจากการปิดบริการตั้งแต่เดือนเม.ย. เดือนมิ.ย.บริษัทออกแคมเปญ การันตีผลตอบแทน 7% 2 ปี”สนับสนุนการขายคอนโดฯพร้อมเข้าอยู่ 2 โครง การ THE ESSE อโศก  และ THE ESSE สิงห์ คอมเพล็กซ์  ใน 4Q63 มีโครงการที่จะก่อสร้างเสร็จเริ่มโอนได้แก่ THE ESSE สุขุมวิท 36 มูลค่าโครงการ 6,500 ล้านบาทซึ่งร่วมทุนกับฮ่องกงแลนด์ มียอดขายแล้วกว่า 60% ส่วน ในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งเป็นช่วงคลาย lockdown ดำเนินธุรกิจแบบ new normal กลยุทธ์ M&A ปรับมาโฟกัสโครงการในภูมิภาคเอเชีย และเลื่อนแผนขายทรัพย์สินเข้ากองทุน REIT ออกไป

·         ความเห็น คาด 2Q63 ยังได้รับผลกระทบจากการปิดบริการธุรกิจโรงแรม และการงดเก็บค่าเช่าหรือให้ส่วนลดค่าเช่า และน่าจะทยอยฟื้นตัวในช่วงปลายปีจากการผ่อนคลาย lockdown ในเดือนมิ.ย. และการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสสุดท้ายแต่น่าจะยังไม่กลับสู่สถานะปกติเช่นเดียวกับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ราคาหุ้นลดลง 28%YTD ซื้อขายที่ PE 10.92 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ระดับ 13.3 เท่า PBV 0.7 เท่า แนะนำ wait & see

 (+) RS (Bloomberg Consensus 13.16 บาท)  วางเป้ารายได้ปีนี้ใหม่ที่ 4,250 ล้านบาท เติบโตกว่า 20% พร้อมคาดรายได้ 1 หมื่นล้านบาท ในปี 65 ชูโมเดลธุรกิจ Entertainmerce ก้าวข้ามเทคโนโลยีดิสรัปชั่น ลุยปรับตัวก่อนเสมอ และมองเป็นเรื่องนอร์มอล (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) WHAUP (Bloomberg Consensus 6.38 บาท)  ติดตั้ง Solar System ให้กับ คอนติเนนทอล ไทร์สผู้นำด้านการผลิตยางรถยนต์ระดับโลกจากเยอรมัน ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 ขนาด 4.2 MW คาดแล้วเสร็จ ก.พ. 64 สร้างรายได้เฉลี่ย 16.3 ล้านบาท/ปี หนุนกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของ WHAUP เพิ่มขึ้นแตะ 597 MW (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+/-) INSET (ราคาเหมาะสม 3.26 บาท)   ลุ้นคว้างานดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐ มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท หนุนแบ็กล็อกพุ่ง 2,200 ล้านบาท ดันผลงานไตรมาส 2/63 ใกล้เคียงหรือดีกว่าปีก่อน ติดตามผลประมูลโครงการติดตั้งอุปกรณ์โทรคมฯ ภาครัฐใน 1-2 เดือนนี้ มั่นใจรายได้ 63 โตตามนัด 10-15% (ที่มา ข่าวหุ้น)

(-) SAT (Bloomberg Consensus 11.96 บาท) คาดรายได้ปี 63 ลดลง 30-40% จากปีก่อน หลังคาดยอดผลิตรถยนต์ในประเทศหดตัวเหลือ 1.3 ล้านคัน รับผลกระทบโควิด-19 ส่งผลผู้ผลิตรถยนต์หยุดผลิตชั่วคราว เม.ย.-พ.ค. 63 บวกกับเศรษฐกิจชะลอตัว ยอมรับผลงานไตรมาส 2/63 ค่อนข้างต่ำ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) BCPG (Bloomberg Consensus 21.23 บาท)   เผยมี PPA ในมือ 841.9 เมกะวัตต์ ขายไฟแล้ว 451.8 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการพัฒนา 390 เมกะวัตต์ รับโควิด-19 ระบาดกระทบการลงทุนโครงการใหม่ พร้อมลดงบลงทุนเหลือ 8,000-15,000 ล้านบาท ระบุปีนี้รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้า Nam San 3A และ 3B เต็มสูบ ดัน EBITDA โตเฉลี่ย 20% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) TQM (Bloomberg Consensus 99.00 บาท) เดินเกมบุกต่างประเทศ ปักหมุด CLMV ร่วมกับพันธมิตร เผยอยู่ระหว่างดีลซื้อกิจการธุรกิจโบรกเกอร์ในประเทศ เสริมแกร่ง แถมส่งซิก Q2/2563 ฟอร์มแจ่ม รับโปรดักต์ใหม่หนุน ส่วนปี 2563 ยืนเป้ายอดขายที่ 1.5 หมื่นล้านบาท อานิสงส์พอร์ตลูกค้าโตต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SONIC (Bloomberg Consensus - บาท) เดินเกมขยายฐานธุรกิจเขต EEC ปลื้มกระแสตอบรับดี เล็งเพิ่มรถรองรับดีมานด์จากเดิมให้บริการแล้ว 30 คัน หลังปริมาณการขนส่งพุ่ง จากปกติ 3.6-4 พันตู้ต่อเดือน ส่งสัญญาณผลงานครึ่งปีแรกโตเด่น มองเป้ารายได้ทั้งปีสูงกว่าปีก่อน (ที่มา ข่าวหุ้น)