ติดตามสถานการณ์ตลาดตราสารหนี้และผู้ป่วย Covid-19

ติดตามสถานการณ์ตลาดตราสารหนี้และผู้ป่วย Covid-19

สถานการณ์ตลาดตราสารหนี้กลับมาอยู่ในจุดที่ต้องจับตา

หลัง บลจ.แห่งหนึ่งประกาศไม่ขาย ไม่รับเปลี่ยนหรือซื้อคืนหน่วยลงทุน พร้อมประกาศปิดกองทุนตราสารหนี้ 2 กอง ก่อให้เกิดคำถามถึงการ “ไม่ทำงาน” ของกลไกมาตรการช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน (Mutual Fund Liquidity Facility: MFLF) ของธปท.ที่ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 มี.ค. ซึ่งอาจจุดชนวนให้เกิดแรงขายหรือไถ่ถอนในตลาดตราสารหนี้ และทำให้ความกังวลความเสี่ยงเครดิตของบริษัทที่มีหนี้สูง หรือมีความจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์กลับมากดดันต่อตลาดอีกครั้ง

กนง.มีมติไม่ลดดอกเบี้ยและปรับลดประมาณการณ์ GDP เป็น -5.3% การไม่ลดดอกเบี้ยไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้เรามากนัก และอาจมองในมุมดีว่า กนง.ประเมินมาตรการที่มีในเบื้องต้นเพียงต่อต่อการรับมือความผันผวนและความเสี่ยงในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การปรับลด GDP ปี 2563 เป็น -5.3% ถือเป็นครั้งแรกที่ภาครัฐให้ประมาณการที่แย่กว่าประมาณการของสำนักวิจัยต่างๆมาก และทำให้มีโอกาสเห็นแรงกดดันของการปรับประมาณการทั้งเศรษฐกิจและกำไรบจ.ที่จะตามมา

ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คาดมีผลบวกต่อการควบคุมสถานการณ์ Covid-19 เนื่องจากนายกรัฐมนตรี สามารถรวบอำนาจของรมต.ที่เกี่ยวข้องมาอยู่ภายใต้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งจะมีผลให้การสั่งงานหนวยงานต่างๆ และกระทรวงต่างๆมีเอกภาพไปในทางเดียวกันส่งผลบวกต่อการควบคุมโรคในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยยังไม่มีการประกาศจำกัดเวลาออกนอนเคหสถาน (Curfew) แต่ประกาศข้อกำหนดสำคัญ ได้แก่ 1) ห้าม เข้าพื้นที่เสี่ยง 2) ปิดสถานที่เสี่ยง 3) ปิดช่องทางเข้าราชอาณาจักร 4) ห้ามการกักตุนสินค้า 5) ห้ามการชุมนุม 6) ห้ามการเสนอข่าวบิดเบือน 7) ให้หน่วยงานต่างๆยกระดับเตรียมรับสถานการณ์ เป็นต้น

เข้าสู่ช่วงเวลาท้าทายของการระบาด ตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุดทั่วโลก 468,905 ราย โดยเป็นการติดเชื้อใหม่ในวันที่ผ่านมา 46,331 ราย เสียชีวิต 2,306 ราย อัตราการติดเชื้อเริ่มชะลอแต่ด้วยฐานที่ใหญ่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มในระดับสูง ไทยมีผู้ติดเชื้อ 934 ราย เพิ่มขึ้น 107 ราย ขณะที่ญี่ปุ่น ผู้คิดเชื้อ 1,307 ราย เพิ่มขึ้น 114 ราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการเริ่มระบาดในระลอกที่ 2  

ภาพรวมกลยุทธ์ อาจมีแรงทำกำไร sell on fact แต่ยังลุ้นมีโอกาสฟื้นต่อ โดยใช้ 1,064 เป็นจุดตัดสินใจ เก็งกำไรเน้น สื่อสาร ไฟฟ้า ซึ่งมีโอกาสเป็นเป้าหมายการเพิ่มน้ำหนักของนักลงทุนสถาบัน  และเลือกหุ้นที่ แข็งกว่าตลาด โดยกำหนดจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง // หุ้นแนะนำวันนี้ ซื้อ ADVANC*, SCC* / ทยอยสะสม BPP*, INTUCH, CPF*, CPALL*

แนวรับ 1,064 / แนวต้าน : 1,100-1,133 จุด สัดส่วน : เงินสด 70% : พอร์ตหุ้น 30%.

ประเด็นการลงทุน

บอนด์ยีลสหรัฐฯ ติดลบ – อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะติดลบเป็นครั้งแรกผ่านแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุนท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกัยสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19

กนง.คงดอกเบี้ย หั่น GDP ปี 63 กนง.มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% ต่อปี พร้อมปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโต GDP ปี 63 ลงเป็นหดตัว 5.3% ก่อนกลับมาโต 3% ในปี 64

หุ้นแข็งแกร่งกว่าตลาด - (ราคาปิด 24 มี.ค. สูงกว่าปิด 13 มี.ค.) ตามลำดับ ได้แก่ BJC, TU, DTAC, BGRIM, ADVANC, TRUE, PTT, GULF, RATCH, GPSC, SCC, CPF, BH, EA, INTUCH, EGCO, PTTEP, PTTGC, KTB, IRPC, OSP, CPALL, BANPU, WHA, TOA ทั้งนี้ควรเก็งกำไรแบบกำหนดจุดตัดขาดทุน

ค่าระวางเรือ – ล่าสุดอยู่ที่ 582 เปลี่ยนแปลง -21.00 หรือ -3.48%

ประเด็นติดตาม: 26 มี.ค. – BOE meeting / 31 มี.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย, EU CPI เดือน มี.ค. / 1 เม.ย. – US Manufacturing PMI เดือน มี.ค. / 3 เม.ย. – US Employment report

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)