สนข.กางแผนพัฒนาเมืองต้นแบบ สร้างพื้นที่เศรษฐกิจรอบสถานีขนส่ง

สนข.กางแผนพัฒนาเมืองต้นแบบ สร้างพื้นที่เศรษฐกิจรอบสถานีขนส่ง

โครงการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง หรือ "TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้” เป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม  เร่งศึกษาแผนพัฒนาศักยภาพของเมืองไปพร้อมกับการขยายโครงข่ายด้านคมนาคมที่กำลังจะมีการลงทุน

โครงการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง หรือ“TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้”เป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม นำโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) เมื่อปี 2560 จัดใช้งบประมาณ 400 ล้านบาท เร่งศึกษาแผนพัฒนาศักยภาพของเมืองไปพร้อมกับการขยายโครงข่ายด้านคมนาคมที่กำลังจะมีการลงทุน ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) รวมไปถึงรถไฟฟ้าในภูมิภาค เพื่อผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการพัฒนาสังคม และความเป็นอยู่ประชาชน

การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development :TOD) ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่ สนข.ต้องเร่งศึกษาเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรสนข.เผยว่า สนข.ได้กำหนดเมืองต้นแบบที่จะมีการพัฒนา TOD โดยเลือกเมืองที่มีศักยภาพแตกต่างกัน 3 เมืองหลัก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดขอนแก่น โดยสนข.ได้เริ่มการจัดสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชนแล้ว

สำหรับจังหวัดชลบุรี ถือเป็นพื้นที่ศักยภาพสูงด้านการท่องเที่ยว เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญระดับโลกในปี2560มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนมากถึง 17.4 ล้านราย อัตราการเติบโตเฉลี่ยช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 10.4% ขณะที่ประชากรในจังหวัดก็จำนวนมากถึง 1.5 ล้านราย และในปี 2561 จังหวัดชลบุรี มีอัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจสูงอยู่ที่ 5.57 แสนล้านบาท

นอกจากนี้จังหวัดชลบุรี ยังถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการเชื่อมต่อภาคตะวันออกซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอุตสาหกรรมอยู่มาก ประกอบกับในพื้นที่นี้ ยังมีไฮสปีดเทรน เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ท่าเรือแหลมฉบัง และสนามบินอู่ตะเภา ที่จะเปิดเป็นสนามบินนานาชาติรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ

157503630541

โซนที่ 2 ศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การพาณิชย์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีทั้งโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ระดับภูมิภาครองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ โซนที่ 3 มหานครแห่งอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE City) พัฒนาให้เป็นที่ตั้งของศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าระดับนานาชาติ และโซนที่ 4 ชุมชนที่อยู่อาศัยภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี มีร้านค้าปลีกชุมชน และสวนสาธารณะ

นอกจากนี้ สนข.ยังกำหนดให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองต้นแบบที่ผสมผสานการพัฒนาเชิงธุรกิจ ผนวกกับตอกย้ำภาพลักษณ์เมืองมรดกโลกเพราะอยุธยา มีเอกลักษณ์ความเป็นเมืองเก่าที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการที่ยูเนสโกเสนอให้เป็นพื้นที่มรดกโลกในปี 2534 บนพื้นที่ 1,800 ไร่ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมซึ่งในปี 2560 มีนักท่องเที่ยวสูงถึง 7,600,000 คน อัตราการเติบโต 5.2 % ต่อปีตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

โดยจะพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟอยุธยาเป็น 4 โซน บนพื้นที่ 206 ไร่ โปรเจ็กต์สำคัญที่จะเปลี่ยนภาพของอยุธยา คือการพัฒนาย่านธุรกิจและพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน (Mixed-Use Complex) เพื่อดึงดูดการค้าการลงทุน ขณะเดียวกัน จะยังคงผสมผสานย่านชุมชนเมืองเก่า แบ่งพื้นที่อีก 3 โซนให้เป็นย่านชุมชนการค้าแบบผสมผสาน (Mixed-Use Community) เน้นการเข้าถึงพื้นที่ด้วยระบบขนส่งมวลชนหลัก และระบบขนส่งมวลรอง และครอบคลุมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-Motorized Transport)

157503634873

โดยเป้าหมายการพัฒนา จะปรับพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟขอนแก่น แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 โซน คือ โซนที่ 1 ย่านสำนักงานกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเบา โซนที่ 2 ศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ครบวงจร โซนที่ 3 ศูนย์กลางธุรกิจและพาณิชยกรรมแห่งใหม่ โซนที่ 4 จุดเปลี่ยนถ่ายและศูนย์กลางเชื่อมต่อเดินทาง โซนที่ 5 ย่านชุมชนเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และโซนที่ 7 ชุมชนที่อยู่อาศัยคุณภาพดีผสมผสานศูนย์กลางเมืองเก่า

ทั้งหมดถือเป็นผลการศึกษาและแผนงานเบื้องต้น ที่ สนข.ได้กำหนดไว้คาดว่า มี.ค.– เม.ย.ปีหน้าจะได้เห็นภาพของแผนพัฒนา TOD พื้นที่ต้นแบบทั้ง 3 จังหวัดอย่างชัดเจนก่อนที่จะนำไปสู่การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้