ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 10 -14 มิ.ย. 62 และสรุปสถานการณ์ฯ 3 -7 มิ.ย. 62

ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 10 -14 มิ.ย. 62 และสรุปสถานการณ์ฯ 3 -7 มิ.ย. 62

ราคาน้ำมันดิบคาดถูกกดดัน จากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าที่ยังคงยืดเยื้อ

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 51 - 56 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 61 - 66 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (10 - 14 มิ.ย. 62)

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดัน เนื่องจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า เช่น จีน และเม็กซิโก ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันที่หดตัวลง นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ประกอบกับกำลังการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบคาดได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากประเทศซาอุดิอาระเบียและรัสเซียที่ยังคงปรับตัวลดลง

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มยืดเยื้ออีกยาวนาน หลังสหรัฐฯ ขู่ว่าจะขึ้นภาษีกับสินค้านำเข้าจากจีนทั้งหมด ส่วนจีนก็ออกมาเตือนว่าจะยุติการส่งออกสินแร่หายากมายังสหรัฐฯ หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยกระดับความรุนแรงขึ้น โดยทางการจีนได้เปิดการแถลงข่าวและเผยแพร่เอกสารปกขาว ระบุว่าจีนรักษาคำพูดมาตลอดการเจรจา 11 รอบ แต่ทางสหรัฐฯ เปลี่ยนท่าทีในการเจรจาถึง 3 ครั้ง และมีการบังคับใช้มาตรการขึ้นภาษีใหม่และเงื่อนไขอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือสิ่งที่ตกลงกันไว้แล้ว ซึ่งผลของข้อพิพาททางการค้านี้ ทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2562 ลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.2 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 6.3
  •  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าทั้งหมดจากเม็กซิโกในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย. โดยมีเป้าหมายที่จะกดดันให้รัฐบาลเม็กซิโกแก้ปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายที่ข้ามพรมแดนเข้าสู่สหรัฐฯ ทั้งนี้ เม็กซิโกเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าและผู้จำหน่ายน้ำมันดิบรายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นน้ำมันของสหรัฐฯ ที่ใช้น้ำมันจากเม็กซิโก เนื่องจากต้นทุนการซื้อน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้น ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโก ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจทำให้ความต้องการพลังงานลดลง อย่างไรก็ดี การเรียกเก็บภาษีนำเข้าดังกล่าวมีการเลื่อนออกไป เนื่องจากสหรัฐฯ เล็งเห็นว่า เม็กซิโกมีความพยายามอย่างจริงจังและดำเนินการอย่างรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายที่เป็นข้อกังวลของสหรัฐฯ
  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง โดยตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. 62 ปรับตัวสูงขึ้น 6.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลง โดยไปแตะที่ระดับ 483.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 60 นอกจากนี้ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยไปแตะที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 12.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 100,000 บาร์เรลต่อวัน
  • อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปคมีโอกาสที่จะขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบไปจนถึงสิ้นปีนี้ หลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียเปิดเผยว่า กลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตรพร้อมที่จะรักษาสมดุลตลาดน้ำมันดิบในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป โดยจะพยายามลดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังให้ต่ำกว่าในระดับปัจจุบัน ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียในเดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 9.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าข้อตกลงที่ระดับ 10.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในช่วงวันที่ 1 - 3 มิ.ย. 62 ปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ระดับ 10.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลงจากเดือน พ.ค. 62 ที่ระดับ 11.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  • ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ และดุลการค้าประเทศจีน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 - 7 มิ.ย. 62)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 0.49

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (10 - 14 มิ.ย. 62)

 

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดัน เนื่องจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า เช่น จีน และเม็กซิโก ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันที่หดตัวลง นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ประกอบกับกำลังการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบคาดได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากประเทศซาอุดิอาระเบียและรัสเซียที่ยังคงปรับตัวลดลง

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มยืดเยื้ออีกยาวนาน หลังสหรัฐฯ ขู่ว่าจะขึ้นภาษีกับสินค้านำเข้าจากจีนทั้งหมด ส่วนจีนก็ออกมาเตือนว่าจะยุติการส่งออกสินแร่หายากมายังสหรัฐฯ หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยกระดับความรุนแรงขึ้น โดยทางการจีนได้เปิดการแถลงข่าวและเผยแพร่เอกสารปกขาว ระบุว่าจีนรักษาคำพูดมาตลอดการเจรจา 11 รอบ แต่ทางสหรัฐฯ เปลี่ยนท่าทีในการเจรจาถึง 3 ครั้ง และมีการบังคับใช้มาตรการขึ้นภาษีใหม่และเงื่อนไขอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือสิ่งที่ตกลงกันไว้แล้ว ซึ่งผลของข้อพิพาททางการค้านี้ ทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2562 ลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.2 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 6.3

 

  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าทั้งหมดจากเม็กซิโกในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย. โดยมีเป้าหมายที่จะกดดันให้รัฐบาลเม็กซิโกแก้ปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายที่ข้ามพรมแดนเข้าสู่สหรัฐฯ ทั้งนี้ เม็กซิโกเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าและผู้จำหน่ายน้ำมันดิบรายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นน้ำมันของสหรัฐฯ ที่ใช้น้ำมันจากเม็กซิโก เนื่องจากต้นทุนการซื้อน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้น ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโก ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจทำให้ความต้องการพลังงานลดลง อย่างไรก็ดี การเรียกเก็บภาษีนำเข้าดังกล่าวมีการเลื่อนออกไป เนื่องจากสหรัฐฯ เล็งเห็นว่า เม็กซิโกมีความพยายามอย่างจริงจังและดำเนินการอย่างรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายที่เป็นข้อกังวลของสหรัฐฯ
  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง โดยตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. 62 ปรับตัวสูงขึ้น 6.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลง โดยไปแตะที่ระดับ 483.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 60 นอกจากนี้ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยไปแตะที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 12.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 100,000 บาร์เรลต่อวัน
  • อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีโอกาสที่จะขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบไปจนถึงสิ้นปีนี้ หลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียเปิดเผยว่า กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรพร้อมที่จะรักษาสมดุลตลาดน้ำมันดิบในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป โดยจะพยายามลดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังให้ต่ำกว่าในระดับปัจจุบัน ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียในเดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 9.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าข้อตกลงที่ระดับ 10.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในช่วงวันที่ 1 - 3 มิ.ย. 62 ปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ระดับ 10.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลงจากเดือน พ.ค. 62 ที่ระดับ 11.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  • ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ และดุลการค้าประเทศจีน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 - 7 มิ.ย. 62)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 0.49 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 53.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 1.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ  มาอยู่ที่ 63.29 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 61.03 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังถูกกดดันจากความกังวลในการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า เช่น จีน และเม็กซิโก ส่งผลให้ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 50.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 52 นอกจากนี้ อุปทานน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น โดยกำลังการผลิตน้ำมันดิบปรับสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 12.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากการส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ