คนไทยเคราะห์ซ้ำกรรมซัด อิปซอสส์ ชี้กังวลเศรษฐกิจดิ่ง ลดใช้จ่าย

คนไทยเคราะห์ซ้ำกรรมซัด อิปซอสส์ ชี้กังวลเศรษฐกิจดิ่ง ลดใช้จ่าย

4 ข้อกังวลใหญ่ของคนไทย หลังโควิดคลี่คลาย คือ เรื่องปากท้องมาอันดับแรก เศรษฐกิจดิ่ง รายได้หด ลดใช้จ่าย แม้ต้องกินใช้ แต่ยังห่วงโลกร้อน มองแพลตฟอร์มออนไลน์ทำให้ชีวิตแย่ แต่อินเตอร์เน็ตขาดไม่ได้ ส่วนทั้งโลก 65% มองภาพปี 66 แย่กว่าปี 65 ต่ำสุดรอบ 10 ปี

โลกพ้นวิกฤติใหญ่อย่างโรคโควิด-19 ระบาด สถานการณ์ทุกอย่างเริ่มคลี่คลาย ประเทศเปิดเมืองต้อนรับการเดินทางอีกครั้ง ตลาดยังไม่ฟื้นเต็มที่ สงคราม “รัสเซีย-ยูเครน” สร้างปมขัดแย้ง แบ่งขั้วมหาอำนาจเข้มข้นขึ้น

นอกจากนี้ ยังทำให้ปัญหาเงินเฟ้อพุ่ง อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม ข้าวของสินค้าราคาแพง ทำให้กระเทือนเงินในกระเป๋าผู้บริโภค สถานการณ์ดังกล่าว “อิปซอสส์” จึงทำการศึกษาวิจัยตลาดและความสำรวจความเห็นผู้บริโภคครั้งใหญ่ ภายใต้ “อิปซอสส์ โกลบอล เทรนด์ 2023”หรือ Ipsos Global Trend 2023 โดยมีกลุ่มตัวอย่างกว่า 48,000 คน จาก 50 ประเทศสำคัญ ครอบคลุม 70% ของประชากรโลก และ 87% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) โดยตลาดเอเชียได้สำรวจ 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม

อุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ และ พิมพ์ทัย สุวรรณศุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท อิปซอสส์ จำกัด ร่วมให้ข้อมูลและบทสรุปงานวิจัย อิปซอสส์ โกลบอล เทรนด์ 2023 สะท้อนให้เห็นภาวะวิกฤติโลกเข้าสู่ยุคแห่งความไร้ระเบียบ (A New World Disorder) และเป็นห้วงเวลาเคราะห์ซ้ำกรรมซัดที่ทุกคนกำลังเผชิญ

ขณะที่ประเทศไทย ซึ่งทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างราว 1,000 คน พบ 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายรัดกุมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคนไทย 27% ห่วงเงินในกระเป๋า ต้องรัดเข็มขัดแน่นเทียบกับประชากรชาวเวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมถึงประชากรโลกที่เฉลี่ย 34% ห่วงเรื่องดังกล่าว

คนไทยเคราะห์ซ้ำกรรมซัด อิปซอสส์ ชี้กังวลเศรษฐกิจดิ่ง ลดใช้จ่าย เจาะลึกความกังวล พบว่าคนไทย 53% ห่วงภาวะเงินเฟ้อมากสุด ตามด้วย 48% ห่วงเงินในกระเป๋าจะมีพอใช้จ่ายหรือไม่ ปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้บริโภค 73% จะซื้อสินค้าแบรนด์ไทยท้องถิ่น(Local) จากเดิมซื้อแบรนด์ระดับโลก

“เคราะห์ซ้ำกรรมซัดเป็นธีมที่ทุกคนเผชิญในปีนี้ เพราะเราเจอวิกฤติมาตลอดตั้งแต่โควิด สงครามรัสเซีย-ยูเครน เงินเฟ้อ ซึ่งปีก่อนยังไม่ห่วง แต่ปีนี้กังวลมาก เพราะสินค้าแพงขึ้น รัฐบาลไม่สามารถตรึงราคาได้เหมือนเมื่อก่อน ทำให้เงิน 100 บาทของผู้บริโภคไม่มีค่าเท่าเดิม การใช้จ่ายในบ้าน ซื้อของได้น้อยลง จึงมีผลต่อภาวะจิตใจ”

คนไทยเคราะห์ซ้ำกรรมซัด อิปซอสส์ ชี้กังวลเศรษฐกิจดิ่ง ลดใช้จ่าย 2.สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้บริโภคใส่ใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซื้อสินค้าและบริการจะมีผลต่อโลก เช่น การใช้พลาสติกน้อยลง นอกจากนี้ ยังต้องการเห็นภาครัฐ เอกชนดำเนินการรักษ์โลกที่เป็นรูปธรรม มีการปฏิบัติโครงการต่างๆให้ชัดเจน ไม่แค่ประกาศนโยบายเท่านั้น สำหรับผู้บริโภคชาวไทย 93% กังวลสภาพภูมิอาหาศค่อนข้างมาก จากปัญหาฝุ่น PM2.5

3.บทบาทของแบรนด์ในการสร้างความต่าง และสิ่งที่ผู้บริโภคมองหาจากแบรนด์ เมื่อความเชื่อมั่นและความคาดหวังที่มีจากภาครัฐลดลง โดยคนไทย 80% กังวลรัฐจะดูแลให้บริการสาธารณะต่างๆได้ ไม่มีแผนหรือวิสัยทัศน์ระยะยาว 10 ปี รองรับความต้องการของประชากร จึงหันไปคาดหวังจากแบรนด์มากขึ้น 81% หากภาคธุรกิจ สามารถคืนกำไรให้กับสังคม ก็พร้อมที่จะสนับสนุน ซื้อสินค้า และ 57% ยินดีจ่ายเพิ่มเพื่อแบรนด์ที่ตอบแทนสังคม

คนไทยเคราะห์ซ้ำกรรมซัด อิปซอสส์ ชี้กังวลเศรษฐกิจดิ่ง ลดใช้จ่าย “ภาครัฐอาจดูแลช่วยเหลือประชาชนบางส่วนแค่ผู้ที่อยู่ในระบบ มีรายได้ตามเกณฑ์ แต่บางกลุ่มยังไม่มีมาตรการมารองรับ จึงไม่มั่นใจในภาครัฐ ต้องหันไปพึ่งพาแบรนด์แทนที่ทำเพื่อสังคมจริง ไม่ใช่มีผลประโยชน์แอบแฝง”

4.เทรนด์ในอนาคตด้านเทคโนโลยี แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ผู้บริโภคมองว่ามีผลทำให้ชีวิตแย่ลง ทั้งความสนใจ การปฏิสัมพันธ์ต่อผู้คนรอบข้าง แต่อีกด้านมองว่าขาดอินเตอร์เน็ต โลกออนไลน์ไม่ได้ และยังมองประเด็นดังกล่าวเป็นดาบสองคม โดยเฉพาะแบรนด์นำข้อมูลส่วนตัวไปเอื้อประโยชน์ทางการตลาด

คนไทยเคราะห์ซ้ำกรรมซัด อิปซอสส์ ชี้กังวลเศรษฐกิจดิ่ง ลดใช้จ่าย “คนทั้งโลกกังวลอันดับ 1 คือภาวะเศรษฐกิจแย่ลง ตามด้วยของแพงขึ้น เงินเฟ้อ และการว่างงาน จากปีก่อนเป็นเรื่องภาวะโลกร้อน และงานวิจัยยังสะท้อนผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจอะไรเลย มองโลกแง่ลบโดย 65% มองสถานการณ์ปี 2566 จะแย่กว่าปี 2565 เป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 10 ปี เพราะเวลานี้มีความเปราะบางเข้ามาทั้งวิกฤติธนาคารธนาคารซิลิคอนวัลเลย์ (SVB) ในสหรัฐฯล้ม ตามด้วยเครดิต สวิสมีความเสี่ยง ทำให้กังวลจะกระทบไทยเงินในธนาคารจะปลอดภัยไหม เป็นต้น"