จับทิศทาง วิเคราะห์ธุรกิจในอาเซียน สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

จับทิศทาง วิเคราะห์ธุรกิจในอาเซียน สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

"อาเซียน" ทำเลทองของนักลงทุนจากทั่วโลก อีกหนึ่งโอกาสสู่การขยายธุรกิจไปต่างประเทศ แต่จะไปได้สำเร็จ และเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องวางกลยุทธ์อย่างไร KRUNGSRI BUSINESS SHARING มีคำตอบ

"อาเซียน" ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายใหม่ที่น่าจับตาของนักลงทุน เพราะด้วยศักยภาพของภูมิภาคนี้ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีการเร่งพัฒนาวางโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้นักลงทุนจากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก สนใจในตลาดอาเซียนเป็นอย่างมาก แต่การจะเข้ามาลงทุนก็ต้องมีการวางแผนและมีคำปรึกษาที่ดีด้วย 

KRUNGSRI BUSINESS SHARING พาไปพูดคุยกับผู้บริหารของธนาคารกรุงศรี พันธมิตรภายใต้เครือข่าย MUFG หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำระดับโลกว่า การเข้ามาลงทุนในอาเซียน มีเรื่องอะไรบ้างที่นักลงทุนต้องรู้

โยชิยูกิ โฮริโอะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่น (JPC/MNC Banking) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อาเซียน เป็นตลาดใหญ่ มีประชากรรวมกัน 670 ล้านคน หากเทียบกับการรวมตัวของภูมิภาคอื่นๆ อย่าง EU หรือ NAFTA โดยค่าเฉลี่ยการเติบโตของ GDP 5 ประเทศใหญ่ในอาเซียน สูงเกิน 5% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ดังนั้นจึงเป็นทั้งจุดหมายที่ดีของนักลงทุนและมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ผลิตของบริษัทระดับโลก เพราะมีแรงงานที่ดี มีระบบสาธารณูปโภคที่มั่นคง และการสนับสนุนด้านการลงทุนจากรัฐบาล

คาซูมิ อิเกกามิ Managing Director, MU Research and Consulting (Thailand) Co.,Ltd. กล่าวเสริมว่า หลายประเทศใน อาเซียน ที่มีศักยภาพสูงในด้านการลงทุน ยกตัวอย่างประเทศเวียดนาม มีประชากร 100 ล้านคน GDP โตเฉลี่ยประมาณ 7% ต่อปี ทั้งยังมีศักยภาพเป็นตลาด China +1 ตอนนี้บริษัทระดับโลกจากหลายประเทศ ย้ายไปที่ประเทศนี้ เพื่อเป็นฐานการผลิต เช่นเดียวกับประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดประชากรที่ใหญ่ คือ 240 ล้านคน และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์

"ส่วนประเทศไทย ถ้าดูเทรนด์การลงทุนอย่าง BOI หรือ FDI ในช่วง 3 ปี ดูเหมือนว่าการลงทุนในภาคการผลิตยังไปได้อยู่ในส่วนนี้ ยกตัวอย่างภาคเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์มีการลงทุนที่สูง โดยเฉพาะเครื่องจักร และเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าจะยังโตต่อไปในประเทศ เพราะไทยเป็นหนึ่งในฐานผู้ผลิตรายใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เทรนด์นี้จึงช่วยดันการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมตรงนี้" อิเกกามิ กล่าว

เมื่อถามถึงจุดสำคัญของการขยายธุรกิจในอาเซียน โฮริโอะ และ อิเกกามิ เห็นตรงกันคือ ต้องเข้าใจความพิเศษของแต่ละประเทศ ทั้งโครงสร้างประชากร ศาสนา วิธีการทำธุรกิจ กฎหมาย เครือข่ายขนส่งสินค้า และอื่นๆ 

"มันสำคัญมากที่ต้องเข้าใจกฎหมายการทำธุรกิจในแต่ละประเทศ ตรงนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ว่า จะทำธุรกิจด้วยตัวเอง หรือหาหุ้นส่วนกับบริษัทในประเทศนั้น และเป็นรื่องสำคัญที่เราต้องรู้ด้วยถึงการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มตลาดเป้าหมาย อย่างผู้กำหนดนโยบาย ลูกค้า หรือคู่แข่ง โดยการศึกษาเรื่องผู้เล่นจะสะท้อนว่า ตลาดเคลื่อนไหวอย่างไร เราต้องเข้าหาใคร ร่วมมือกับใคร หรือควรหลีกเลี่ยงใคร ถือเป็นจุดแข็งของเราในฐานะบริษัทที่ให้คำปรึกษาของ MUFG Group" อิเกกามิ กล่าวเสริม

สำหรับใครที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ๆ อย่างอาเซียน โฮริโอะ กล่าวว่า ทาง ธนาคารกรุงศรี ให้คำปรึกษาเพื่อสนับสนุนลูกค้าในการสร้างแผนการทำธุรกิจอยู่แล้ว เช่น การขยายธุรกิจในส่วนใหม่ๆ ด้วยการให้ข้อมูลตลาด ช่วยขอใบอนุญาตทำธุรกิจ สร้างสำนักงานใหญ่ในภูมิภาค และการสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ยังช่วยหาคู่ค้าในการจับคู่ธุรกิจ ซึ่งอาจไม่ได้เป็นแค่บริษัทไทยกับญี่ปุ่น แต่สามารถแนะนำบริษัทสตาร์ทอัพ เพราะตอนนี้มี MOU กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa ในประเทศไทย และ Techo Startup Center ที่เป็นของรัฐบาลกัมพูชา เช่นเดียวกับการร่วมมือกับเครือข่าย MUFG เพื่อขับเคลื่อนการจับคู่ทางธุรกิจให้สำเร็จในภูมิภาคอาเซียน

"เราแนะนำและร่วมมือกับลูกค้า MUFG ทั่วโลกได้เสมอ โดยเฉพาะในอาเซียน อย่างที่รู้ว่า MUFG ทำงานร่วมกับธนาคารที่เป็นพันธมิตร 4 แห่ง มี Krungsri, Danamon Bank ในอินโดนีเซีย VietinBank ในเวียดนาม และ Security Bank ในฟิลิปปินส์ เราโฟกัสการจับคู่ทางธุรกิจให้ลูกค้ากับธนาคารที่เป็นพันธมิตรเหล่านี้ในภูมิภาค โดยสนับสนุนลูกค้าที่พยายามขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเครือข่าย MUFG จากทั่วโลก และด้วยเครือข่าย MUFG เราให้บริการของธนาคารได้ทุกอย่าง เช่น การเปิดบัญชี การกู้ยืม ซึ่งผมเชื่อว่ามีธนาคารไม่กี่แห่ง ที่ให้บริการได้แบบนี้ในระดับโลก" โฮริโอะ กล่าว

สุดท้ายนี้ หากมองการเติบโตของอาเซียนในอีก 5 ปีข้างหน้า โฮริโอะ กล่าวว่า ทุกวันนี้เราเจอการดิสรัปชันของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น บริษัทหลายแห่งกำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบจากทั่วโลกมายังพื้นที่ที่ใกล้กว่า จึงมีความเป็นไปได้ที่บริษัทระดับโลกหลายแห่งจะลงทุนใหม่ในภูมิภาคเดียวกัน เพื่อลดระยะทางการขนส่งวัตถุดิบ ดังนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า เราน่าจะเห็นการลงทุนเพิ่มในภูมิภาคอาเซียน