เหล้า-เบียร์ขึ้นราคา โควิดคลี่คลาย ปิดปี 65 ไทยเบฟโกย 272,359 ล. กำไร 34,505 ล.

เหล้า-เบียร์ขึ้นราคา โควิดคลี่คลาย ปิดปี 65 ไทยเบฟโกย 272,359 ล. กำไร 34,505 ล.

ปิดปีงบประมาณเรียบร้อยสำหรับยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มของเอเชีย "ไทยเบฟเวอเรจ" ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี และมี "ทายาท" เจ้าสัวน้อย ฐาปน สิริวัฒนภักดี นำทัพเคลื่อนอาณาจักร โดยผลงานปี 65 ยอดขายอู้ฟู่ 272,359 ล้านบาท เติบโต 13.2% “กำไร" มั่งคั่ง 34,505 ล้านบาท เติบโต 26.2%

ผลการดำเนินงานของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ประจำปี 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) ยอดขายและ “กำไร” ฟื้นตัวอย่างดี

ก่อนดูผลประกอบการโดยละเอียด ย้อนภาพรวมปี 2564 ธุรกิจยังเผชิญผลกระทบจากโรคโควิด-19 ระบาด ซึ่งมีผลต่อทุกกลุ่มธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งเหล้าเบียร์ เพราะช่องทางขายหลักอย่าง ผับ บาร์ ร้านอาหาร สถานบันเทิงต่างๆ หรือ On Premise ต้องปิดให้บริการจำนวนมาก กว่าจะกลับมาให้บริการก็ค่อนข้างล่าช้ากว่าหลายหมวดธุรกิจ

ส่วนธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ การบริโภคนอกบ้านลดลง หลายสินค้าในตลาด เน้นขาย “ยกลัง” เพื่อกระตุ้นการบริโภคในครัวเรือน ยิ่งกว่านั้น ธุรกิจท่องที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว จึงมีผลต่อการบริโภคและยอดขาย เพราะนอกจากคนไทยกว่า 60 ล้านคน ยังมีนักท่องเที่ยวต่อปีเกือบ 40 ล้านคน เป็นอำนาจซื้ออันหอมหวาน

ส่วนธุรกิจ “ร้านอาหาร” ช่วงโควิดยังระบาด รัฐมีมาตรการล็อกดาวน์และ “ห้าม” บริการนั่งทานในร้าน” หรือ Dine-in ได้รับผลกระทบ การปรับตัวขายจึงเป็นซื้อกลับบ้าน เดลิเวอรี เป็นต้น

ขณะที่ปี 2565 นับตั้งแต่กลางปี สถานการณ์หลายอย่างคลี่คลายมากขึ้น ทำให้ธุรกิจกลับมาค้าขายได้ตามปกติ ผู้คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตตามเดิม รวมถึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เท่าช่วงก่อนวิกฤติไวรัสระบาด

ไทยเบฟมั่งคั่ง โกยกำไร 34,505 ล้านบาท

มาดูผลประกอบการของไทยเบฟ ในปี 2565 บริษัทสร้างรายได้จากการขายรวม 272,359 ล้านบาท เติบโต 13.2% และมี “กำไรสุทธิ” 34,505 ล้านบาท เติบโต 26.2% เป็นการกลับมาโตแรงอีกครั้ง เหมือนก่อนเผชิญโรคโควิด-19 เช่น ในปีงบประมาณ 2562(ต.ค.2561-ก.ย.2562) บริษัททำกำไรโตสูง 33% เป็นต้น

เหล้า-เบียร์ขึ้นราคา โควิดคลี่คลาย ปิดปี 65 ไทยเบฟโกย 272,359 ล. กำไร 34,505 ล.

บน-สัดส่วนยอดขาย ล่าง - สัดส่วนกำไรแต่ละกลุ่มธุรกิจ

สำหรับสัดส่วนยอดขายของธุรกิจแต่ละกลุ่ม เบียร์อยู่ที่ 45% ตามด้วยสุรา 42.7% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 6.4% และอาหาร 6% ทว่า ศักยภาพในการทำ “กำไร” กลุ่ม “สุรา” ซึ่งเป็นกล่องดวงใจของไทยเบฟ ครองสัดส่วนสูงสุด 71.9% ตามด้วยเบียร์ 25% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.9% และอาหาร 1.2% เท่านั้น

เหล้าโตต่ำ -กำไร “ติดลบ”เบียร์โตแรงมาก! จากขึ้นราคา

ทั้งนี้ ผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจสุรา สร้างยอดขายรวม 116,177 ล้านบาท เติบโตต่ำเพียง 1% เท่านั้น เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ “กำไรสุทธิ” มูลค่า 21,902 ล้านบาท อยู่ใน “แดนลบ” เล็กน้อย 1.1% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับยอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการ “ปรับราคา” สินค้า และการขายเชิงปริมาณขยายตัวด้วย ทว่า มิติด้านต้นทุนการผลิตสินค้าขยับตัวเช่นกัน ทั้งกากน้ำตาลหรือโมลาส รวมถึงต้นทุนการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า

ส่วนธุรกิจเบียร์ มียอดขายรวม 122,489 ล้านบาท เติบโต 23.5% และ “กำไรสุทธิ” อยู่ที่ 7,597 ล้านบาท เติบโตสูงถึง 143.6% ปัจจัยยอดขายโต มาจากปริมาณการขายหรือจำนวนลิตรเพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย รวมถึงการ “ปรับราคาสินค้า” ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม เนื่องจาก “ต้นทุน” การผลิตสินค้า บรรจุภัณฑ์ ขวดแก้ว ล้วนขยับขึ้น เหล้า-เบียร์ขึ้นราคา โควิดคลี่คลาย ปิดปี 65 ไทยเบฟโกย 272,359 ล. กำไร 34,505 ล.

การบริโภคฟื้นแล้ว

ทั้งนี้ ยอดขายเชิงปริมาณ เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการบริโภคขยายตัว โดยกลุ่มธุรกิจเบียร์ยอดขายรวม 2,399 ล้านลิตร เติบโต 14.5% สุรา ยอดขายรวม 657 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 0.1%

ผลประกอบการไทยเบฟช่วงเผชิญโควิด

ไทยเบฟเพิ่งเขย่าโครงสร้างครั้งใหญ่ 'เจ้าสัวหนุ่ม ฐาปน' เจนฯใหม่นำทัพเคลื่อนอาณาจักรแสนล้าน

ส่วนธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ยอดขาย 1,617 ล้านลิตร เติบโต 10.9% แบ่งบ่อยตามรายสินค้า ดังนี้ ชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ และเครื่องดื่มสมุนไพรจับใจ ยอดขาย 299 ล้านลิตร เติบโต 18.7% น้ำดื่ม(คริสตัล) ยอดขาย 1,083 ล้านลิตร เติบโต 10.3% เครื่องดื่มอัดลม เอส ฮันเดรด พลัส และซาสี่ ยอดขายรวม 230 ล้านลิตร เติบโต 4,9% และอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ ฯ ยอดขาย 5 ล้านลิตร หดตัวเล็กน้อย 0.5% ส่วนน้ำดื่มและโซดาตรา “ช้าง” ยอดขายรวม 94 ล้านลิตร เติบโต 30.2%

เหล้า-เบียร์ขึ้นราคา โควิดคลี่คลาย ปิดปี 65 ไทยเบฟโกย 272,359 ล. กำไร 34,505 ล.

เครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ อาหาร ธุรกิจต่างประเทศโตยกแผง

ด้านธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งมีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอหลากหลายหมวด ไม่ว่าจะเป็น ชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ น้ำอัดลมเอส น้ำดื่มคริสตัล ฯ สร้างยอดขายรวม 17,432 ล้านบาท เติบโต 14.6% ส่วน “กำไรสุทธิ” อยู่ที่ 586 ล้านบาท เติบโต 27.8%

ขณะที่ธุรกิจอาหาร มียอดขายรวม 16,433 ล้านบาท เติบโต 45.7% มี “กำไรสุทธิ” อยู่ที่ 376 ล้านบาท เติบโต 177.1% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเผชิญ “ขาดทุน” 488 ล้านบาท

ส่วนธุรกิจต่างประเทศ มียอดขายรวม 78,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% หลักๆมาจากยอดขาย “เบียร์” ด้านยอดขาย “สุรา” ในต่างแดนเติบโต 7% พระเอกทำเงินมาจากแกรนด์ รอยัล กรุ๊ป เบอร์ 1 สุราในเมียนมา ตลาดประเทศจีนมีปริมาณการขาย(ลัง)สก๊อต วิสกี้ และสุราจีน รวมถึงยอดขายในประเทศสหรัฐ อินเดีย และญี่ปุ่น

แยกย่อยธุรกิจเบียร์ ยอดขายต่างแดนเพิ่มขึ้น 46% ทั้งจากบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือ ซาเบโก้(SABECO) เบียร์เบอร์ 1 ของเวียดนาม รวมถึงตลาดอาเซียนโดยรวม ตลาดอังกฤา ตะวันออกกลาง ที่เติบโตเป็นอัตรา 2 หลัก

ตลาดต่างประเทศ ยังมียอดขายโซดาช้างในประเทศจีน ที่ยังคงความแข็งแกร่งด้วย

มรรควิธี M&A ทางลัดการเติบโต แต่บางครั้งเจอโจทย์ยากเช่นกัน

ผ่า Passion 2025 ยุทธศาสตร์โตไทยเบฟย้ำยักษ์เครื่องดื่มเอเชีย