คนไทยชอบคอนเทนท์ ‘สนุกสนาน ตลก-การเงินการลงทุน-สุขภาพ’ ยืนหนึ่งถึงปี 66

คนไทยชอบคอนเทนท์ ‘สนุกสนาน ตลก-การเงินการลงทุน-สุขภาพ’ ยืนหนึ่งถึงปี 66

เปิดเทรนด์คอนเทนท์ที่คนไทยชอบเสพ หลังโควิดต่อเนื่องถึงปี 2566 ไอเดียสร้างสรรค์ทั้ง ‘สนุกสนาน ตลก-การเงินการ ลงทุน-สุขภาพ’ ยังคงมาแรง เนื้อหาสั้ย กระชับ ง่ายๆ คีย์สำคัญตรึงผู้บริโภคให้อยู่หมัดใน 2 วินาทีแรก

ในโลกที่มีสื่อเก่า-ใหม่ท่วมท้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามเงาคือ เนื้อหา รายการ หรือคอนเทนท์ ไม่ว่าจะเป็น คลิปวิดีโอสั้น-ยาว ข้อความต่างๆที่ถูกโพสต์ลงบนแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ผู้บริโภคได้เสพ

ช่วงโควิดที่ผ่านมา เป็นนาที “วิกฤติ” ของหลายคน ทั้งต้องทำงานอยู่บ้าน ออกไปทำกิจกรรม ปลดปล่อยไลฟ์สไตล์ต่างๆไม่ได้ ทำให้หนึ่งในวิธีคลายเหงา เครียด คือการดูคอนเทนท์โปรด ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการทำตลาดกับแบรนด์สินค้าและบริการด้วย

นารีรัตน์ แซ่เตียว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง อินไซท์เอรา ฉายภาพ ผ่านงาน iCreator 2022 เกี่ยวกับคอนเทนท์ยอดฮิตที่ครองใจคนไทยในช่วงโควิด และมีแนวโน้มจะปังต่อจนถึงปี 2566 มี 3 หมวดสำคัญ ได้แก่ 1.คอนเทนท์ที่สร้างเสียงหัวเราะ มอบความสนุกสนานให้กับผู้บริโภค สถิติจากออราเคิล ที่สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคนับหมื่นรายจาก 14 ประเทศทั่วโลก ยืนยันได้ดี และ 88% ผู้บริโภคยังมองหาประสบการณ์จากแบรนด์ที่ทำให้ยิ้ม หัวเราะได้ด้วย

นอกจากนี้ คอนเทนท์ที่สนุก ยังส่งผลต่อธุรกิจ โดยเฉพาะผลงานการสร้างสรรค์โฆษณาตลก ทำให้ผู้บริโภค 90% เกิดการจดจำ รวมถึง 91% ต้องการให้แบรนด์ดูสนุกสนาน โดยเฉพาะเหล่าคนรุ่นใหม่ วัยมิเลเนียล เจนเนอเรชั่นซี(Z)

2.คอนเทนท์ด้านการเงิน การลงทุน เมื่อผู้คนจำนวนมาก ได้รับผลกระทบจากโควิดระบาด เช่น กองทุนที่เคยเป็นบวกอยู่ในภาวะ “ติดลบ” ดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน และสู้กับ “เงินเฟ้อ” ไม่ได้ ฯ ทำให้การหาตัวช่วยด้านการเงินจึงตามมา

“ทวิตเตอร์” แพลตฟอร์มที่เม้าท์มอย โพสต์ข้อความสั้นเกี่ยวกับวงการบันเทิง ศิลปินเกาหลี ยังกลายเป็นพื้นที่พูดถึงการเงินการลงทุนไม่ต่ำกว่า 70,000 ข้อความต่อวัน นอกจากนี้ 94% ของผู้บริโภคยังมีความคาดหวังเกี่ยวกับข้อมูลความรู้จากสถาบันการเงินมากขึ้นด้วย

“กูเกิล” ถูกผู้คนใช้ค้นหาข้อมูลความรู้ด้านการเงินการลงทุนเติบโต 44% เทียบปี 2562 ส่วนเหล่าคนดังด้านการเงินหรือฟินฟลูเอ็นเซอร์เติบโต 40-70% เฉพาะแจ้งเกิดบน “ยูทูป” โตหลัก 100% สถานการณ์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็น “เทรนด์” ผู้บริโภคไม่ได้เลือกเชื่อแค่ข้อมูลจากสถาบันการเงินอีกต่อไป แต่มองหาช่องทางใหม่ และติดตาม ยอม “เลือกเอง เจ็บด้วยตัวเอง”

คนไทยชอบคอนเทนท์ ‘สนุกสนาน ตลก-การเงินการลงทุน-สุขภาพ’ ยืนหนึ่งถึงปี 66 “สะท้อนว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านการเงินสูงมาก มองหาทางเลือกในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ทำให้ฟินฟลูเอ็นเซอร์เติบโตขึ้นมากด้วย”

3.คอนเทนท์สายสุขภาพ จริงๆแล้วครีเอเตอร์ บล็อกเกอร์สายสุขภาพ ตลอดจนเทรนด์ผู้บริโภคใส่ใจ ดูแลตัวเองมากขึ้น เกิดก่อนโควิด-19 ระบาด แต่ไวรัสกลายเป็น “ตัวเร่ง” กระแส เพราะคนไม่สามารถไปออกกำลังกายนอกบ้านได้ จึงต้องดูคอนเทนท์ผ่านออนไลน์แทน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อินฟลูเอ็นเซอร์สายสุขภาพ คอนเทนท์ด้านโภชนาการ ฯ มีคนติดตาม(Follower)เติบโตกว่า 200%

แม้สถานการณ์โควิดคลี่คลาย แต่ผู้บริโภคปรับตัว ออกกำลังกายอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้คอนเทนท์สายเฮลท์ยังฮอต โดยต้นปีคอนเทนท์ที่สร้างสรรค์ผ่านยูทูป สามารถโกยยอดรับชม(View)กว่า 600 ล้านวิว ทวิเตอร์มีคนพูดถึงคอนเทนท์สุขภาพเพิ่มกว่า 70% เป็นต้น

“โอกาสการทำคอนเทนท์ด้านสุขภาพ ยังมีอยู่ต่อเนื่อง”

คนไทยชอบคอนเทนท์ ‘สนุกสนาน ตลก-การเงินการลงทุน-สุขภาพ’ ยืนหนึ่งถึงปี 66 ทั้งนี้ คอนเทนท์ประเภทไหนมาแรง เมื่อรู้แล้วจะสร้างสรรค์ให้ผู้บริโภคเสพ ผู้คนติดตามไม่ง่าย และไม่มีสูตรสำเร็จ แต่การอ่านกระแสหรือเทรนด์ ตลอดจน Insight สำคัญ “นารีรัตน์” มองการต่อยอดพัฒนาคอนเทนทในปี 2566 ต้องทำให้ “สั้น-ง่าย” หรือ Keep it simple and short เพราะอย่างแพลตฟอร์มติ๊กต๊อก(TikTok) หากทำคอนเทนท์ดีแค่ไหน แต่ 2 วินาทีสะกดคนดูไม่ได้ จะถูกเลื่อนผ่านทันที

ไม่ใช่แค่คลิปวิดีโอที่ต้องสั้น เรียบง่าย ได้ใจคนดู แต่ “ข้อความ” ก็ทำได้ ตัวอย่างแบรนด์ดังทำแคมเปญ “จดหมายถึงคนธรรมดา” ที่สร้างไวรัล โกยเอ็นเกจเมนต์ล้นหลาม มาจากเนื้อหาที่สั้น เรียบง่ายมากๆ

เพื่อย้ำว่า เทรนด์วิดีโอสั้นยังทรงอิทธิพล คืออัตราการเติบโต 135% ต่อปี รวมถึงติ๊กต๊อก เจ้าแห่งแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ที่มียอดดาวน์โหลด “แซง” เฟซบุ๊ก เล่นงานจนหุ้นร่วงมาแล้ว รวมถึงสถิติ 84% ผู้บริโภคที่เข้าใช้แพลตฟอร์มติ๊กต๊อกแล้วออกไม่ได้

ส่วนข้อความสั้น “ทวิตเตอร์” ยังได้รับความนิยม เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่สาวกสามารถ “ปั่น” สารพัดกระแสหรือเทรนด์ทั้งแบรนด์ ศิลปิน คอนเทนท์ ฯ จนติดอันดับโลกบ่อยครั้งทั้งที่ไทยประชากรกว่า 60 ล้านคน แต่ใช้งานเติบโตอันดับ 8 ของโลก

“แบรนด์หันมาจับทวิตเตอร์เพื่อทำตลาดมากขึ้น”

คนไทยชอบคอนเทนท์ ‘สนุกสนาน ตลก-การเงินการลงทุน-สุขภาพ’ ยืนหนึ่งถึงปี 66 ปิดท้ายที่ ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเป็นฝ่ายสร้างสรรค์คอนเทนท์หรือ Consumer Generated :CG แพลตฟอร์มมหาศาล ไม่ได้มีแผนกผลิตคอนเทนท์ แต่ทุกคนมีส่วนร่วมเนรมิตเนื้อหา หลายครั้งที่เหล่าครีเอเตอร์ บล็อกเกอร์ ยูทูปเบอร์ ตีบตันไอเดีย เพียงโพสต์บนโลกออนไลน์สั้นๆ จะมีคนจำนวนมากพร้อมใจแบ่งปันคอนเทนท์ เช่น การโพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์

ใครมีคลิปหรือภาพที่ดูแล้วขำจนตด อยากให้คนอื่นขำตดแตกเหมือนกันบ้าง quote แชร์ให้ดูหน่อยฮะ..ซึ่งถูกรีทวีตกว่า 6.7 หมื่นครั้ง และเอ็นเกจเมนต์กว่า 1.27 แสนเอ็นเกจเมนต์ และ

มีฟีลเกร็ดอาชีพแบบที่คนอื่นไม่ต้องรู้ก็ได้แต่อยากจะเล่ามั้ยนะ ถูกรีทวีตกว่า 1.8 หมื่นครั้ง 

การสร้างคอนเทนท์โดยผู้บริโภค ยังถือเป็น win-win strategy ของแบรนด์ด้วย กรณีศึกษาเพลงคาเฟอีน ของหญิงลี ศรีจุมพล แบรนด์ “อินทนิล” จัดกิจกรรมชาเลนจ์บนติ๊กต๊อก มีผู้บริโภคแจมจำนวนมาก ซึ่งแบรนด์มีคนสนใจมากขึ้น ศิลปินดังขึ้น ผู้บริโภคสนุก ได้ยอดเอ็นเกจเมนต์

“สิ่งที่เกิดขึ้น ผู้บริโภคได้สร้างสรรค์คอนเทนท์ในมุมของตัวเอง แบรนด์ไม่ต้องจ้างหรือเสียเงิน แค่ดีลกับเจ้าของเพลง ยุคนี้การสร้างคอนเทนท์ง่ายขึ้น ไม่ต้องมีโปรดักชั่น ผู้บริโภคมีวิธีการลองผิดลองถูกโดยที่ต้นทุนเวลา เงินต่ำ”