“ไทย”ดันความมั่นคงอาหาร ยืนหนึ่ง“ครัวเอเปค-ครัวโลก”

“ไทย”ดันความมั่นคงอาหาร  ยืนหนึ่ง“ครัวเอเปค-ครัวโลก”

กระทรวงเกษตรฯหนุน 5 นโยบายความมั่นคงด้านอาหารในเวทีเอเปค ไทยพร้อมเป็นครัวให้กับประชากรในภูมิภาคเอเปคและครัวโลก หนุนความปลอดภัยอาหารให้ได้มาตรฐานสากล ถูกหลักโภชนาการ ผลิตอาหารที่ยั่งยืน

“ภาคเกษตร”เป็นอีกส่วนที่มีการขับเคลื่อนในเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (เอเปค) โดยมีการประชุมการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2565 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อแสดงเจตนารมณ์ด้านความมั่นคงอาหารร่วมกัน 

ทั้งนี้มีการผลักดันการดำเนินงานส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงการหารือเกี่ยวกับนโยบาย ตลอดจนแนวทางในการรับมือกับประเด็นท้าทายด้านความมั่นคงอาหาร โดยที่ประชุมรับรองแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ.2030 และออกแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7

ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานหุ้นส่วนเชิงนโยบายด้านความมั่นคงอาหาร ประจำปี 2022  เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สศก. กรมวิชาการเกษตร และกรมประมง ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่เกี่ยวข้องภายใต้กรอบเอเปค มาตั้งแต่เดือน ก.พ.2565 ซึ่งเป็นการแสดงวิสัยทัศน์และแนวนโยบายในการผลักดันความมั่นคงทางอาหาร ตามนโยบายสำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย 

 

 

1.การสนับสนุนความปลอดภัยอาหารและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 2.การปรับปรุงการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี 3.การส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ 4.การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคเกษตรอาหาร และ 5.การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

“ไทย”ดันความมั่นคงอาหาร  ยืนหนึ่ง“ครัวเอเปค-ครัวโลก” “ไทย”ดันความมั่นคงอาหาร  ยืนหนึ่ง“ครัวเอเปค-ครัวโลก” “ไทย”ดันความมั่นคงอาหาร  ยืนหนึ่ง“ครัวเอเปค-ครัวโลก” “ไทย”ดันความมั่นคงอาหาร  ยืนหนึ่ง“ครัวเอเปค-ครัวโลก”

นอกจากนี้ยังผลักดันการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารเอเปค ผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย 3S ทั้งเรื่อง Safety , Security และ Sustainability ส่งเสริมความปลอดภัยอาหารให้ได้มาตรฐานสากล ถูกหลักโภชนาการ 

รวมถึงส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงการพัฒนาฐานข้อมูลด้วยระบบ Big Data ด้านดิน น้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาดของพืชและสัตว์ และเพิ่มโอกาส ในการเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วย BCG Model เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า สินค้าเกษตรและอาหารไทย ที่มีผลผลิตที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมเป็นครัวให้กับประชากรในภูมิภาคเอเปคและครัวโลก

สำหรับความมั่นคงอาหารในประเทศไทย มีการวางแผนเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงอาหารทั้งระบบ โดยผ่าน กลไกคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ โดย สศก.จัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด (Provincial Crop Calendar) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงกันทั้งระบบเพื่อคาดการณ์ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรแบบรายชนิดสินค้า ที่จะออกสู่ตลาดเป็นรายเดือนตลอดปีเพาะปลูกล่วงหน้า ในแต่ละจังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งจะทำให้ทราบปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ในแต่ละจังหวัด ทำให้สามารถบริหารจัดการความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการได้ทั้งระบบทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤต

 

“ไทย”ดันความมั่นคงอาหาร  ยืนหนึ่ง“ครัวเอเปค-ครัวโลก”

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการรวบรวมสินค้าพืช 50 ชนิด ปศุสัตว์ 10 ชนิด และประมง 10 ชนิด แสดงทั้งปริมาณผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ข้อมูลความพอเพียงของหมู่โภชนาการต่อประชากรในจังหวัด สัดส่วนของเกษตรกรในแต่ละชนิดสินค้า ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในแต่ละเดือน และสัดส่วนการกระจายผลผลิตภายในและภายนอกจังหวัดเป็นรายสินค้าและรายจังหวัด ซึ่งเป็นการบริหารจัดการและสร้างความเชื่อมั่นความมั่นคงอาหารในประเทศ 

สำหรับผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.2565 จำนวน 14 รายการประชุม เช่น 

การประชุมหุ้นส่วนเชิงนโยบายด้านความมั่นคงอาหาร (Policy Partnership on Food Security : PPFS) ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 14-15  ก.พ. 2565 โดย สศก.เป็นผู้รับผิดชอบ และมีการรายงานภาพรวมผลการดำเนินงาน PPFS ในปี 2021 และรายงานความคืบหน้าของนโยบายด้านความมั่นคงอาหารและแนวคิดริเริ่มที่สนับสนุนแผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ.2030 ของเอเปค รวมถึงทำแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารสู่ปี 2030 และร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค

การประชุมคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง (Ocean and Fisheries Working Group : OFWG) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 14-15  ก.พ.2565 โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมประมง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยมีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการทางวิชาการ การรายงานผลการดำเนินโครงการที่เสร็จสิ้นแล้ว รวมถึงการนำเสนอแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาทางทะเลและประมงโดยองค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs)

การประชุมคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรองของเอเปค (Sub-Committee on Standard and Conformance : SCSC) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15-16  ก.พ.2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ มกอช.เป็นหน่วยงานสนับสนุน ในการประชุมมีการรับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการความร่วมมือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับด้านมาตรฐานและการรับรอง หารือตัวชี้วัดการดำเนินงานและการจัดทำและส่งเสริมมาตรฐานและโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับ BCG Model

การประชุมร่วมของหุ้นส่วนเชิงนโยบายด้านความมั่นคงอาหารและคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง เมื่อวันที่ 16  ก.พ.2565 จัดโดย สศก.และมีการรายงานผลการดำเนินงานของ PPFS และ OFWG ในปี 2564 รวมถึงความก้าวหน้าของการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ.2030 และปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค

การประชุมหุ้นส่วนเชิงนโยบายความมั่นคงอาหาร (PPFS) ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 17-18  ส.ค.2565 โดยมี สศก.เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสมาชิกเอเปคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย การประชุมมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค และแผนปฏิบัติการสำหรับแผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ.2030

การประชุมคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง (OFWG) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17-18 ส.ค.2565 โดยมีกรมประมงเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สมาชิกเอเปคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย การประชุมมีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการภายใต้กรอบ OFWG ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้แผน IUU and Marine Debris Roadmap Implementation Plan