อลงกรณ์ สั่งกรมวิชาการเกษตรแจงฟรุ้ตบอร์ด หลังเด้ง ผอ.สำนักวิจัยฯ พ้น อีอีซี

อลงกรณ์ สั่งกรมวิชาการเกษตรแจงฟรุ้ตบอร์ด หลังเด้ง ผอ.สำนักวิจัยฯ พ้น อีอีซี

อลงกรณ์ เรียก อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ชี้แจง ฟรุ้ตบอร์ด 27 ต.ค.นี้ หลังมีคำสั่งโยกย้าย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 พ้นตำแหน่ง ย้ำไม่ได้แทรกแซง แต่มีสิทธิ์รับทราบการเปลี่ยนแปลงบุคลากรที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ตบอร์ด) เปิดเผยว่า หลังจากทราบข่าวว่ามีการโยกย้ายนายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช จนมีเสียงเรียกร้องจากหลายองค์กรด้านผลไม้ขอให้มีการทบทวนการโยกย้ายดังกล่าว

 

อลงกรณ์ สั่งกรมวิชาการเกษตรแจงฟรุ้ตบอร์ด หลังเด้ง ผอ.สำนักวิจัยฯ พ้น อีอีซี อลงกรณ์ สั่งกรมวิชาการเกษตรแจงฟรุ้ตบอร์ด หลังเด้ง ผอ.สำนักวิจัยฯ พ้น อีอีซี

อลงกรณ์ สั่งกรมวิชาการเกษตรแจงฟรุ้ตบอร์ด หลังเด้ง ผอ.สำนักวิจัยฯ พ้น อีอีซี อลงกรณ์ สั่งกรมวิชาการเกษตรแจงฟรุ้ตบอร์ด หลังเด้ง ผอ.สำนักวิจัยฯ พ้น อีอีซี

จึงให้ฝ่ายเลขาฯ เชิญอธิบดีกรมวิชาการเกษตรมาชี้แจงต่อที่ประชุมฟรุ้ต บอร์ด ในวันพฤหัสบดีที่ 27ตุลาคมนี้ ถึงเหตุผลในการโยกย้ายนายชลธี ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดกรมวิชาการที่รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออก อันเป็นแหล่งผลิตผลไม้แหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศ

 

“ฟรุ้ตบอร์ดเป็นคณะกรรมการระดับชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการผลไม้เศรษฐกิจของประเทศ จึงให้ความสำคัญกับบุคคลากรที่เป็นคีย์แมนคนสำคัญ ๆ ของทุกกระทรวงทบวงกรม และผู้อำนวยการสวพ.6 ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น จึงขอทราบเหตุผลและความจำเป็นของการโยกย้ายดังกล่าวเพื่อรายงานต่อ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานฟรุ้ตบอร์ดเพื่อพิจารณาต่อไป ขอให้มั่นใจว่าจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างเที่ยงธรรม” นายอลงกรณ์ กล่าว

    นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประธานฟรุ้ตบอร์ดได้มอบนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลไม้ทั้ง GAP และ GMP เป็นนโยบายหลัก รวมทั้งนโยบายปราบปรามขบวนการสวมสิทธิ์ทุเรียน และทุเรียนอ่อนอย่างเด็ดขาด ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ในทุกภาคทั่วประเทศ พร้อมกับการใช้นโยบายตลาดนำการผลิตและการบริหารโลจิสติกส์ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดอื่น ๆ

จนสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวสวนและประเทศจากการส่งออกทุเรียนและผลไม้ของไทยได้กว่า 2 แสนล้านบาท โดยเฉพาะทุเรียนผลสด ส่งออกทะลุ 100,000 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลงานของทุกภาคีภาคส่วนทั้งภาครัฐภาคเอกชนและเกษตรกรชาวสวนที่ร่วมกันทำงานอย่างหนัก ฝ่าฟันวิกฤติโควิด19 และผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนตลอดเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา

  “แม้การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการจะเป็นอำนาจของผู้บริหารกรม ซึ่งฟรุ้ตบอร์ดไม่มีอำนาจไปก้าวก่ายแทรกแซงการบริหารงานบุคคล แต่ฟรุ้ตบอร์ดก็มีสิทธิ์ที่จะรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงบุคลากรที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญ ภายใต้การบริหารจัดการผลไม้ของฟรุ้ตบอร์ดเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การทำงานภายใต้นโยบายสำคัญ ๆ ของฟรุ้ตบอร์ดจะไม่เกิดปัญหา โดยเฉพาะการปราบปรามขบวนการสวมสิทธิ์ทุเรียนและทุเรียนอ่อนจะต้องดำเนินการอย่างเฉียบขาด ต้องไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดไปแสวงประโยชน์ หรือหากมีใครแอบอ้างผู้มีอิทธิพลหรือนักการเมืองก็ให้ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด จะต้องไม่มีการลูบหน้าปะจมูกเป็นอันขาด

เป็นนโยบายที่ประธานฟรุ้ตบอร์ดและตนย้ำมาโดยตลอด เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเกรงกลัวต่ออิทธิพลใด ๆ นอกจากนี้ ฟรุ้ต บอร์ดยังมอบหมายรองปลัดกระทรวงเกษตรฯ และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ รวมทั้งตน ลงพื้นที่สนับสนุนการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคพจ. เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกรและสวพ.ทุกภูมิภาค รวมทั้งภาคตะวันออกเป็นการทำงานแบบบูรณาการเชิงรุกตลอด 3 ปีที่ผ่านมา” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด.