“จุรินทร์”ปิดจ๊อบซาอุ เจรจานำเข้าปุ๋ย 1.2 แสนตัน แก้ปุ๋ยขาด

“จุรินทร์”ปิดจ๊อบซาอุ เจรจานำเข้าปุ๋ย 1.2 แสนตัน แก้ปุ๋ยขาด

“จุรินทร์” พบบริษัทปุ๋ยยักษ์ใหญ่ของซาอุชื่อ”ซาบิค” เจรจานำเข้าได้อีก 1.2 แสนตันในเดือนส.ค. รวมนำเข้าทั้งหมด 425,000 ตัน แก้ปัญหาปุ๋ยขาดแคลน ยอมรับราคายังแพง เหตุ ราคาน้ำมัน แก๊ซ ที่เป็นวัตถุดิบยังสูง

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์และผู้แทนภาคเอกชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการ พบหารือกับผู้บริหารบริษัท SABIC (Saudi Basic Industries Corporation) Mr.Yousef Abdullah Al-Benyan ตำแหน่ง CEO บริษัท SABIC และคณะ ที่บริษัท SABIC ประเทศซาอุดิอาระเบีย ว่า  SABIC ถือเป็นบริษัทผลิตปุ๋ยรายใหญ่รายหนึ่งของโลกและเป็นรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งบริษัทนี้ทำธุรกิจหลายด้านโดยเฉพาะปิโตรเคมี ปุ๋ย เคมีภัณฑ์และอื่นๆทั้งอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น ดำเนินกิจการมาแล้ว 50 ปี ถือเป็นอันดับหนึ่งในตะวันออกกลาง ค้าขายกับ 50 ประเทศทั่วโลก โดยไทยถือว่าเป็นหนึ่งในนั้นและหลังจากฟื้นความสัมพันธ์ บริษัท SABIC ให้ความสำคัญกับประเทศไทยเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย

“ การนำคณะเดินทางเยือนซาอุฯและได้เจรจากับซาอุฯนำเข้าปุ๋ยและได้ทำสัญญาซื้อขาย นำเข้าปุ๋ยได้แล้วถึงเดือนก.ค.จำนวน 323,000 ตัน และเดือนส.ค.นี้ มีการเจรจานำเข้าเพิ่มเติมอีก 102,000 ตัน รวมนำเข้าปุ๋ยจากซาอุฯ  425,000 ตันทำให้ปัญหาขาดแคลนปุ๋ยไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่เรื่องราคายังต้องเป็นไปตามกลไกของราคาปุ๋ยในตลาดโลก “นายจุรินทร์ กล่าว

ปัญหาเรื่องปริมาณปุ๋ยได้แก้ไขแล้ว เหลือเพียงแต่ราคา ซึ่งต้องยอมรับว่า  ราคาปุ๋ยขึ้นอยู่ราคาตลาดโลก โดยเฉพะแก๊ซธรรมชาติที่เป็นวัตุดิบในการผลิต ราคยังสูงอยู่ ซึ่งเราต้องนำเข้าปุ๋ยเกือบ 100% ต้นทุนการนำเข้าปุ๋ยในประเทศไทยจึงสูงขึ้นตามราคาปุ๋ยในตลาดโลกและราคาแก๊สในตลาดโลก รวมทั้งการขนส่งปุ๋ยเข้ามาต้องใช้น้ำมัน ทำให้ราคาปุ๋ยในประเทศมีราคาสูง 

 

แม้การนำเข้าปุ๋ยเพิ่มขึ้นยังแก้ปัญหาเรื่องราคาไม่ได้ เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากและปุ๋ยทำจากแก๊สธรรมชาติ เมื่อราคาแก๊สในตลาดโลกยังสูง ส่งผลให้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกสูงขึ้นด้วย ดังนั้นเมื่อนำเข้าปุ๋ยเกือบ 100% ต้นทุนการนำเข้าปุ๋ยในประเทศไทยจึงสูงขึ้นตามราคาปุ๋ยในตลาดโลกและราคาแก๊สในตลาดโลก รวมทั้งการขนส่งปุ๋ยเข้ามาต้องใช้น้ำมัน ทำให้ราคาปุ๋ยในประเทศมีราคาสูง โดยต้องแก้ปัญหาเรื่องราคาแพง และปริมาณปุ๋ยต้องไม่ขาดแคลนเพื่อให้เกษตรกรทุกกลุ่มของไทยมีปริมาณปุ๋ยใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ 

นอกจากนี้ แม้ว่าราคาจะแก้ไขด้วยการจัดทำโครงสร้างราคาใหม่ โดยกรมการค้าภายในเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งทำเสร็จแล้วสอดคล้องกับต้นทุนที่เป็นจริงในการนำเข้า โดยดูจากใบอินวอยด์จริง ซื้อขายจริง ให้ยุติธรรมกับเกษตรกรที่เป็นผู้ใช้ปลายทางและผู้นำเข้า แต่ราคาก็ถือว่าสอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงเพื่อไม่ให้เกษตรกรตัองแบกรับต้นทุนที่สูงเกินไป

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะจัดโครงการปุ๋ยราคาพิเศษช่วยเหลือเกษตรกรเป็นการเฉพาะ ตนได้สั่งการว่าจะทำอย่างไรให้กระทรวงเกษตรฯกับกระทรวงพาณิชย์ร่วมมือกันแสวงหาแหล่งปุ๋ยราคาพิเศษ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จะพยายามเต็มที่ และจัดปุ๋ยราคาพิเศษให้กลุ่มเกษตรกร แต่ละรายเป็นราคาตลาด ซึ่งตนได้สั่งการไปแล้ว สำหรับซาอุดีอาระเบียเรานำเข้าปุ๋ยได้เยอะขึ้น เร่งรัดมากกว่าช่วงที่ผ่านมา เพราะรัฐบาลไฟเขียวให้โอกาสเรานำเข้ามากขึ้นเดิม นำเข้าจาก SABIC เป็นหลัก ตอนหลังให้นำเข้าจากบริษัทมาเดน (MA'ADEN) ได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งมาเดน ผลิตฟอสฟอรัสเป็นหลัก ส่วน SABIC ผลิตยูเรียเป็นหลัก จะนำเข้าฟอสฟอรัสกับยูเรียได้มากขึ้น ส่วนโพแทสเซียมหาจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม

ทั้งนี้ โครงการปุ๋ยราคาพิเศษได้ทำมาแล้วรอบหนึ่ง โดยใช้ความร่วมมือระหว่างสมาคมปุ๋ยแห่งประเทศไทยกับกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ ปรับราคาปุ๋ยลง จากราคาตลาดกระสอบละ 20-50 บาท จำนวน 4,500,000 กระสอบ และมีอีกทางคือการช่วยสนับสนุนชดเชยราคาปุ๋ยให้กับเกษตรกรซึ่งรอการพิจารณาของฝ่ายต่างๆที่ดูแลด้านการเงินการคลังของประเทศอยู่