เปิดข้อเสนอไทย เวทีสุดยอดผู้นำ ‘เอเปค’ ดัน ‘Bangkok Goals’ - ‘BCG’ เคลื่อนศก.

เปิดข้อเสนอไทย เวทีสุดยอดผู้นำ ‘เอเปค’  ดัน ‘Bangkok Goals’ -  ‘BCG’ เคลื่อนศก.

ไทยในฐานะเจ้าภาพเอเปคเตรียมเสนอ ร่างเอกสาร Bangkok Goals ให้ผู้นำชาติสมาชิกเอเปคร่วมลงนาม ครอบคลุม BCG เน้น 3 ประเด็น การฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังโควิด การรับมือความเปลี่ยนแปลงเรื่องยูเครน-รัสเซีย ราคาพลังงาน และ ศก.โลกถดถอยพร้อมเสนอ FTAAP ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด

ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ปี 2565  โดยจะมีผู้นำในเขตเศรษฐกิจเอเปคจากหลายประเทศเดินทางเข้ามาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำและการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องในวันที่ 14 – 19 พ.ย.2565 ที่จะถึงนี้ รัฐบาลเตรียมจะประกาศวันหยุดพิเศษในวันที่ 16 – 18 พ.ย.เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการจราจร และการอารักขาผู้นำ

ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคถือเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยที่ จะแสดงจุดยืนและบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค ตามแนวคิดหลักในการจัดงานในครั้งนี้คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance.”

สำหรับประเด็นทางด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะนำเสนอในโอกาสเป็นเจ้าภาพการประชุมในครั้งนี้ได้แก่ การส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ผ่านการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเพื่อสร้างสมดุล เปิดกว้าง คือการส่งเสริมการเปิดรับมุมมองใหม่ที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อนำมาสร้างเสริมบรรยากาศการดำเนินธุรกิจและการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เชื่อมโยง การรื้อฟื้น การเดินทางเพื่อสร้างเสริมปฏิสัมพันธ์และการทำธุรกิจในภูมิภาคให้คืนกลับอย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ไทยได้นำเสนอหลักการสำคัญเรื่องการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม (BCG) เพื่อมาปรับแนวทางการทำธุรกิจ และการดำเนินชีวิต ในมิติต่าง ๆ เพื่อสร้างเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ที่ยั่งยืนและครอบคลุม กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะนำผลการดำเนินการไปประกาศในการประชุมระดับผู้นำในเดือน พ.ย.2565

ทั้งนี้ไทยในฐานะเจ้าภาพจะนำแนวคิด BCG ของไทยไปแลกเปลี่ยนในเอเปค เพื่อให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเติบโต อย่างแข็งแกร่ง ครอบคลุม ยั่งยืน และคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย ต่อภูมิภาค และต่อโลกในภาพรวม มาชิกเอเปคสนับสนุนข้อเสนอของไทย และจัดทำเอกสารระดับผู้นำ “Bangkok Goals on BCG Economy” และรับทราบความคืบหน้าของการจัดทำเอกสารดังกล่าวในถ้อยแถลงของผู้นำที่จะมาร่วมประชุม

โดยการดำเนินการต่อไป ไทยจะพัฒนาร่างเอกสารดังกล่าวร่วมกับสมาชิกเอเปค รวมถึงนำไปหารือในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสโดยมีแผนให้ได้ข้อสรุปและนำเสนอร่างสุดท้ายให้ผู้นำรับรอง ทั้งนี้ Bangkok Goals จะเป็นมรดก (legacy) ที่ไทยจะมอบให้เอเปคเพื่อเป็นแนวทางการผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุมในภูมิภาค ในอีกหลายปีข้างหน้าต่อไปหลังจากที่จบวาระการเป็นเจ้าภาพของไทยไปแล้ว

นอกจากนี้ หนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่เราทำงานใกล้ชิด คือ สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2566  โดยหนึ่งในประเด็นที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น คือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการเติบโตสีเขียว

ทั้งนี้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ของไทย เป็นความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจและ องค์กรระหว่างประเทศ เพื่อมุ่งไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังยุคโควิต-19 และการสร้างเศรษฐกิจในภูมิภาคให้มี ความเข้มแข็งเพื่อเดินหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืน มีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง (disruptions) ต่าง ๆซึ่งรวมถึงความท้าทายที่กำลังอุบัติขึ้นจากสถานการณ์รัสเซีย-เครน อย่างราคาอาหาร สินค้าเกษตร น้ำมันและ พลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ความผันผวนของอุปทานสินค้าที่จำเป็น และความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจโลd

ทั้งนี้รายละเอียดของ Bangkok Goal เป็นเอกสารย้ำเจตนารมณ์ร่วมของเอเปคในการผลักดันการฟื้นตัวจากโควิด-19และขับเคลื่อนการเติบโตในระยะยาวที่ยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม ประกอบด้วย

1.การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ ความเป็นกลางทางคการปล่อยก็าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์

2.การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน

 3. การบริหารจัดการทรัพยากร ที่ยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ

4.การลดและบริหารจัดการของเสีย

อย่างไรก็ตามเป้าหมายเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และสอดคล้องกับนโยบายของไทยและพันธกิจของหน่วยงาน

ไทยที่เกี่ยวข้อง และสะท้อนความมุ่งมั่นของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ

ต่าง ๆ เช่น กรอบกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC) และ ต่อยอดจากงานของเอเปคที่ทำอยู่แล้ว เช่น การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด และพลังงานสีเขียว การส่งเสริมเกษตรกรรมและระบบอาหารที่ยั่งยืน การอำนวยความสะดวกการค้าสินค้าและ บริการสิ่งแวดล้อม การจัดการกับ การทำประมงผิดกฎหมาย (UU fishing)  ขยะทะเล การลักลอบตัดไม้และค้าไม้ผิดกฎหมาย การส่งเสริม ธุรกิจสีเขียวรวมถึง ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และราย ย่อย (MSMEs)  เป็นต้น

“การดำเนินการ Bangkok Goals  ต้องผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ระบบภายในกลไกเอเปค (whole-of-system approach) ผ่านปัจจัยขับเคลื่อน 4 ประการ ได้แก่ การมีกฎระเบียบที่เอื้ออำนวย การพัฒนาโครงการพื้นฐาน การเสริมสร้างขีดความสามารถ และการสร้างเครือข่ายกับภาคส่วนต่างๆ”

 ทั้งนี้ วางแผนมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคมีหน้าที่ติดตาม ความคืบหน้าและผลลัพธ์ของการดำเนินการตาม Bangkok Goals และให้สำนักเลขาธิการเอเปคเป็นผู้รวบรวม โครงการและความร่วมมือที่เกี่ยวข้องเพื่อรายงานต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสต่อไป

สำหรับข้อเสนออื่นๆในเรื่องเศรษฐกิจได้แก่ ด้านการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน ไทยผลักดันการทบทวนการหารือเรื่อง การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน ไทยผลักดันการทบทวนการหารือเรื่อง เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หลังยุคโควิด-19 (a refreshed APEC conversation on post-COVID-19หรือ "FTAAP" โดยนำบทเรียนจากโควิด-19 มาส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค คำนึงถึงประเด็น ด้านดิจิทัล สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์ จากบรรยากาศดำเนินธุรกิจที่ดีและมีคุณภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในอนาคตต่อไป

ล่าสุด ใน การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (MRT) ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือน พ.ค. 2565 สมาชิกเอเปคสนับสนุนให้

จัดทำแผนงานระยะหลายปี (multi-year work plan) เพื่อสานต่อการหารือเรื่อง FTAAP อย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้รับการระบุในถ้อยแถลงประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปคด้วย