ผ่าอาณาจักรพัดลมหมื่นล้าน “ฮาตาริ” ก่อน “จุน วนวิทย์” ควักบริจาค 900 ล้าน

ผ่าอาณาจักรพัดลมหมื่นล้าน “ฮาตาริ” ก่อน “จุน วนวิทย์” ควักบริจาค 900 ล้าน

ผ่าอาณาจักร “พัดลมฮาตาริ” หมื่นล้านบาท! ก่อน “จุน วนวิทย์” หัวเรือใหญ่ “วรวิทย์กรุ๊ป” ควักบริจาคมูลนิธิรามาธิบดีฯ 900 ล้านบาท ผ่องถ่ายธุรกิจสู่มือ “ภริยา-ลูกหลาน” เกือบหมดแล้ว เหลือคุมอยู่ 5 แห่ง บริษัทซื้อขายที่ดินคอนเนกชั่น “เหล่าธรรมทัศน์-สุขศรีวงศ์” ด้วย

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างเสียงฮือฮาในโซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก เมื่อมีการแชร์ประเด็น “จุน วนวิทย์” และครอบครัว แห่งอาณาจักร “วนวิทย์กรุ๊ป” เจ้าของบริษัทพัดลมหมื่นล้านบาทอย่าง “ฮาตาริ” ควักเงินบริจาค 900 ล้านบาท ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดีฯ

โดยการบริจาคดังกล่าวเป็นการสมทบทุนเพื่อโครงการปรับปรุงอาคารโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี เป็นเงินจำนวน 160,000,000 บาท บริจาคสมทบทุนโครงการศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา เป็นจำนวนเงิน 300,000,000 บาท และบริจาคสมทบทุนโครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี เป็นจำนวนเงิน 440,000,000 บาท

เรียกเสียงปรบมือดังระงมในแวดวงสังคม แต่หลายคนอาจมีคำถามว่า จุน วนวิทย์ คือใคร เพราะในปัจจุบันอาจไม่เป็นที่รู้จัก หรือบางคนเกิดไม่ทัน

“จุน วนวิทย์” หรือที่คนในครอบครัวเรียกว่า “อากงจุน” ปัจจุบันอายุ 86 ปี เป็นเจ้าของธุรกิจเครือ “วนวิทย์ กรุ๊ป” โดยหนึ่งในนั้นคือบริษัทพัดลมที่คนไทยน่าจะคุ้นชื่อเป็นอย่างดี ยี่ห้อ“ฮาตาริ” 

ประวัติส่วนตัว จบการศึกษาในชั้นประถมการศึกษาปีที่ 2 ชีวิตวัยเด็กค่อนข้างยากจน เริ่มต้นทำงานในวัย 17 ปี ด้วยการขับแท็กซี่ ก่อนจะผันตัวมาเป็น “สารพัดช่าง” ทั้งทำของเล่น และอะไหล่พัดลม ซึ่งในช่วงเวลานั้นถือเป็น “ของใหม่” สำหรับสังคมไทย กระทั่งปี 2528 “อากงจุน” ตัดสินใจผลิตพัดลมอย่างเต็มตัว

ผ่านไปเกือบ 30 ปี “จุน วรวิทย์” ส่งพัดลมตัวแรกยี่ห้อ “ฮาตาริ” เข้าสู่วงการ จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่คนไทยคุ้นหูในปัจจุบัน โดยมีการจำหน่ายส่งออกทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์อีกหลายอย่าง เช่น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องซักผ้า เป็นต้น 

ในมุมธุรกิจปัจจุบัน “จุน วรวิทย์” ผ่องถ่ายหุ้นและการบริหารงานบริษัทต่าง ๆ ในเครือ “วนวิทย์ กรุ๊ป” ให้ “ภริยา-บุตร” ดูแลแทบจะทั้งหมดแล้ว ปัจจุบันยังปรากฏชื่อเป็นกรรมการบริษัทอย่างน้อย 9 แห่ง ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ 5 แห่ง มีรายได้รวมนับหมื่นล้านบาท (เท่าที่ตรวจสอบพบ) ดังนี้

  • บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2533 ทุนปัจจุบัน 5 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 10 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 94 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด พัดลมเครื่องฟอกอากาศ,เครื่องซักผ้า ปรากฏชื่อ นายวิทยา พานิชตระกูล นายจุน วนวิทย์ นางสุนทรี วนวิทย์ เป็นกรรมการ

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 มีนายวิชัย วนวิทย์ ถือหุ้นใหญ่สุด 30% นางสุนทรี วนวิทย์ ถือ 25% นางศิริวรรณ พานิชตระกูล ถือ 10% นายวิทยา พานิชตระกูล ถือ 10% นายพิเชษฐ์ วนวิทย์ ถือ 10% นายธนากิจ วนวิทย์ ถือ 10% นางสาวพัฒนา วนวิทย์ ถือ 5%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2564 มีรายได้รวม 6,336,193,438 บาท รายจ่ายรวม 6,249,441,818 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 1,091,470 บาท เสียภาษีเงินได้ 19,838,264 บาท กำไรสุทธิ 65,821,884 บาท

  • บริษัท วนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2528 ทุนปัจจุบัน 400 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 10 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 94 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด ผลิตและจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรากฏชื่อ นายจุน วนวิทย์ นางสุนทรี วนวิทย์ นางศิริวรรณ พานิชตระกูล เป็นกรรมการ

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 นางศิริวรรณ พานิชตระกูล ถือหุ้นใหญ่สุด 30% นางสุนทรี วนวิทย์ ถือ 25% นายวิชัย วนวิทย์ ถือ 20% นายพิเชษฐ์ วนวิทย์ ถือ 10% นายธนากิจ วนวิทย์ ถือ 10% นางสาวพัฒนา วนวิทย์ ถือ 5%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2564 มีรายได้รวม 5,774,766,880 บาท รายจ่ายรวม 4,960,602,582 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 3,575,380 บาท เสียภาษีเงินได้ 164,943,873 บาท กำไรสุทธิ 645,645,044 บาท

  • บริษัท วนวิทย์ เมทัล เวิร์ค จำกัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2536 ทุนปัจจุบัน 20 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 201 หมู่ที่ 9 ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด ผลิตชิ้นส่วนพัดลม ปรากฏชื่อ นายจุน วนวิทย์ นางสุนทรี วนวิทย์ นางศิริวรรณ พานิชตระกูล เป็นกรรมการ

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 มีนางสุนทรี วนวิทย์ ถือหุ้นใหญ่สุด 40% นายวิชัย วนวิทย์ ถือ 15% นายบัญชา พานิชตระกูล ถือ 10% นางสาว ทัศน์ลักษณ์ พานิชตระกูล ถือ 10% นางสาว ชัญญา พานิชตระกูล ถือ 10% นายวิทยา พานิชตระกูล ถือ 5% นางศิริวรรณ พานิชตระกูล ถือ 5% นายพิเชษฐ์ วนวิทย์ ถือ 5%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2564 มีรายได้รวม 478,660,886 บาท รายจ่ายรวม 421,597,672 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 45 บาท เสียภาษีเงินได้ 11,703,175 บาท กำไรสุทธิ 45,360,093 บาท

  • บริษัท จุน เอส.ดับบลิว.พี. จำกัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2531 ทุนปัจจุบัน 25 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 518/5 ชั้น 9 อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด ค้าอสังหาริมทรัพย์ ปรากฏชื่อ นายจุน วนวิทย์ นายวิชัย วนวิทย์ เป็นกรรมการ

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 มีนายวิชัย วนวิทย์ ถือหุ้นใหญ่สุด 36% นายธนกิจ วนวิทย์ ถือ 12% นางลีนา วนวิทย์ ถือ 12% นางสาว วรันธร วนวิทย์ ถือ 12% นางสาว รรินธร วนวิทย์ ถือ 12% นาย จุน วนวิทย์ ถือ 8% และนางสุนทรี วนวิทย์ ถือ 8%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2564 มีรายได้รวม 8,443,693 บาท รายจ่ายรวม 6,814,125 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 171,434 บาท เสียภาษีเงินได้ 128,929 บาท กำไรสุทธิ 1,329,203 บาท

  • บริษัท ชุมพร เบย์ ฮิลล์ จำกัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2533 ทุนปัจจุบัน 1 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 25 ซอยประชานุกูล 3 ซอย 2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด ซื้อ-ขายที่ดิน 

ปรากฏชื่อกรรมการ ดังนี้

  1. นายจุน วนวิทย์
  2. นายปนิธิ เหล่าธรรมทัศน์ (เจ้าของธุรกิจโรงสีข้าว พี่ชายคนรองตระกูล เหล่าธรรมทัศน์)
  3. นางสาวสุมลฑา จุฑาแก้ว
  4. นางสาวปัทมาวดี ธเนศวร
  5. นายสาคร สุขศรีวงศ์ (อาจารย์หมี อาจารย์พิเศษประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ)
  6. นายนิพัทธ์ จิตรประสงค์
  7. นายสุรชัย สุขศรีวงศ์ (อดีตที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา)
  8. นางศิริพร มณีพันธ์

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2565 มีนายสาคร สุขศรีวงศ์ ถือหุ้นใหญ่สุด 31% นางสาว ศิริพร มณีพันธ์ ถือ 15% นายสุรชัย สุขศรีวงศ์ ถือ 15% นายอภิชัย จิตรศรีศักดา ถือ 12% นางศิริวรรณ พานิชตระกูล ถือ 10% นายปนิธิ เหล่าธรรมทัศน์ ถือ 7.5% นายกฤชรัตน์ หิรัณยศิริ ถือ 5% นางสาว สุมลฑา จุฑาแก้ว ถือ 3% นายสวัสดิ์ สุขุมธนานุกุล ถือ 1.5%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2564 ไม่มีรายได้ มีรายจ่ายรวม 7,000 บาท ขาดทุนสุทธิ 7,000 บาท

ส่วนอีก 4 แห่งที่เหลือ ถูกนายทะเบียนขีดชื่อว่า “ร้าง” และเสร็จชำระบัญชีไปหมดแล้ว ได้แก่

  1. บริษัท จุนพัฒนาคลังสินค้า จำกัด ทำธุรกิจรับทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จภายใต้เงื่อนไข ร้างเมื่อ 8 ก.ย. 2537
  2. บริษัท จุนไพศาล จำกัด ประกอบกิจการค้าสินค้าทุกชนิด รวมทั้งสั่งจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศ ร้างเมื่อ 14 ก.พ. 2550
  3. บริษัท วนวิทย์ อิเลคทรอนิคส์ จำกัด ทำธุรกิจอะไหล่และชิ้นส่วนพัดลม,เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เสร็จชำระบัญชีเมื่อ 27 พ.ค. 2552
  4. บริษัท ฮาตาริ แอลอีดี จำกัด ทำธุรกิจการผลิตหลอดไฟฟ้า เสร็จชำระบัญชีเมื่อ 13 ธ.ค. 2560

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital