ซีพีเอฟ เล็งเลิกใช้ถ่านหิน 100 % สำหรับกิจการในประเทศไทย ภายในปี 2565

ซีพีเอฟ เล็งเลิกใช้ถ่านหิน  100 % สำหรับกิจการในประเทศไทย ภายในปี  2565

ซีพีเอฟ เดินหน้าสู่เป้าหมาย Coal Free 2022 กิจการในไทย ปี 65 ยกเลิกการใช้ถ่านหิน 100 % เริ่มแล้วในกลุ่มสัตว์บก ใช้พลังงานชีวมวลทดแทน ขณะโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำมหาชัยและหนองแค เล็งเลิกใช้ใน ธ.ค. นี้

นายพีรพงศ์  กรินชัย  รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)  หรือ ซีพีเอฟ  ในฐานะประธานความมุ่งมั่นด้านการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นเลิศ   เปิดเผยว่า   บริษัทฯมุ่งมั่นมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ปีนี้ ต้องบรรลุเป้าหมาย Coal Free 2022  ยกเลิกการใช้ถ่านหิน ซึ่งล่าสุด  โรงงานแปรสภาพขนเป็ด-ไก่ท้ายบ้านได้ยกเลิกการใช้ถ่านหินตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  ทำให้ธุรกิจสัตว์บกของซีพีเอฟยกเลิกการใช้ถ่านหินแล้วทั้งหมด 

ซีพีเอฟ เล็งเลิกใช้ถ่านหิน  100 % สำหรับกิจการในประเทศไทย ภายในปี  2565 ซีพีเอฟ เล็งเลิกใช้ถ่านหิน  100 % สำหรับกิจการในประเทศไทย ภายในปี  2565

 

  ขณะนี้ยังเหลือเพียงโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำมหาชัยและโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำหนองแค  ที่มีแผนยกเลิกใช้ถ่านหินภายในเดือนธันวาคมนี้  โดยทั้ง 3  โรงงานที่ยกเลิกการใช้ถ่านหิน จะทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มอีก 70,000  ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี                   

 

"ปัจจุบัน ธุรกิจสัตว์บกของซีพีเอฟ ได้ยกเลิกใช้ถ่านหินแล้วทั้งหมด จากที่ก่อนหน้านี้  โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกทั้งหมด 13 แห่ง ยกเลิกการใช้ถ่านหินไปแล้วตั้งแต่ปี 2563  ซึ่งภายในปีนี้  ซีพีเอฟจะสามารถยกเลิกการใช้ถ่านหินสำหรับกิจการในประเทศไทยได้ 100 %  อย่างแน่นอน " นายพีรพงศ์กล่าว        

 

สำหรับโรงงานแปรสภาพขนเป็ด-ไก่ท้ายบ้าน  เป็นโรงงานสุดท้ายของธุรกิจสัตว์บกที่ยกเลิกใช้ถ่านหิน และหันมาใช้พลังงานจากชีวมวล โดยเลือกใช้ชีวมวลที่มาจากวัสดุจากการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อาทิ  ไม้สับ ซังข้าวโพด   กะลาปาล์ม  ขี้เลื่อย   ซึ่งนอกจากช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว  ยังช่วยประหยัดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงลง นอกจากนี้  โรงงานฯยังได้ลงทุนติดตั้งระบบบำบัดมลพิษจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ด้วยระบบบำบัดอากาศแบบเปียก (Wet Scrubber)  เพื่อกำจัดกลิ่นและฝุ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่ให้ออกสู่สิ่งแวดล้อม     

 

ทั้งนี้  ซีพีเอฟ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโดยมีเป้าหมายเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593)  ซึ่งนอกจากภายในปีนี้ บริษัทฯ เดินหน้ายกเลิกการใช้ถ่านหิน 100% แล้ว ยังส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งพลังงานจากชีวมวล พลังงานจากก๊าซชีวภาพ และพลังงานจากแสงอาทิตย์  ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่  27 % ของการใช้พลังงานทั้งหมด  ช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้  575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 

นายพีรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซีพีเอฟ ได้สมัครเข้าร่วมโครงการ Science Based Targets ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง CDP, United Nations Global Compact, World Resources Institute และ World Wide Fund for Nature โดยตั้งแต่ปี 2015  (พ.ศ. 2558) มีบริษัทมากกว่า  2,000 แห่งเข้าร่วมโครงการดังกล่าว  เพื่อกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามหลักวิทยาศาสตร์  ในการรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส  เทียบกับยุคก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม