กรมส่งเสริมสหกรณ์ยันกฎกระทรวงช่วยเสริมความเข้มแข็งและป้องกันทุจริต

กรมส่งเสริมสหกรณ์ยันกฎกระทรวงช่วยเสริมความเข้มแข็งและป้องกันทุจริต

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยัน กฎกระทรวงกำกับดูแลสหกรณ์ที่เสนอครม.เป็นเกราะป้องกันให้สหกรณ์เข้มแข็ง รักษาผลประโยชน์สมาชิกสหกรณ์ พร้อมป้องกันสมาชิกสร้างหนี้สินล้นพ้นตัว

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  เปิดเผยว่ากรณีสันบิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎกระทรวงการบริหารจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ… ว่า  ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวสืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2562  ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา

ซึ่งกระทรวงเกษตรฯเสนอร่างกฎกระทรวง 5 ฉบับ ต่อมาในการหารือร่วมกันกฤษฎีกาได้พิจารณาและรวมเหลือเพียงฉบับเดียวและแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงเป็น ร่างกฎกระทรวงการบริหารจัดการและกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ... ทั้งนี้ขบวนการหารือทั้งหมด                  ในชั้นกฤษฎีกาได้มีการประชุมหารือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10  ครั้งร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย

           “กฎกระทรวงที่เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในขณะนี้ เป็นร่างที่ประธานสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย      ประธานชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด  ประธานชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด ได้รับรู้รับทราบมาโดยตลอด

กรมส่งเสริมสหกรณ์ยันกฎกระทรวงช่วยเสริมความเข้มแข็งและป้องกันทุจริต กรมส่งเสริมสหกรณ์ยันกฎกระทรวงช่วยเสริมความเข้มแข็งและป้องกันทุจริต

โดยมีการประชุมร่วมกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 10  ครั้ง และในการประชุมเมื่อ 26 มีนาคม  2564 การหารือได้เห็นพ้องต้องกันทุกประเด็นแล้ว จึงได้นำร่างกฎกระทรวงเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ร่างดังกล่าวกำหนดให้มีผลบังคับใช้                     แบบผ่อนคลาย บางเกณฑ์ 5 ปี บางเกณฑ์ 10 ปี เพื่อให้ระยะเวลาสหกรณ์ปรับตัว “

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ขอชี้แจงสาระสำคัญและเหตุผลในการกำหนดร่างกฎกระทรวงการบริหารจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ...ดังนี้ 

1. การนับเงินฝากที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ฯเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง

1.1การกำหนดให้เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ นับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ร้อยละ 50 เพราะว่าในระบบเงินฝากระหว่างสหกรณ์นั้นมีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย หากเกิดปัญหาสภาพคล่องในสหกรณ์บางแห่งย่อมกระทบต่อสหกรณ์แห่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยปริยายเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมการเงินเดียวกัน

1. 2 การกำหนดให้เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยชุมชุนสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ร้อยละ 100 เนื่องจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่มีสภาพคล่องส่วนเกินจะนำเงินมากฝากชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯเป็นหลัก โดยมีจำนวนเงินฝากต่อแห่งมีปริมาณไม่สูง และชุมนุมฯไม่ได้นำเงินไปลงทุนแต่ละนำไปให้สมาชิกกู้ยืมเป็นหลัก จึงมีความเสี่ยงต่ำ 1.3 ผ่อนปรนการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ไว้ 5  ปี  

          2.การไม่นำค่าหุ้นมาพิจารณาก่อนประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้น  เนื่องจากเงินค่าหุ้นเป็นทุนของสหกรณ์จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ เมื่อไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันได้ จึงมาสามารถนำมาหักจากจำนวนหนี้ในการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้ อย่างไรก็ตามเมื่อสมาชิกพ้นสภาพก็สามารถนำค่าหุ้นของสมาชิกรายดังกล่าวมาหักชำระหนี้ได้

 

3. หลักเกณฑ์และอัตราการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นสถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันดังนั้นวิธีปฏิบัติทางบัญชีควรเป็นอย่างเดียวกัน                  ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินกิจการของสหกรณ์นั้น ๆ ในอนาคตหากไม่ได้รับการชำระหนี้ตามกำหนด ก็จะไม่กระทบต่อ                 ผลการดำเนินการหรือกำไรในอนาคต เนื่องจากได้ตัดเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในปีปัจจุบันไว้แล้ว ซึ่งเป็นหลักความระมัดระวังให้เพียงพอต่อความเสียหายทางเงินที่เกิดขึ้น และจะเป็นผลดีในการส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงในการบริหารจัดการของสหกรณ์ในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้กฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อให้สหกรณ์มีเวลาปรับตัว 10 ปี 

4.การไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญของสมาชิก เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์เกิดจากการดำเนินกิจกรรมระหว่างสมาชิกของสหกรณ์เป็นหลักการ กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องเป็นสมาชิกของสหกรณ์นั้น เนื่องจากสหกรณ์จะทราบศักยภาพของสมาชิกผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นผลดีต่อการควบคุมกิจการภายในของสหกรณ์ ดังนั้นข้อเสนอให้เพิ่มบุคคลภายนอกและบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ค้ำประกัน จึงอาจเกิดความเสี่ยงต่อศักยภาพและการติดตามการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน

5.การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากของสหกรณ์ เพื่อคุ้มครองปริมาณเงินฝากในระบบสหกรณ์ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะตลาดการเงิน และเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้กู้ เนื่องจากต้นทุนเงินให้กู้ลดลงส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง 

6.การนำข้อมูลเครดิตมาประกอบการพิจารณาให้เงินกู้               เนื่องจากเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้กู้ในการพิจารณาให้สินเชื่อได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงความเหมาะสมในการกำหนดวงเงินให้กู้แก่สมาชิก ทั้งนี้ในการอนุมัติเงินกู้ ยังอยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจให้กู้

7.การไม่อนุญาตให้นำเงินฌาปนกิจสงเคราะห์มาเป็นหลักประกันเงินกู้สามัญของสมาชิก เนื่องจากหลักประกันด้วยทรัพย์สินนั้นเป็นการเอาทรัพย์สินของตนวางไว้เพื่อเป็นหลักประกันชำระหนี้ จึงต้องมีอยู่ขณะทำ                สัญญากู้ด้วย เมื่อเงินประกันชีวิตหรือเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นเงินที่ได้รับเนื่องจากเสียชีวิตจึงเกิดสิทธิ์เมื่อเกิดเหตุการณ์ตามเงื่อนไข ดังนั้นจึงไม่อาจนำมาเป็นหลักประกันได้

          ทั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมของกระบวนการสหกรณ์ต่อร่างกฎกระทรงนั้น กรมได้มีการดำเนินการหารือด้วยกันหลายครั้งต่อเนื่อง ทั้งก่อนยกร่างและภายหลังที่ครม.เห็นชอบในหลักการ อาทิ การประชุมรับฟังความเห็นก่อนยกร่างฯในวันที่ 2 พ.ค. 62 การเปิดรับฟังทางเวบไซด์ของกสส.ระหว่างวันที่ 3-31 พ.ค. 62 และการเปิดประชุมทางไกลผ่านระบบVideo Conference ทั่วประเทศระหว่างวันที่ 14-15  พ.ค. 62 และ 5 ก.พ. 63 กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดประชุมหารือ  ร่างกฎกระทรวง 5 ฉบับระหว่างขบวนการสหกรณ์ และจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 89/2 เมื่อ 6 ต.ค. 63  

สำหรับภายหลังที่ครม.เห็นชอบหลักการได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                      ทั้งกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ประธานสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ประธานชุมนุมสหกรณ์                     ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย ประธานชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกฤษฎีกา จำนวน 8  ครั้ง ตั้งแต่ปี 2563 ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 วันที่ 9 พ.ย.    

                    ครั้งที่ 2 วันที่17 พ.ย. ครั้งที่ 3  วันที่24  พ.ย. ครั้งที่ 4 วันที่ 1 ธ.ค. ครั้งที่ 5วันที่ 14  ธ.ค. ครั้ง 6 วันที่15 ธ.ค. 2563 และครั้งที่ 7 วันที่14 ม.ค.64  ครั้งที่ 8 วันที่ 26 มี.ค. 64 และเมื่อ 26 มี.ค. 64 ที่ประชุมได้เห็นพ้องต้องกันในทุกประเด็น  จากนั้นกสส.ได้หารือกับขบวนการสหกรณ์อีกครั้งวันที่ 9 มิ.ย. 64 

นอกจากนั้นยังได้มีการหารือร่วมกันทุกฝ่ายต่อเนื่องอีก 4 ครั้งผ่านการประชุมสื่ออิเลกทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาข้อสังเกตเพิ่มเติมที่ได้รับจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 19  และ 26 ต.ค. และในวันที่ 11 และ 18  พ.ย. 64