หุ้นส่งออก – หุ้นท่องเที่ยว หลังบาทอ่อน - เงินไหลออก

หุ้นส่งออก – หุ้นท่องเที่ยว   หลังบาทอ่อน - เงินไหลออก

ตัวเลขค่าเงินบาทเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 8 ก.ค.65) ได้ทำสถิติเป็นที่จารึก ว่าอ่อนค่าลงไปแตะที่ระดับ 36.72 บาท ต่อดอลลาร์หรือในรอบ 16 ปี เป็นระดับที่มีการคาดการณ์ว่าจะเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง และยังเชื่อมโยงกับตลาดหุ้นที่ปรับตัวซึมลงอีกด้วย

       ด้วยการเทขายสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องหรือประเภท “ซื้อง่าย ขายก็คล่อง” และยิ่งมีโบนัสคือ ขายแล้วได้กำไรจากราคาหุ้นที่ซื้อมา และจากค่าเงินบาทยิ่งทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายได้ง่ายขึ้น  ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทย และทั่วโลก เป็นการรีบ และเร่งเทขายออกมาเพื่อไปถือครองสกุลเงินดอลลาร์ที่เชื่อว่าปลอดภัยและได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในช่วงนี้

       จากต้นปีค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางแข็งค่าในช่วงปลายเดือนก.พ.2565 เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 4 เดือนที่ 33.96 บาทต่อดอลลาร์  สอดคล้องกับค่าเงินหยวนของจีนที่อ่อนค่าสุดในรอบ 7 เดือน  และเงินเยนของญี่ปุ่นที่ร่วงลงแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 20 ปีท่ามกลางการคาดการณ์ขึ้นดอกเบี้ย แบบแข็งกร้าวของ FED เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

            เพียง 1 เดือนค่าเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีที่  34.79 บาทต่อดอลลาร์เดือนพ.ค. ที่สวนทางอย่างชัดเจนคือ ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังดัชนีเงินดอลลาร์ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบกว่า 19 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน

            ทิศทางค่าเงินอ่อนค่าเป็นลบต่อตลาดหุ้น แม้ว่ามีผลบวกต่อหุ้นส่งออกแต่มีเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย  ยิ่งหากไม่สามารถปรับราคาขายสินค้าในประเทศได้ยิ่งกดดันผลการดำเนินงาน

             หากด้วยปัจจัยด้านโควิด และการเปิดประเทศกระตุ้นท่องเที่ยวเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวช่วงนี้ที่ได้ประโยชน์เต็มๆ จากค่าเงินบาทอ่อนค่า  ซึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ พัฒนสิน  หุ้นได้ผลดีค่าเงินบาทอ่อน ประกอบไปด้วย GFPT, CPF, SAPPE, ASIAN, MEGA, KCE, BDMS, BH

         โดยเฉพาะภาพค่าเงินบาท และนักท่องเที่ยวตะวันออกกลาง มีสัญญาณบวก ต่อหุ้นโรงพยาบาลที่มีฐานลูกค้าต่างประเทศ  ซึ่งมีประเด็นหนุนหลัก 1 ปี 2565 เป็นปีที่ตะวันออกกลางมี Wealth Effect จากราคาน้ำมันสูง ต่อเนื่องเป็นปัจจัยบวกต่อกำลังซื้อกลุ่มนี้    ซึ่งเห็นสัญญาณนักท่องเที่ยว ตะวันออกกลางเข้าไทยเร่งตัวขึ้น

            ล่าสุด เดือนพ.ค.2565 เข้าไทย 39,018 ราย มากกว่าช่วงเดือนพ.ค.2564 ที่เข้ามาเพียง 20,386 คน (pre covid-19) เป็นสัญญาณบวก และคาดนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางมักเข้ามา รักษาพยาบาลในไทยเร่งตัวช่วงไตรมาส 3 

            โดยจำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ปกติจะเข้ามาราว 80,000 – 1แสนรายต่อเดือน ในไตรมาส 3  และมีสัดส่วน รายจ่ายราว 7,000 - 8,000 ล้านบาทต่อเดือน ในไตรมาส 3 ขณะที่ในวงจรค่าเงินบาทอ่อนค่ามักหนุน นักท่องเที่ยวตะวันออกกลาง เข้าไทยมากกว่าช่วงเดียวกันในภาวะปกติ

            2. ประเทศไทยทยอย Reopening และผ่อนปรนมาตรการเข้าประเทศ ต่อเนื่อง รับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กอปรกับความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ที่กลับมามีความสัมพันธ์เชิงบวกครั้งแรกในรอบ 32 ปีจะเป็นปัจจัยหนุน นักท่องเที่ยว/ภาคบริการ ต่อเนื่อง

            3. ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นแรงสนับสนุนการท่องเที่ยวบริการ โดยเฉพาะ กลุ่มโรงพยาบาลที่ค่ารักษาพยาบาลถูก และมีคุณภาพ ทั้งหมดประเมินผลบวกเริ่มสะท้อนในหลายแง่มุมต่อหุ้นกลุ่ม โรงพยาบาล

            หุ้น BDMS รายได้ผู้ป่วยต่างชาติ(ตะวันออกกลาง)ปัจจุบัน 1.2% vs PreCovid 5% สะท้อน Upside ที่จะเร่งตัวขึ้นในช่วงถัดไป แนะนำซื้อลงทุน TP 29.3 โดย Forward PER 1 ปียังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตราว 5%-10%

             BH รายได้ผู้ป่วยตะวันออกกลางปัจจุบัน 15% vs Pre-Covid ราว 20% แนะนำเก็งกำไร เนื่องจากราคาสะท้อนมาแล้วระดับหนึ่ง และซื้อขาย ในระดับ Forward PER 1 ปี ใกล้เคียงในอดีตแล้ว

             BCH รายได้ผู้ป่วยต่างชาติ(ตะวันออกกลาง)ปัจจุบัน 7% vs ปี 2019   8% แต่เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มดำเนินธุรกิจโรงพยาบาล สำหรับต่างชาติจึงประเมินมี Potential Upside จากตรงนี้แนะนำซื้อลงทุน TP 23.7  โดย Forward PER 1 ปี ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตราว 10%-15%

            บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)คาดว่าเงินบาทยังอยู่ในโซนอ่อนค่าอ่อนต่อ แม้อาจส่งผลให้ กนง. ต้องมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็ว และแรง ขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท แต่ชื่นชอบหุ้นกลุ่มส่งออก ประกอบด้วย SAPPE, TU, CBG

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์