KBANK เพิ่มการลงทุนเพื่อรุกตลาดสินเชื่อดิจิตอล

KBANK เพิ่มการลงทุนเพื่อรุกตลาดสินเชื่อดิจิตอล

ผู้บริหารของ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารจะลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของระบบ IT backbone และเทคโนโลยี (ลงทุนไปแล้ว 1.27 หมื่นล้านบาท) และเตรียมลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 3 หมื่นล้านบาทใน Fintech หรือ JV 3-5 แห่ง

เพื่อปรับปรุง และ ยกเครื่องบริการหลักของธนาคารเพื่อให้เป็นธนาคารชุมชน ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีบัญชีธนาคารและมีรายได้ <15,000 บาทต่อเดือน


ตั้งเป้าขยายธุรกิจใหม่ในกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่มีบัญชีธนาคาร

ธุรกิจใหม่นี้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารที่จะขยายธุรกิจธนาคารในแบบที่แตกต่างจากวัฏจักรรอบก่อน ๆ โดยธนาคารตั้งเป้าจะใช้ platform ใหม่นี้เพื่อดึงดูดลูกค้า 600,000 ราย และตั้งเป้าขยายสินเชื่อรวมประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งการขยับตัวครั้งนี้ของธนาคารเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าจะมีการใช้กลยุทธ์เชิงรุกมากขึ้นในการพยายามขยายธุรกิจของนอนแบงก์ และของธนาคารรัฐ ซึ่งเน้นใช้เครือข่ายสาขาในการขยายสินเชื่อรายย่อย

รุกหนักในการปรับเปลี่ยน platform ของธนาคาร

KBANK ได้ดำเนินกลยุทธ์หลายด้านในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเพื่อเปลี่ยนธนาคารเข้าสู่ยุคใหม่ของการเติบโตทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ โดยการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาได้แก่

i) การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Maspion Bank (อินโดนีเซีย) เป็น 67.5% (จากเดิม 40%) ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 220 ล้านดอลลาร์ฯ

ii) ตั้ง JV ร่วมกับ JMT เพื่อโอนหนี้เสียประมาณ 3-5 หมื่นล้านบาทไปที่ JK AMC ถึงแม้ว่าการลงทุนดังกล่าวจะยังไม่สร้างรายได้ให้ธนาคารในระยะสั้น แต่จะเปลี่ยนแนวโน้มการเติบโตของธนาคารไปตามเทคโนโลยี ซึ่งในที่สุดจะช่วยให้ธนาคารสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น

 

มุ่งมั่นโตดิจิตอลที่เหมือนกันระหว่าง KBANK SCB

มีเพียง KBANK และ SCB เท่านั้นที่มุ่งเน้นขยายช่องทางโตสินเชื่อรายย่อยผ่าน ดิจิตอลแพลตฟอร์มและการรุกลงทุนใน fintech/เทคโนโลยีอย่างหนัก โดยที่ SCB ได้ลงทุนส่วนนี้ผ่านบริษัทย่อย SCB10X และได้เริ่มใช้ fintech digital lending สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยแล้ว ในขณะที่ KBANK กำลังจะเริ่ม ซึ่งหาก platform การขยายสินเชื่อใหม่นี้ใช้การได้ดี จะทำให้ธนาคารทั้ง 2 สามารถเพิ่มลูกค้ากลุ่มใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ และลดต้นทุนในการดำเนินงานลงได้ รวมถึงยังอาจจะไปกระทบกับการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบเดิม ๆ ของธุรกิจนอนแบงก์ด้วย

 

Risks

NPL เพิ่มขึ้นทำให้ต้องกันสำรองเพิ่มขึ้น.