เจาะเส้นทางเติบโต “มาม่า 50 ปี” ยืนหนึ่งตลาดบะหมี่ฯ “หมื่นล้าน!

เจาะเส้นทางเติบโต “มาม่า 50 ปี”  ยืนหนึ่งตลาดบะหมี่ฯ “หมื่นล้าน!

'มาม่า' กลายเป็นชื่อเรียกสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป(Generic Name) โดยปริยาย ความสำเร็จดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากการพัฒนาสินค้ารสชาติถูกปากคนไทยเท่านั้น แต่อาวุธการตลาดที่ทำ 5 ทศวรรษ ปูทางสู่ความสำเร็จ ทว่า การครองบัลลังก์เบอร์ 1 อย่างยั่งยืน ยังมีโจทย์ท้าทายรออยู่

งานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งที่ 26 เพิ่งปิดฉาก  ไม่เพียงแค่ “เครือสหพัฒน์” ระดมสินค้ามากมายมาลดราคา แต่ปี 2565 หลายธุรกิจฉลองครบรอบการก่อตั้งและเติบโต เช่น สหพัฒนพิบูล ครบ 80 ปี และเป็นองค์กรแรกของเครือด้วย

นอกจากนี้ ยังมีบริษัท เมคอัพเทคนิค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ โรงเรียนสอนศิลปการแต่งหน้า MTI โรงเรียนสอนแต่งหน้าแห่งแรกในประเทศไทย เคลื่อนธุรกิจ 40 ปี ครื่องสำอาง BSC Cosmetology ก้าวสู่ปีที่ 25 รวมถึง “มาม่า” เดินทางมากว่าครึ่งศตวรรษ หรือ 50 ปีแล้ว

เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” ฉายภาพเส้นทาง 50 ปี เริ่มแรกของการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปด้วยการออกรสชาติ “ซุปไก่” เสิร์ฟผู้บริโภคในปี 2514 จากนั้นมี มาม่าโปรตีนไข่ และ “มาม่าหมูสับ” ออกมาเสริมทัพ

ทว่า จุดเปลี่ยนรสชาติที่สร้างชื่อเสียงให้กับมาม่าถล่มทลาย คือ “มาม่าต้มยำกุ้ง” ที่เปิดตัวสู่ตลาดในปี 2523

“รสชาติต้มยำกุ้ง ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมาม่าและประเทศไทยอย่างมาก และยังถูกนำไปใช้เป็นวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง หรือสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 ด้วย”

“มาม่า” สร้างแบรนด์เป็นที่รับรู้ในตลาดวางกว้าง(Mass) มีสินค้าหลักแบบ “ซอง” ตอบสนองความต้องการกลุมเป้าหมาย ทว่า พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอด ผู้คนเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ ท่องเที่ยวต่างแดน ทำให้มีไลฟ์สไตล์รักสะดวกสบายมากขึ้น มาม่าแบบถ้วยหรือคัพ ได้ออกสู่ตลาดในปี 2540 เช่นกัน เมื่อกระแสผู้บริโภคตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม การออกสินค้ารักษ์โลกเปลี่ยนถ้วยพลาสติกเป็นถ้วยกระดาษจึงเกิดขึ้นในปี 2547 นั่นคือสิ่งที่แบรนด์พัฒนาสินค้าและปรับตัวในการทำตลาดตลอดเวลา

เจาะเส้นทางเติบโต “มาม่า 50 ปี”  ยืนหนึ่งตลาดบะหมี่ฯ “หมื่นล้าน! การพัฒนาสินค้ารสชาติต่างๆของ 'มาม่า' ตลอด 50 ปี

เส้นทางการเป็นบะหมี่ฯเบอร์ 1 ของเมืองไทยที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเกินกว่า 50% ไม่ได้มีแต่สวยหรู โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่แบรนด์เผชิญกระแสข่าว “เชิงลบ” มากมายให้ต้องแก้โจทย์ไม่น้อย โดยเฉพาะแว็กซ์เคลือบถ้วยกระดาษถูกยึดโยงเรื่องความปลอดภัยในการบริโภค และประเด็นนี้มักถูกนำมา “ฉายซ้ำ” วนทุกปี

“มาม่าถ้วยกระดาษเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนแว็กซ์ที่เคลือบบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวก็เป็นฟู้ดเกรด สิ่งเหล่านี้เราอธิบายให้ผู้บริโภครับทราบหมดแล้ว แต่นานๆทีข่าวมักวนกลับมาอีกครั้ง”

 แต่ละปีมาม่าออกสินค้ารสชาติใหม่มากมาย ท่ามกลางเทรนด์ตลาดที่เปลี่ยน โดยเฉพาะหลายปีที่ผ่านมาบะหมี่ฯ “พรีเมียม” มาแรง ส่วนหนึ่งเพราะ “รามยอน” หรือบะหมี่ฯเกาหลีช่วยเปิดทางทลายกำแพง “ราคา” ให้ผู้บริโภคกล้าซื้อซองละ 30 บาท ไปจนถึง 50-60 บาทมากขึ้น ดังนั้น มาม่า ออเรียนทัลคิตเชน(มาม่า OK) จึงออกมาชิงส่วนแบ่งการตลาดเช่นกัน

เจาะเส้นทางเติบโต “มาม่า 50 ปี”  ยืนหนึ่งตลาดบะหมี่ฯ “หมื่นล้าน!

คนไทยลดการบริโภคโซเดียม 14% ที่มามาม่าสูตร Less Sodium

ระยะเวลา 50 ปี มาม่า ยังสร้างปรากฏการณ์สินค้าใหม่ขายดีจน “ขาดตลาด” ไม่ว่าจะเป็น มาม่า OK รสผัดไข่เค็ม รวมถึงมาม่า OK บิบิมบับ(ข้าวยำเกาหลี) และข้าวผัดกิมจิ เป็นต้น

ปัจจุบันมาม่า พรีเมียม สร้างสัดส่วน 20% ของพอร์ตโฟลิโอ โดยพอร์ตใหญ่ 80% ยังเป็นมาม่าซอง 6 บาท แต่แนวทางการพัฒนาสินค้าจากนี้ จะให้น้ำหนักพรีเมียมมากขึ้น

“ตลาดบะหมี่ฯพรีเมี่ยมโดยรวมมีการเติบโต 15% แต่มาม่าเติบโต 28% การลุยขยายพอร์ตพรีเมียมไม่เน้นสัดส่วนว่าต้องเป็นเท่าใด เราผลิตสินค้า ออกรสชาติใหม่ เพื่อเพิ่มขีดแข่งขัน สะท้อนการปรับตัวการทำตลาดต่างๆ เพราะมาม่าเป็นแบรนด์ของผู้บริโภคทุกคน”

แนวทางการทำตลาดฉลอง 50 ปี มาม่า นอกจากการนำรสชาติในตำนานมาจัดคอลเล็กชันพิเศษ บริษัทยังออกสูตร Less Sodium จำหน่าย 8 บาทต่อซอง ขานรับผู้บริโภครักสุขภาพ เพราะคนไทยที่ทานบะหมี่ฯเฉลี่ย 52 ซองต่อคนต่อปี มี 14% กินโซเดียมน้อยลง

เจาะเส้นทางเติบโต “มาม่า 50 ปี”  ยืนหนึ่งตลาดบะหมี่ฯ “หมื่นล้าน!

มาม่าลุย NFT ในงานสหกรุ๊ปแฟร์ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันยังมีการเกาะกระแส NFT ด้วยการจัดกิจกรรมให้คนรุ่นใหม่ได้สะสมด้วย ซึ่งผลตอบรับจากสาวกดีมาก

“การติดตามพฤติกรรม ความต้องการผู้บริโภคอยู่เสมอ ทำให้มาม่าครองความเป็นหนึ่งยาวนานตลอด 50 ปี”

อีกประเด็นที่ถูกถามเสมอ “มาม่า” คือดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่ง “เวทิต” ย้ำเสมอว่า มาม่าไม่เคยเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจแบบผกผัน เช่น เศรษฐกิจไม่ดี มาม่าขายดี หรือเศรษฐกิจดี มาม่าขายได้น้อย

“เศรษฐกิจดีมาม่าขายดีมาก พอเศรษฐกิจไม่ดี มาม่าขายดีนิดเดียว ดังนั้น มาม่าไม่ใช่ตัวชี้วัดเศรษฐกิจแบบผกผักผัน”

ปี 2565 สถานการณ์เศรษฐกิจ กำลังซื้ออยู่ภาวะชะลอตัวจากหลายปัจจัย ทั้ง “เงินเฟ้อ” ข้าวของ “ราคาแพง” ค่าครองชีพพุ่ง แต่ภาพรวมบะหมี่ฯทั้งปีคาดการณ์เติบโต 3-5% ขณะที่ครึ่งปีแรกตลาดรวมมูลค่า 8,000 ล้านบาท เติบโต 7%

“ตลาดทั้งปีโตเพียง 3-5% เพราะครึ่งปีหลัง 2564 ผู้คนเริ่มเดินทาง ทำให้กราฟตลาดบะหมี่ฯโตสูง”