BANKING SECTOR - โมเมนตัมกำไรอาจชะลอตัว

BANKING SECTOR - โมเมนตัมกำไรอาจชะลอตัว

เราคาดกำไรรวมของกลุ่มธนาคารใน 2Q22 ที่ราว 4 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 16% yoy แต่ลดลง 6% qoq ความผันผวนของกำไรเกิดจากการตั้งสำรองเป็นหลัก ขณะที่ผลประกอบการจากการดำเนินงานหลักมีแนวโน้มทรงตัว

เราคงคำแนะนำสำหรับน้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารที่ เป็นกลาง โดยให้มุมมองแนวโน้มเชิงลบ

 

พอร์ตสินเชื่อธนาคารเติบโต 1.4% ytd

กลุ่มธนาคารรายงานพอร์ตสินเชื่อเติบโต 0.2% mom ในพ.ค. 2022 และเติบโต 1.4% ytd โดย KKP และ TTB เป็นธนาคารที่มีพอร์ตสินเชื่อเติบโตสูงที่สุดในพ.ค.เพิ่มขึ้น 1.8% mom และ 1.0% mom ตามลำดับ ขณะที่พอร์ตสินเชื่อ KKP และ KBANK ยังเติบโตมากที่สุดในปีนี้ เติบโต 9.7% และ 2.5% ytd ในทางตรงกันข้าม BBL และ KTB ไม่เพียงมีพอร์ตสินเชื่อหดตัวเล็กน้อย 0.3% mom และ 0.9% mom ในพ.ค. แต่พอร์ตสินเชื่อยังแค่ทรงตัว ytd สะท้อนว่าดีมานด์ของสินเชื่อภาคองค์กรและรัฐบาลเริ่มเสียโมเมนตัมหลังจากมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งในปีที่ผ่านมา

 

โมเมนตัมกำไรอาจเริ่มชะลอตัว

เราคาดธนาคารหลัก 6 แห่งใน coverage ของเราจะรายงานกำไรรวม 2Q22 ที่ 4 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 16% yoy แต่อาจลดลง 6% qoq ส่วนการดำเนินงานหลักยังทรงตัว qoq และ yoy โดยกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นในแง่ yoy มาจากฐานกำไรต่ำจากการตั้งสำรองที่สูงในช่วงกลางปี 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยกระทบจากการระบาดของโควิดระลอกที่สามและรัฐบาลใช้มาตรการล็อคดาวน์ ส่วนกำไรที่คาดว่าอ่อนแอลงในแง่ qoq จะถูกกดดันโดยการตั้งสำรองของ KTB จากระดับที่ต่ำกว่าปกติใน 1Q22

 

 

 

คงน้ำหนักการลงทุน เป็นกลาง โดยให้มุมมองแนวโน้มเชิงลบ

เราคาด KBANK จะมีการเติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่มทั้งแง่ qoq และ yoy ใน 2Q22 หนุนจากการดำเนินงานหลักจากการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อและการตั้งสำรองหนี้เสียที่ค่อยๆกลับสู่ระดับปกติ ขณะที่ KTB อาจเป็นธนาคารเดียวที่มีกำไรอ่อนแอลงทั้ง qoq และ yoy ใน 2Q22 โดยเฉพาะหลังจากการตั้งสำรองที่ต่ำกว่าปกติใน 1Q22 ภาพรวมเราคงนำหนักการลงทุน เป็นกลาง ต่อกลุ่มธนาคารโดยให้มุมมองแนวโน้มเชิงลบ เราคาดจะเริ่มเห็นแรงกดดันจากภาคมหภาคในอีก 6-12 เดือนข้างหน้าหลังธนาคารกลางใช้มาตรการนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น ซึ่งอาจดึงโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก่อนที่จะได้เห็นเงินเฟ้อปรับตัวลง อีกทั้งเราประเมินจะได้เห็น NIM ปรับตัวดีขึ้นชัดในปี 2023 มากกว่าจะเกิดขึ้นในทันทีในปี 2022 จากการขึ้นดอกเบี้ย 2-3 ครั้งในช่วงต้นของวัฏจักรมาตรการการเงินเข้มงวดในกรณีที่ไม่เกิด recession และธปท.สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นได้ต่อเนื่อง