สถาบัน"ไคลเมท เชนจ์" รับมือความท้าทายใหม่ ในอุตสาหกรรมไทย

สถาบัน"ไคลเมท เชนจ์"  รับมือความท้าทายใหม่ ในอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) มีสมาชิกทั่วประเทศ 14,000 บริษัท มีตั้งแต่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดไปจนถึงบริษัท SMEs และมี 45 กลุ่มอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 11 คลัสเตอร์ กลุ่มการผลิต ใน 76 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ Area based มีเจ้าหน้าที่สภาอุตหกรรมที่เป็นทีมเดียวกัน

ในการเชื่อมต่อหน่วยงานภายนอกรวมถึงภาครัฐด้วย  ดังนั้นการขับเคลื่อนกิจกรรมของสอท.จะส่งในวงกว้างต่อภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ และท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆในโลกทั้งด้านสภาพอากาศหรือ Climate change และ การเคลื่อนเข้ามาอย่างรวมเร็วด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทิศทางอุตสาหกรรมไทยกำลังต้องการเข็มทิศที่แม่นยำและชัดเจน

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เป็นโจทย์ใหญ่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก ถ้าปล่อยปะละเลยต่างคนต่างไม่สนใจ อุณหภูมิจะสูงขี้น เกิดการละลายน้ำแข็งในขั่วโลก เกิดภัยภิบัติต่อมวลมนุษย์ชาติ 

เมื่อปลายปีที่แล้วมีการประชุม COP26 ที่ สกอตแลนด์ ทุกชาติได้แสดงเจตจำนง ในปี 2030 จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 40 % ปี 2050 ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน หรือเรียกว่า Carbon neutrality และในปี 2065 ประเทศไทยจะเป็น Net zero emissions ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่ท้าทาย

 ในส่วนภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและมีสัดส่วนต่อจีดีพี 60 % ของประเทศไทย ต้องรีบติดตามและปรับตัวอย่างใกล้ชิด เพราะทางสหภาพยุโรป( อียู)  ได้จัดตั้งคณะกรรมการและตั้งมาตราฐานว่า CBAM คือ การคำนวณค่าคาร์บอนในการเก็บภาษี นี่คือความท้ายทายที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ 

ดังนั้น สอท.จึงมีนโยบายสำคัญคือ ONE FIT คือ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทยให้ข็มแข็งกว่าเดิม จึงจำเป็นต้องทำให้เครื่องยนต์ของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับและหน้าเชื่อถือ และ One team การทำงานให้เป็นหนึ่งเดียว ในสภาอุตสาหกรรมซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อหน่วยงานภายนอกซึ่งเป็นภาครัฐ มีการประสานงานให้เป็นหนึ่งเดียว ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านการท่องเที่ยว การเดินเรือ หรือด้านต่างประเทศ 

เป้าหมายท้ายสุดคือ One go เป็นเป้าหมายประเทศให้มีความเข้มแข็งขึ้น โดยภาคอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อุตสาหกรรมดั้งเดิม ที่กำลังหนีการถูกดิสรัปที่ต้องมีแพ็กเกจ มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น เป็นการซื้อเวลาให้อยู่รอดได้นานขึ้น ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปทางอื่น ขณะที่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ส่วนที่ 1 เรียกว่า BCG ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต และสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกภาคส่วนของประเทศให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้แบบ Next Normal โดยคาดว่าจะสร้างโอกาสทางการค้าและเกิดเงินทุนหมุนเวียนภายในงานไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท 

ส่วนที่ 2 คือเรื่องสภาวะโลกร้อน จะมีการตั้งสถาบันขึ้นมาเพื่อสำรวจความต้องการคาร์บอนเคดิต และปรับเปลี่ยนให้เป็นอุตสาหกรรมสะอาด ส่งเสริมการทำแพลตฟอร์มในการเทรดกันและซื้อขายกัน จึงจะแข่งขันกันได้ในระยะยาวเป็นยุทธศาสตร์ 

ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมกำหนดจะใช้นำร่องด้วย SAIที่มีอยู่ทุกจังหวัดที่เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมก้าวไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัย 

ด้วยการพัฒนา เอสเอ็มอี Smart SMEs ยกระดับ SMEs สู่สากล โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนา SMEs ในด้าน 1.Go Digital การนำดิจิทัลมาช่วยยกระดับศักยภาพทางธุรกิจ 2.Go Innovation การส่งเสริมให้ SMEs เข้าถึงนวัตกรรมและงานวิจัยมากขึ้น 3.Go Global การสร้างและขยายโอกาสในตลาดต่างประเทศผ่านสภาธุรกิจต่าง ๆ และ 4.Smart Service Platform การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยยกระดับการให้บริการ ทั้งหมดนี้คือการจุดประกาย ทำให้เครื่อยนต์ทางเศรษฐกิจของประเทศกลับมาเพื่อสร้างความเข้งแข็งให้กับประเทศ

“ต้องทำให้ประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางของ ICE มาสู่ อีวี จะสร้างตลาดและแฟร์ซิลิตี้ เพื่อแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกมาลงในประเทศไทย ต้องทำให้เป็น Demand price ให้ได้เพราะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งออกอันดับ 1 ของไทยมาโดยตลอด และมีการจ้างงานมากกว่า 750,000 คน นี่คือส่วนที่ต้องรีบเร่ง”

ต่อมาคือเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ว่าด้วยการนำเศษขยะอุตสาหกรรมผ่านการสร้างแพลตฟอร์มนำขยะกลับมาให้ประโยชน์และช่วยลดมลพิษและลดขยะ แล้วปรับอุตสาหกรรมเป็นเชิงนิเวศ เป็นมิตรต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในที่สุด