‘ประสาร ไตรรัตน์วรกุล’ ชี้เศรษฐกิจไทยทนทาน รองรับความผันผวนระยะสั้นได้

‘ประสาร ไตรรัตน์วรกุล’ ชี้เศรษฐกิจไทยทนทาน รองรับความผันผวนระยะสั้นได้

“ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ชี้เศรษฐกิจไทย ยืดหยุ่น ทนทาน สามารถรองรับปัจจัยผันผวนระยะสั้นจากภายนอกได้ ไม่น่าเกิดวิกฤติซ้ำ แต่ห่วงเศรษฐกิจไทยระยะยาว ศักยภาพเศรษฐกิจไทยโตแผ่ว เร่งปฏิรูป 3 ด้าน เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำ เร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

      ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “มองอนาคตประเทศไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ”ว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน อยู่ท่ามกลาง ทั้งโฮกาส และความเสี่ยงที่สำคัญ 
โดยมี 3 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจไทย

     R1 คือ   Recovery & recession วงจรวัฏจักรเศรษฐกิจในประเทศต่างประเทศ

    R2 Rate&Risks นโยบายการเงิน และความเสี่ยงจากความผันผวนในภาคการเงิน

      และ R3 Reform การปฏิรูปและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

      สองเรื่องแรก คือ วงจรวัฏจักรเศรษฐกิจในประเทศต่างประเทศ และ นโยบายการเงิน และความเสี่ยงจากความผันผวนในภาคการเงิน ถือเป็นเรื่องระยะสั้นและระยะปานกลาง

      ส่วน การปฏิรูปและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องระยะยาว 

      โดยหากดูเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจหลายประเทศ เคลื่อนไปตามขั้นตอนตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ที่มีทั้งช่วงเศรษฐกิจถดถอย ตกต่ำ และขยายตัว และประเทศต่างๆ ต่างเคยผ่านขั้นตอน

      เหล่านี้มาด้วยจังหวะที่แตกต่างกัน ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีผลกระทบรุนแรงมากในปี 2563 และ 2564 หลายประเทศมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้เศรษฐกิจลดลงค่อนข้างมาก จนบางประเทศ เกิดภาวะถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจโลกกลับไปหดตัวถึง 3.1% ปีในปี 2563 รวมถึงประเทศไทย ที่ถูกกระทบอย่ามาก ทำให้เศรษฐกิจไทยติดลบไปถึง 6.1% 
    แต่ในปี 2564 เริ่มเห็นหลายประเทศกลับมาฟื้นตัว จากการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวถึงระดับ 6% ขณะที่ไทยกลับมาฟื้นตัวเป็นบวก 1.6% 
      ส่วนภาพเศรษฐกิจไทยปีนี้ และปีหน้า ประเมินว่า จะขยายตัวอยู่ที่ 3.3% และ 4.2% ทั้งนี้จากการฟื้นตัวหลังโควิด-19 มีความแตกต่างกัน หลายประเทศ ที่ไม่มีความพร้อมด้านสาธารณะสุข เศรษฐกิจอาจถดถอยนาน หรือฟื้นตัวช้า ขณะที่บางประเทศฟื้นตัวได้เร็ว แต่บางประเทศที่มีฐานะการเงินการคลังอ่อนแอ ก็ยังคงมีความเสี่ยงสูง 

      สำหรับภาพเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่มีการเกิดสงครามรัสเซียยูเครน ส่งผลให้ราคาพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ ที่ถือเป็นความท้าทายของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจยังไม่ได้ฟื้นตัวดีนัก ที่ต้องเจอกับ “วิกฤติซ้อนวิกฤติ” ทั้งจากวิกฤติโควิดที่ผ่านมา และวิกฤติจากเงินเฟ้อ จากความขัดแย้งของภูมิรัฐศาสตร์
ในขณะที่ประเทศเกิดใหม่ ที่ฟื้นตัวช้า อาจทำให้เกิดความเปราะบางทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูง และประสบปัญหาได้ค่อนข้างรุนแรง เช่นสีลังกา ปากีสถาน หรือลาว ที่เริ่มมีความเปราะบาง จากการต้องเผชิญกับวิกฤติเงินเฟ้อที่เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติเข้ามา 
      ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐ ที่ฟื้นตัวได้เร็ว และเจอภาวะเงินเฟ้ออยู่แล้ว ยิ่งต้องเร่งทำนโยบายการเงินเพื่อจัดการเงินเฟ้อ จนประชาชนเริ่มกลับมากังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอย 
สำหรับเศรษฐกิจไทย แม้มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่มีการเชื่อมโยงกับโลกใกล้ชิด

      ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบ ก็ย่อมส่งผลกระทบมาสู่เศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก แม้ที่ผ่านมาประเทศคู่ค้าไทยฟื้นตัวได้ดี ส่งผลให้ภาคการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทย และปีนี้ยังเป็นแรงขับเคลื่อนอยู่แม้ลดลงก็ตาม ขณะที่จากโควิด ที่เริ่มซา ทำให้มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด ทำให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนอีกตัวให้กับเศรษฐกิจไทย 

   ส่วน R2  Rate&Risks นโยบายการเงิน และความเสี่ยงจากความผันผวนในภาคการเงิน ที่ผ่านมาเศรษฐกิจพยายามดำเนินนโยบายการเงินการคลังให้เหมาะสม และรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจ พยายามรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน พยายามรักษาบาลานซ์ ระหว่างการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ

    ดังนั้นจะเห็นว่า นโยบายการเงินการคลัง มีส่วนช่วยที่สำคัญในช่วงที่เจอโควิดหนักๆ ผ่านการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินการคลังค่อนข้างมาก เช่นเดียวกับหลายประเทศที่มีการเข้าไปแซงแทรกนโยบายการเงินการคลังอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา แต่เมื่อดังนั้นเมื่อโควิดซา  ก็ต้องปรับทิศทางไปสู่การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงเศรษฐกิจ และลดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว 
    อย่างไรก็ตาม จาก ผลของสงครามรัสเซียยูเครน ที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ การประมาณการณ์เงินเฟ้อ อาจไม่ได้เป็นไปตามคาด โดยเฉพาะ ตามกรอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1-3% แต่ปัจจุบันเงินเฟ้อมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นไปสู่ 6.2%ในปีนี้ได้ ตามราคาน้ำมันโลก และราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ ดังนั้น จากเคยประมาณการณ์เงินเฟ้อที่ 4.8% ก็ต้องปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.2% 
    “หากถามว่าเงินเฟ้อที่ระดับ 6.2% ในอดีตเคยมีหรือไม่ ก็เคยมี แต่ในช่วง 10ปีที่ผ่านมา หากพูดถึงเงินเฟ้อระดับนี้ คนคงไม่คุ้น เพราะตั้งแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์มา เราก็คุ้นชินกับเงินเฟ้อระดับ 1-2%”
     อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อปัจจุบัน เริ่มเห็นการส่งผ่านต้นทุน กระจายตัวไปสู่หลายสินค้ามากขึ้นทำให้ตระกร้าเงินเฟ้อพื้นฐาน แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจก็ต้องปรับตัวรับความเสี่ยงกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยเฉพาะบางธุรกิจที่มีมาจิ้นต่ำ ธุรกิจกระทบแน่ และกระทบไปสู่ครัวเรือนให้มีกำลังซื้อลดถอนลงไป ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม ความเสี่ยงที่มาจากเงินเฟ้อ 
     ทั้งนี้อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยง    จากแรงกดดันด้านดีมานด์ด้วย หากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ดังนั้นเงินเฟ้อ อาจมาจากทั้งแรงกดดันด้านดีมานด์และแรงกดดันซัพพลายได้ 
     เหล่านี้นำมาสู่การดำเนินนโยบายการเงินของกนง. ที่เริ่มมีการ “ส่งสัญญาณ”ปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน จะส่งผลกระทบต่อหลายด้าน ทั้งด้าน ต้นทุนทางการเงิน ราคาสินทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน การคาดการณ์ของตลาด ที่มีผลกระทบต่อหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ
         ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง กับการทำนโยบายการเงิน ต้องใช้หลักในการระมัดระวัง ดังนั้นเป็นธรรมดา ที่กนง.จะต้องทำเรื่องนี้อย่างระมัดระวังสูง เพราะพวกนี้มีผลกระทบต่อเรื่องต่างๆ ก็เพื่อพยายามรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจในภาพรวม และที่สำคัญมาก คือพยายามยึดโยงการคาดการณ์เงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้คาดการณ์ให้ได้ เพราะหากทำไม่ได้ อาจส่งผลให้ภาคธุรกิจ มีการปรับขึ้นราคาสินค้า ผู้บริโภคก็แพลนว่าของจะแพงขึ้น ต้องเร่งตุนสินค้าก่อน        
         จึงเป็นช่วง “หัวเลี้ยวหัวต่อ” ภายใต้การฟื้นตัว ของเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่เข้มแข็งนัก ดังนั้นจะประคองอย่างไร บวกกับภาระหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ที่เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มต่างๆ 
    นอกจากนี้ สิ่งที่สร้างความกังวลเพิ่ม คือปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจกระทบต่อคู่ค้าสำคัญของไทย ในปี 2565-2566  ที่อาจทำให้ประเทศคู่ค้ามีอัตราการเติบโตที่ลดลงได้

   ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของไทยด้วย อีกด้านที่ต้องติดตาม คือเศรษฐกิจจีน ว่าจะสามารถเติบโตในอัตราเดิมหรือไม่ เพราะไทยมีความเกี่ยวโยงกับจีนค่อนข้างมาก หากดูมูลค่าการค้าระหว่างไทยจีน มีสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท หรือ 20% ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมของไทย ดังนั้นต้องติดตามว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวหรือไม่ ซึ่งอาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและการค้าในภูมิภาคได้ 
     นอกเหนือจากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจนำไปสู่ การกีดกันทางการค้า การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทำให้อาจเป็นปัญหาในการเชื่อมโยงระหว่างโลกให้มีอุปสรรคมากขึ้น หากปัญหาเหล่านี้รุนแรงจนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 

   ดังนั้นมองว่า ภายใต้ความเสี่ยงต่างๆ เศรษฐกิจไทย อยู่ในฐานะ “ resilience” หรือมีความยืดหยุ่น ทนทานเพียงพอ ด้วยเหตุผลที่เราได้สร้างภูมิคุ้มกันระดับหนึ่งไว้ ทำให้เศรษฐกิจไทย น่าจะผ่านพ้นความผันผวนนี้ไปได้ ไม่น่าจะเกิดวิกฤติในระยะข้างหน้า

   เพราะหากดูเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันเริ่มฟื้นตัว ปีก่อน 1.6% ปีนี้คาดการณ์ 3.3% และปีหน้าหากขยายตัว 3-4% เศรษฐกิจไทยก็สามารถฟื้นตัวไปเท่ากับก่อนโควิด-19 ได้ 
ดังนั้นระดับเศรษฐกิจมหาภาค Micro อาจไม่น่าห่วง

   แต่ระดับจุลภาค หรือเศรษฐกิจรายย่อย Micro อาจได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน บางกลุ่มอาจมีความเปราะบางสูง ดังนั้นหากเป็นไปได้ ควรทำมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม 
    สิ่งที่น่ากังวล คือปัญหาที่เกิดมาก่อนโควิด-19 ระยะถัดไป ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอาจไม่มีเลย ดังนั้นเราจำเป็นต้อง ระยะถัดไปที่ศักยภาพการเติบโตเราอาจไม่มีเลย ดังนั้นต้อง Reform คือการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพราะหากไม่ทำ ต่อไปศักยภาพเศรษฐกิจไทย จะแผ่วลงเรื่อยๆ 
     “เราจะอาศัยนโยบายอุดหนุน อย่างเราเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง ต่อไปยาก หนึ่งการทำนโยบายเหล่านี้ใช้เงินเยอะ และทำแล้วอาจทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน ดังนั้นจำเป็นที่ต้องมองภาพระยะยาว หากก้าวข้ามความผันผวน และปัจจัยระยะสั้นที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ยังมีปัจจัยเชิงโครงสร้าง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อรองรับโอกาสและความพร้อมใหม่ๆ ภายใต้บริบทต่างๆที่มีความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ” 
     อย่างไรก็ตาม สำหรับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน เผชิญกับปัจจัยเชิงโครงสร้างหลายด้าน ที่ทำให้ศักยภาพเศรษฐกิจไทยลดลง จากการเติบโตระดับ 5% มาเหลือ 3% ที่อาจเรียกว่าเต็มศักยภาพแล้ว แต่ความจริงอาจต่ำไปถึง 1-2% ได้หากขาดการพัฒนา และเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ 
     ดังนั้น เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องปฏิรูป และปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ 3 ด้านสำคัญ 
ด้านแรก การเพิ่มผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขัน ทั้งอุตสาหกรรมที่ชำนาญอยู่แล้ว และอุตสาหกรรมใหม่ การขยายโอกาสและการสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศกลุ่ม CLMVT ที่มีประชากรรวมกันกว่า 400 ล้านคน

   รวมถึงการผลักดันให้เราเป็นฮับด้าน Innovation Hub และ Startup nation ที่รายได้หลักมาจากการสร้างนวัตกรรม
    ด้านที่สอง การลดความเหลื่อมล้ำ โดยการพัฒนาหัวเมืองใหญ่ในภูมิภาค ควบคู่ไปกับกรุงเทพ สร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานการปฏิรูประบบภาษี การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

    ที่ผ่านมาประเทศไทย ถือว่าเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในหลายเรื่อง อันดับต้นๆของโลก ทั้งความสามารถการแข่งขันระหว่างธุรกิจขนาดเล็กกับธุรกิจขนาดใหญ่ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซี่งปัญหาคอรัปชั่น เหล่านี้กลายเป็นต้นทุนแฝงในหลายภาคส่วน ต้องแบกรับต้นทุนสูงกว่าปกติ
    หากมองไปข้างหน้า ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม ของการประกอบธุรกิจ รูปแบบธุรกิจ จะทำให้งานหลายอย่างเปลี่ยนแปลง อาจถูกลดถอนไปใช้เครื่องจักรมากขึ้น

   นอกจากนี้ประเทศกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุ ที่มีแนวโน้มหาแรงงานยากขึ้น ค้าจ้างสุงขึ้น ทำให้บริบทในอนาคต มีความท้าทายกับเศรษฐกิจไทยมากขึ้น 
    ซึ่ง หากเศรษฐกิจไทย ไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ อาจเหนี่ยวรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าได้ ดังนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึง การพัฒนาเศรษฐกิจ การกระจายผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง และก้าวไปสู่ความยั่งยืนเพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยแข่งขันได้ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้น
     ส่วนที่สาม คือการปฏิรูปโครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจ ผ่านการปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจให้ทันสมัย ทำให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ การปรับปรุงกลไกหน่วยงานภาครัฐทั้งในและระดับยุทธศาสตร์ การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น