รู้จัก 5 เมืองดิจิทัล ต้นแบบโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจไทยสู่ 'โลกแห่งอนาคต'  

รู้จัก 5 เมืองดิจิทัล ต้นแบบโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจไทยสู่ 'โลกแห่งอนาคต'  

"ประยุทธ์"ติดตามความคืบหน้าต้นแบบพัฒนาเมืองดิจิทัล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หวังกระจายความเจริญลงพื้นที่ชุมชุม ชมตัวอย่างเมืองที่ บพท.ร่วมกับท้องถิ่น ใช้เทคโลโลยีWeb3.0 บล็อกเชน และเมตาร์เวิร์สสร้างระบบนิเวศน์หนุนเศรษฐกิจดิจิทัลในท้องถิ่น

ในการเดินทางไปตรวจราชการจังหวัดเชียงใหม่ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เมื่อปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาได้มีการตรวจเยี่ยมการทำงานในพื้นที่จ.เชียงใหม่ พื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งโครงการที่มีการเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ของหน่วยงานต่างๆที่ได้มีการรายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบด้วย

ทั้งนี้ในเรื่องของการติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาเมือง ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่เป็นนโยบายที่รัฐบาลสนับสนุนเพื่อให้เกิดการกระจายคามเจริญทางเศรษฐกิจไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งช่วงสร้างความเข้มแข็งของการบริหารงานราชการในท้องถิ่นโดยใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานให้เพิ่มมากขึ้น หรือสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆด้วย

โดยภายในงานนี้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)  ได้รวบรวมเอาข้อมูลของเมืองดิจิทัลต้นแบบใน 5 พื้นที่ที่มีจุดเด่น และความสำเร็จที่แตกต่างกัน

 ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า บพท.ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนเกิดบริษัทพัฒนาเมืองขึ้นมาแล้ว 20 เมือง เพื่อพัฒนาเมืองให้ตอบความต้องการของท้องถิ่นให้สอดคล้องกับภูมิสังคมของแต่ละแห่ง ตลอดจนการริเริ่มนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานจนได้รับการยอมรับ ถือเป็นการสร้างระบบนิเวศน์ที่สนับสนุนการลงทุนของสตาร์ทอัพ และสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในชุมชน

โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจของแต่ละเมืองมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

รู้จัก 5 เมืองดิจิทัล ต้นแบบโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจไทยสู่ 'โลกแห่งอนาคต'  

1.โครงการเมืองต้นแบบการประยุกต์และส่งเสริมการการใช้ Blockchain Digital transformation platform ในการพัฒนาเมือง เมืองต้นแบบแม่เหียะ Maehia Metaverse จ.เชียงใหม่ เป็นโครงการที่ พล.อ.ประยุทธ์ ไปดูในพื้นที่ โครงการนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบท้องถิ่นที่ใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาบริหารงาน มีการประยุกต์และส่งเสริมการการใช้ Blockchain Digital transformation platform ในการพัฒนาเมืองมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน

 นับได้ว่าเป็นความสำเร็จในการสร้างและพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ 3D Model ซึ่งเป็นชั้นข้อมูลและข้อมูลเปิด (Open Data) ของเทศบาลแม่เหียะ ซึ่งจัดทำไว้ 84 ชั้นข้อมูล โดยมีการนำชั้นข้อมูลมาแสดงผลในรูปแบบแผนที่ 3D เพื่อเป็นระบบที่สนับสนุนข้อมูลการบริหารงานของนายกเทศมนตรีในการพัฒนาพื้นที่เทศบาลมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่  

นอกจากนั้นยังมี Dashboard ข้อมูลการให้บริการประชาชนของฝ่ายต่างๆ การพัฒนาพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ เช่น กองช่างมีการขอก่อสร้างผ่านระบบ Online และระบบสนับสนุนข้อมูลเทศบาลต่อการบริหารงานนายกเทศมนตรี

Urban Platform การใช้แพลตฟอร์ม เพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในเขตเทศบาล เช่น การใช้คูปองในร้านอาหารทดสอบการใช้งาน Blockchain ในพื้นที่ รวมทั้งการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนเมืองคาร์บอนต่ำ โดยภาคเอกชนได้เช่าพื้นที่ในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ ในการทำ EV Station และ EV Charger สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าด้วย

2.โครงการ Startup Project ต้นแบบส่งเสริมการการใช้ Web3 Digital platform ในการพัฒนาเมืองภาคสิ่งแวดล้อม จ.ระยอง ที่เน้นในเรื่องการตอบสนองต่อนโยบายเรื่องของ BCG การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ซึ่งช่วยในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้จ.ระยอง เป็นต้นแบบเมือง Netzero ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเศรษฐกิจดิจิทัล การจัดการขยะไร้มลภาวะครบวงจร เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่รู้จบ การสร้างบรรทัดฐานแห่งวิถีพลเมืองสู่ความยั่งยืนใหม่ Green-S-Curve การสร้างแรงจูงใจในทุกภาคส่วนด้วยคะแนนดิจิทัล จากการลดคาร์บอนฟรุตพริ้นต์ และการบรรเทาความรุนแรงจากกติการโลกใหม่ด้วยการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต เป็นต้น

3.โครงการจาก Startup Project ต้นแบบส่งเสริมการการใช้ Web3 Digital platform ในการพัฒนาเมืองภาคเศรฐกิจ จ.ขอนแก่น ที่ได้มีการนำร่องการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี Web3 กับการพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่โดยมีการใช้งานผ่านแพลตฟอร์ม INFINITLAND ของคนไทยที่จะลดความเหลื่อมล้ำในด้านการศึกษาให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม

รวมไปถึงการออกแบบให้มีการใช้ดิจิทัลโทเคน รวมทั้งออกแบบให้เข้าถึงรูปแบบเศรษฐกิจดิจิทัลของเมืองที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดต้นแบบของสมาร์ทซิตี้ต่อไป

4.โครงการ Startup Project ต้นแบบส่งเสริมการการใช้ Web3 Digital platform ในการพัฒนาเมืองภาคการเกษตร จ.นครราชสีมา โดยโครงการนี้ประกอบไปด้วย โครงการย่อย ได้แก่ กลไกระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ  ระบบขยะเหลือศูนย์สู่ความเป็นเมืองโคราชอัจฉริยะด้าน และ การจัดทําแผนพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม และประเมินผลการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในเมืองโคราช  โดยมีการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลการเก็บข้อมูลและการสั่งการผ่านแอพพิเคชั่น ส่วนแผนการผลักดันระยะต่อไปนั้นจะได้ร่วมหารือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เพื่อยกระดับโครงการให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และสามารถขยายโอกาสทางธุรกิจได้อีกหลากหลาย อาทิ ธุรกิจการขนส่งและรับซื้อขยะรีไซเคิล ธุรกิจการแปรรูปขยะรีไซเคิล ในขณะที่สามารถรวบรวมขยะรีไซเคิลปริมาณที่เพียงพอ อาจจะสามารถนำไปสู่การสร้างต้นแบบโรงงานผลิตพลังงานจากขยะรีไซเคิล จนกลายเป็นระบบพลังงานหมุนเวียนตามนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติต่อไป

และ 5.โครงการ Startup Project ต้นแบบส่งเสริมการการใช้ Web3 Digital platform ในการพัฒนาเมืองภาคการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต ซึ่งเน้นการนำเอาเทคโนโลยี Web3.0 มาใช้ยกระดับการท่องเที่ยว การดูแลความปลอดดภัยของนักท่องเที่ยว เป็นต้น