KBANK - เร่ง lean งบดุลเพื่อเดินต่อ (30 มิ.ย. 65)

KBANK - เร่ง lean งบดุลเพื่อเดินต่อ (30 มิ.ย. 65)

KBANK และ JMT ตั้งบริษัท JV เพื่อบริหารทรัพย์สิน เราประเมินว่า JK AMC จะส่งผลกับกำไรสุทธิของ KBANK ไม่มาก แต่งบดุลของ KBANK จะ lean ขึ้น ได้เงินสดกลับมาและปลดล็อกสำรองหนี้ซึ่่งทำให้ธนาคารสามารถลุยเดินหน้าขยายสินเชื่อต่อได้

เราคงคำแนะนำถือ KBANK ประเมินราคาเป้าหมายที่ 170 บาท

 

KBANK x JMT = JK

KVision (บริษัทในเครือของ KBANK) และ J asset management หรือ JAM (บริษัทในเครือของ JMT) ร่วมกันตั้ง joint venture บริษัทบริหารสินทรัพย์ “JK” โดยใช้เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท และแบ่งสัดส่วนการถือหุ้น 50:50 ทั้งนี้ JK AMC จะเริ่มดำเนินการใน 3Q22 โดยจะมีการโอนหนี้เสียก้อนแรกจาก KBANK มาประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จากเป้าปี FY22 ทั้งหมดที่ 5 หมื่นล้านบาท ผู้บริหารของ JK AMC คาดว่าสินทรัพย์ของบริษัทจะเพิ่มแตะระดับ 1 แสนล้านบาท ภายในปี 2025 ถึงแม้ว่า JK AMC จะเป็น JV ที่ตั้งขึ้นโดย KBANK และ JMT แต่บริษัทไม่ได้ถูกจำกัดว่าจะต้องซื้อสินทรัพย์จาก KBANK เท่านั้น อย่างไรก็ตาม JK AMC จะมีระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ปีเท่านั้นตามเกณฑ์ธปท.

 

ลดกระบวนการให้สั้นลง แต่มี recovery rate ที่สูงขึ้น

JK AMC น่าจะช่วยสร้าง synergy ด้านบวกให้กับทั้ง KBANK และ JMT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการเร่งกระบวนการฟื้นฟูหนี้เสีย และติดตามเก็บหนี้ โดยใช้แนวทานที่มีประสิทธิภาพในแง่ต้นทุนมากขึ้นจากการร่วมแบ่งปันทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน ตามปกติแล้ว KBANK จะใช้เวลาประมาณ 7-20 ปีสำหรับการฟื้นฟูหนี้เสียอย่างสมมบูรณ์ภายใต้กระบวนการจัดการภายใน โดยมีอัตรา recovery rate เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40-60% แต่การขายหนี้เสียให้กับ JK AMC น่าจะทำให้ recovery rate สูงกว่าการจัดการภายใน หรือขายผ่านการเปิดประมูล อีกทั้งมีกระบวนการที่สั้นลงเหลือเพียง 6-12 ปี

 

 

 

เร่งทำงบดุลให้ lean เพื่อเดินหน้าขยายสินเชื่อต่อ

ในแง่ของงบดุล KBANK จะได้รับเงินสดจากการขายสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ กอปรกับธุรกรรมนี้จะช่วยให้ธนาคารสามารถปลดสำรองที่ตั้งไว้ออกมาได้ ซึ่งจะทำให้ KBANK สามารถก้าวต่อไปข้างหน้าและขยายพอร์ตสินเชื่อต่อไปได้ในอนาคต ดังนั้นเราจึงคาดว่า NII และ NIM ของธนาคารจะดีขึ้นขับเคลื่อนจากการขยายสินเชื่อใหม่ นอกจากนี้การขายหนี้เสียออกจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้กับ KBANK ซึ่งรวมถึงการเพิ่มความสามารถในการจัดชั้นหนี้และตั้งสำรองในเชิงรุกได้มากขึ้น

 

ผลกระทบไม่มากบนผลประกอบการ

อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่า JV ใหม่นี้จะส่งผลกับกำไรสุทธิขง KBANK ไม่มากนัก เพราะธนาคารจะบันทึกส่วนแบ่งกำไร 50% จาก JK AMC เพียงบรรทัดเดียวในงบรวมโดยวิธี equity method และเมื่อพิจารณา JMT ที่มีสินทรัพย์ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท บริษัททำกำไรสุทธิได้ 1.4 พันล้านบาทในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่าการที่ธนาคารตัดสินใจเข้าลงทุนเป็นเพราะต้องการเร่งทำงบดุลให้ lean เพื่อเดินหน้าขยายสินเชื่อต่อมากกว่าที่จะคาดหวังผลตอบแทนจากการร่วมทุน JV ซึ่งมีผลกระทบไม่มาก