ปตท. ลั่นอีก 2 ปีผลิตรถอีวีคันแรก นำไทยก้าวสู่ฐานการผลิตครบวงจร

ปตท. ลั่นอีก 2 ปีผลิตรถอีวีคันแรก นำไทยก้าวสู่ฐานการผลิตครบวงจร

ปตท.ย้ำ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอีโคซิสเต็มอีวีครบวงจร ดันประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ย้ำ ไม่เกิน 2 ปี เดินเครื่องผลิตรถยนต์อีวีคันแรกดันเป้าหมาย 5 หมื่นคันต่อปี ขานรับนโยบาย 30@30

นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานเสวนา “EV Forum 2022 Move Forward to New Opportunity” จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” และ “ฐานเศรษฐกิจ” ในหัวข้อ “แผนธุรกิจรุกตลาด EV” ว่า ปตท.ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการพลักดันธุรกิจด้านพลังงานเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันหล่อลื่นต่างๆ จากข้อมูลจะเห็นว่าปัจจัยสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาโลกร้อน เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาปรับตัวรวดเร็ว ต้นทุนการเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวดเร็วขึ้น และเป้าหมายประเทศสู้ Net Zero จากเวที COP25 และนโยบายภาครัฐสนับสนุนอีวี 30@30

ทั้งนี้ ปตท. ถือเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อเปลี่ยนผ่านรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอีวีที่มีความแข็งแรงมากขึ้น จึงได้จัดตั้ง บริษัท อรุณ พลัส เพื่อเป็นเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุน อีวี อีโคซิสเต็ม และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ดันประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลางฐานการผลิตรถอีวี

ทั้งนี้ การที่จะสร้าง อีวี อีโคซิสเต็ม อาทิ การส่งเสริมให้เกิดการใช้อีวี ประกอบด้วยแบตเตอรี่ ที่จะเข้าไปมีส่วนผลิตรถอีวี โดยกลุ่มปตท.ได้สร้างอีโคซีสเต็มครบทั้งระบบ คือ การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ทำในเรื่องของปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถไฟฟ้า รวมถึงแบตเตอรี่ โดยจับมือกับผู้เล่นระดับโลก เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตรถไฟฟ้าในไทย ทั้งรถอีวี 2 ล้อ 4 ล้อและรถบัส เพื่อสร้างให้เกิดดีมานด์กระตุ้นการใช้รถอีวี

“โรงงานแบตเตอรี่เราลงทุนกับเจ้าของเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อนำมาใช้ในประเทศไทย ที่ผลตในประเทศจีนแล้วจำนวน 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง รวมถึงมีการวิจัยและพัฒนาในเรื่องจของแบตเตอรี่เองด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้รูปแบบต่างๆ”

รวมถึงการที่อรุณ พลัส จับมือกับ ฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กรุ๊ป ลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถอีวี ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง ซึ่งจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือปี 2024 ที่แผนกำลังผลิตเริ่มต้น 50,000 คันต่อปี และขยายไปถึง 150,000 คันในปี 2030 ตามนโยบายนรัฐ โดยจะเป็นลักษณะการ OEM เทคโนโลยีร่วมกับ ฟ็อกซ์คอนน์ โดยขณะนี้ได้คุยกับบริษัทรถยนต์ประเทศจีนและอีก 1-2 ราย ที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นจุดแข็งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนก่อสร้างรถอีวีในประเทศต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการทดลองใช้รถอีวี อรุณ พลัส จึงได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่น อีวีมี พลัส เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สนใจที่อยากจะทดลองใช้รถอีวี ก่อนที่จะเป็นเจ้าของจริงในระยะเวลาเหมาะสม ในงบประมาณที่สามารถเลือกใช้รุ่นต่างๆ ปัจจุบันมีรถอีวีในระบบพร้อมแทบทุกโมเดลที่ขายในประเทศไทยจำนวน 300 คัน และจะเพิ่มเป็น 700 คัน ซึ่งตอนนี้จะเกิดปัญหาเมื่อนโยบายรัฐบาลสนับสนุน ยอดจองรถอีวีมีจำนวนมาก รถที่บริษัทฯ จะนำเข้ามาในระบบอีวีวีจึงขาดหายไป

สำหรับการใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนแบเตอรี่ Swap & Go เพราะการชาร์จแบตเตอรี่นานๆ อาจจะไม่เหมาะสม บวกกับการที่ไม่มีสถานที่ โครงสร้างพื้นฐานไม่มากพอ กลุ่มปตท.จึงได้ทดลองบริการ Swap & Go พบว่ากลุ่มที่เหมาะสมคือมอเตอร์ไซค์เดลิเวอรี่ โดยปัจจุบันมี Swap & Goจำนวน 22 จุดทั่วกทม. โดยตั้งเป้าหมายปีนี้ที่ 1,000 คัน

ส่วนการสร้างสถานีชาร์จ ถือเป็นอีกอีโคซิสเต็มที่สำคัญ โดยจะมีทั้งสถานีชาร์จทั้งในปั๊มของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และนอกสถานีน้ำมัน โดยมีแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกันได้เพื่อให้ใช้งานได้ทุกเส้นทาง ด้วยความสบายใจ พร้อมลงทุนสตาร์ทอัพ เพื่อจะดึงว่าจะสามารถขยายผลได้หรือไม่ ในขณะที่บริการการเซอร์วิสถือเป็นสิ่งที่สำคัญด้วยเช่นกัน ดังนั้น การดูแลตรงนี้ถือว่าสำคัญจึงจะใช้ศูนย์บริการฟิตออโต้ของโออาร์ เพื่อสนับสนุนอีโคซิสเต็มในไทยแข็งแรง ก้าวสู่ศูนย์หกลางการผลิตอีวีในอนาค