มนัญญา ตั้งวอร์รูมแก้หนี้ทุจริตสหกรณ์ ป้องสมาชิก ล่าสุดพบ 1.8 หมื่นล้าน

มนัญญา ตั้งวอร์รูมแก้หนี้ทุจริตสหกรณ์ ป้องสมาชิก ล่าสุดพบ 1.8 หมื่นล้าน

สหกรณ์ เป็นระบบที่อาศัยความไว้ใจในการบริหารงาน จึงไม่แปลกที่จะมีปัญหาการทุจริตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกระทบกับสมาชิก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ ขึ้น เบื้องต้นสามารถรวบรวมหนี้ในระบบ ได้แล้วกว่า 18,000 ล้านบาท

    นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์  กล่าวว่า   สืบเนื่องจากปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบสหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์โดยรวมเป็นวงกว้าง ส่งผลให้สหกรณ์ขาดสภาพคล่องทางการเงินและสมาชิกสหกรณ์ไม่สามารถเบิกถอนเงินฝากหรือกู้ยืมหรือดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์ได้ตามปกติ

 

มนัญญา ตั้งวอร์รูมแก้หนี้ทุจริตสหกรณ์ ป้องสมาชิก ล่าสุดพบ 1.8 หมื่นล้าน

 

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นระบบอาศัยอำนาจตามความมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565  ร่วมด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  กรมสอบสวนคดีพิเศษ

โดยมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการเข้าตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์ ตรวจสอบ เร่งรัด ติดตาม การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทุจริตในสหกรณ์ รวมทั้งให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะแก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

ทั้งนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้แนวทางการปฏิบัติงาน ว่า รัฐบาลนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงระดมกลไกของรัฐหลายฝ่ายมาร่วมบูรณาการทำงานกัน ใช้อำนาจตามกฎหมาย เพื่อเร่งรัดติดตามติดตามเอาทรัพย์คืนให้กับผู้เสียหาย และดำเนินคดีจากผู้กระทำผิดให้เร็วที่สุด และเชื่อว่าคณะกรรมการฯ ชุดนี้มีขั้นตอน กระบวนการตรวจสอบได้เป็นอย่างดี

 

มนัญญา ตั้งวอร์รูมแก้หนี้ทุจริตสหกรณ์ ป้องสมาชิก ล่าสุดพบ 1.8 หมื่นล้าน

อย่างไรก็ตามหากจำเป็นต้องมีคณะทำงานใดๆ หรือหน่วยงานใดเพิ่มเติม ก็พร้อมให้การสนับสนุน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) หรือสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

             “นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำและฝากความเป็นห่วงในเรื่องการทุจริตสหกรณ์ทุกครั้ง จะทำอย่างไรให้เกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา และจะรายงานความคืบหน้าให้นายกฯ ทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะบูรณาการร่วมกันแก้ไขและสิ่งสำคัญคือต้องป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก

ในส่วนของดิฉันเอง มีความเป็นห่วงในเรื่องของการยึดทรัพย์ เนื่องจากที่ผ่านมามีทรัพย์สินที่ยึดได้แต่คงค้างไว้เป็นเวลานาน จะทำอย่างไรกับทรัพย์สินนั้นได้บ้าง ก่อนปล่อยให้มีสภาพเสื่อมโทรม จึงได้เน้นย้ำเรื่องการยึดทรัพย์สินมาถ่ายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาคืนให้กับผู้เสียหายให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด”

สำหรับการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รายงานสรุปข้อบกพร่องการทุจริต แยกตามประเภทสหกรณ์ 7 ประเภท ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 มีจำนวน 252 แห่ง 365 รายการ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวม 23,005,542,343 บาท และได้รับการชดใช้ไปแล้ว ปัจจุบันมีมูลค่าคงเหลือ 18,637,390,907 บาท แบ่งเป็นประเภทสหกรณ์ ดังนี้

มนัญญา ตั้งวอร์รูมแก้หนี้ทุจริตสหกรณ์ ป้องสมาชิก ล่าสุดพบ 1.8 หมื่นล้าน

 (ภาพ: วิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์)

1. สหกรณ์การเกษตร 140 แห่ง 218 รายการ มูลค่าความเสียหาย 1,964 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับการชดใช้คงเหลือมูลค่าความเสียหาย 1,822 ล้านบาท

 2. สหกรณ์ประมง 2 แห่ง 2 รายการ มูลค่าความเสียหาย 3.9 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับการชดใช้ คงเหลือมูลค่าความเสียหาย 3.7 ล้านบาท

 3. สหกรณ์นิคม 6 แห่ง 8 รายการ มูลค่าความเสียหาย 123 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับการชดใช้ คงเหลือมูลค่าความเสียหาย 99 ล้านบาท

4. สหกรณ์บริการ 23 แห่ง 28 รายการ มูลค่าความเสียหาย 79 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับการชดใช้ คงเหลือมูลค่าความเสียหาย 73 ล้านบาท

5. สหกรณ์ร้านค้า 4 แห่ง 4 รายการ มูลค่าความเสียหาย 8.7 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับการชดใช้ คงเหลือมูลค่าความเสียหาย 3.3 ล้านบาท

 6. สหกรณ์ออมทรัพย์ 40 แห่ง 54 รายการ มูลค่าความเสียหาย 3,510 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับการชดใช้ คงเหลือมูลค่าความเสียหาย 3,300 ล้านบาท

 และ  7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 37 แห่ง 42 รายการ มูลค่าความเสียหาย 17,314 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับการชดใช้ คงเหลือมูลค่าความเสียหาย 13,333 ล้านบาท

 

       “คณะกรรมการฯ จะมีการอัพเดตและรายงานความคืบหน้าเดือนละ 2 ครั้ง โดยได้เตรียมตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะรวบรวมหนี้ที่มีการทุจริตในระบบสหกรณ์ทั้งสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์ ขอยืนยันว่าทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มความสามารถ และจะเร่งชดใช้ความเสียหายให้กับสมาชิก