กฟภ.แปรรูปขยะสู่ “น้ำมันเชื้อเพลิงแทนดีเซล-ไฟฟ้า”

กฟภ.แปรรูปขยะสู่ “น้ำมันเชื้อเพลิงแทนดีเซล-ไฟฟ้า”

กฟภ. แปรรูปขยะสู่น้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนดีเซล พร้อมเดินหน้า สนับสนุน โครงการวิจัยศึกษาเทคโนโลยีและพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานขยะ ให้แก่ชุมชนและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

นายพงศกร ยุทธโกวิท ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ PEA เปิดเผยว่า PEA ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการวิจัย “การศึกษาเทคโนโลยีและพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานขยะ”  โครงการวิจัยนี้ เป็นการนำขยะพลาสติกมาแปรสภาพเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนดีเซล โดยผ่านกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อน หรือ ไพโรไลซิส (Pyrolysis) แปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนดีเซลขนาดกำลังผลิต 2,000 ลิตรต่อวัน จากขยะพลาสติก 3.5 ตันต่อวัน

กฟภ.แปรรูปขยะสู่ “น้ำมันเชื้อเพลิงแทนดีเซล-ไฟฟ้า” ในปี 2564 ที่ผ่านมาการดำเนินโครงการวิจัยเครื่องต้นแบบการผลิตน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติก และกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเพื่อให้สามารถใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดดีเซลได้ รวมถึงเป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงทดแทนดีเซลที่ได้จากการไพโรไลซิสขยะพลาสติก และชีวมวล ซึ่งได้ส่งมอบน้ำมันดีเซลผลิตจากขยะพลาสติก ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และนครสวรรค์ รวมจำนวน 300 ลิตร

กฟภ.แปรรูปขยะสู่ “น้ำมันเชื้อเพลิงแทนดีเซล-ไฟฟ้า” ทั้งนี้ PEA เล็งเห็นถึงปัญหาขยะตกค้างในพื้นที่ดังกล่าวนั้นไม่สามารถกำจัดได้โดยง่ายและขยะพลาสติกซึ่ง รวมถึงความมั่นคงทางพลังงานบนพื้นที่เกาะ ดังนั้นผลลัพธ์จากการศึกษาโครงการดังกล่าวเราจึงคัดเลือกพื้นที่เกาะสีชัง เป็นพื้นที่นำร่องเพื่อขยายผล โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของพื้นที่ ศักยภาพในการพัฒนาระบบไฟฟ้าและปัญหาของปริมาณขยะตกค้างในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตไฟฟ้าได้ 3,500,000 หน่วยต่อปี และคาดการณ์ว่าสามารถลดปริมาณขยะตกค้างบนพื้นที่เกาะได้มากกว่า 50%