รวมวิธีซื้อพันธบัตร "ออมเพิ่มสุข" รอบ 2 จาก 4 แบงก์ เริ่ม 15 มิ.ย. นี้

รวมวิธีซื้อพันธบัตร "ออมเพิ่มสุข" รอบ 2 จาก 4 แบงก์ เริ่ม 15 มิ.ย. นี้

พลาดซื้อพันธบัตร "ออมเพิ่มสุข" ใน "เป๋าตัง" ไม่ต้องเสียใจ! เปิดขายรอบ 2 ผ่าน 4 แบงก์ "กรุงเทพ-กรุงไทย-กสิกรไทย-ไทยพาณิชย์" ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท เริ่มวันที่ 15 มิ.ย. นี้ เช็ควิธีซื้อที่นี่!

พันธบัตร "ออมเพิ่มสุข" เปิดขายอีกครั้งสำหรับ "บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย" หลังจากที่เปิดขายรอบแรกผ่าน "วอลเล็ต สบม." แอป "เป๋าตัง" ไปแล้วเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 65 และขายหมดอย่างรวดเร็ว

สำหรับการเปิดให้ซื้อ "พันธบัตรออมเพิ่มสุข" ในครั้งนี้จะเปิดจำหน่ายอีก 2 ช่วง วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท สำหรับบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย และอีก 5,000 ล้านบาท สำหรับนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร รวมเป็นวงเงิน 45,000 ล้านบาท ซึ่งครั้งนี้จะกล่าวถึงการเปิดจำหน่ายสำหรับ "บุคคลธรรมดา" เท่านั้น

  •  พันธบัตรออมเพิ่มสุข ให้ผลตอบแทนอย่างไร ? 

สำหรับบุคคลธรรมดา สามารถเลือกซื้อพันธบัตรได้ 2 รุ่น ประกอบไปด้วยรุ่นอายุ 5 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.90% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี ดอกเบี้ย 3.60% ต่อปี โดยเริ่มต้นลงทุนได้ด้วยเงิน 1,000 บาท 

รวมวิธีซื้อพันธบัตร \"ออมเพิ่มสุข\" รอบ 2 จาก 4 แบงก์ เริ่ม 15 มิ.ย. นี้

  •  พันธบัตรออมเพิ่มสุข จำหน่ายเมื่อไร ? 

สำหรับการเปิดจำหน่ายครั้งใหม่นี้จะแบ่งจำหน่ายเป็น 2 รอบ 2 ช่วงเวลา ดังนี้

ช่วงที่ 1 : เริ่มจำหน่ายวันที่ 15 มิ.ย. 65 เวลา 08.30 น. ถึงวันที่ 19 มิ.ย. 65 เวลา 24.00 น. (จำกัดวงในการซื้อไม่เกิน 10 ล้านบาท)

ช่วงที่ 2 : เริ่มจำหน่ายวันที่ 20 มิ.ย. 65 เวลา 08.30 น. ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 65 เวลา 15.00 น. (ไม่จำกัดวงการในการซื้อ)

  •  พันธบัตรออมเพิ่มสุข ซื้อที่ไหนบ้าง ? 

จำหน่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต "Mobile Application" และ "เคาน์เตอร์ทุกสาขาของธนาคารตัวแทนจำหน่าย" ได้แก่

- ธนาคารกรุงไทย ดูรายละเอียดการซื้อ คลิกที่นี่

รวมวิธีซื้อพันธบัตร \"ออมเพิ่มสุข\" รอบ 2 จาก 4 แบงก์ เริ่ม 15 มิ.ย. นี้


- ธนาคารกสิกรไทย ดูรายละเอียดการซื้อ คลิกที่นี่

รวมวิธีซื้อพันธบัตร \"ออมเพิ่มสุข\" รอบ 2 จาก 4 แบงก์ เริ่ม 15 มิ.ย. นี้
 

- ธนาคารกรุงเทพ ดูรายละเอียดการซื้อ คลิกที่นี่

รวมวิธีซื้อพันธบัตร \"ออมเพิ่มสุข\" รอบ 2 จาก 4 แบงก์ เริ่ม 15 มิ.ย. นี้

- ธนาคารไทยพาณิชย์ ดูรายละเอียดการซื้อ คลิกที่นี่

------------------------------------------

อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงไทย

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์