อ่อนตัว Trading Buy หุ้น JMT BLA DOD (13 มิ.ย. 65)

อ่อนตัว Trading Buy หุ้น JMT BLA DOD (13 มิ.ย. 65)

คาดดัชนีฯ อ่อนตัว แนวต้าน 1,640 / 1,647 จุด (EMA 25 / 50 วัน) แนวรับ 1,624 / 1,615 จุด ทางเทคนิค เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 1,615-1,646 จุด และจะเกิดสัญญาณขายเพิ่ม หากหลุด 1,615 จุด

แนะนำ Trading Buy หุ้น JMT BLA DOD ปัจจัยลบ คือ การร่วงแรงของตลาดหุ้นโลก หลังสหรัฐฯ รายงานเงินเฟ้อเดือน พ.ค. สูงสุดรอบกว่า 40 ปี ที่ 8.6% YoY ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อเฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ และส่งผลลบต่อเศรษฐกิจชะลอตัวเร็วกว่าคาด ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องติดตามวันนี้ คือ USA รายงาน Consumer Inflation Expectation เดือน พ.ค.; Japan รายงาน BSI Large Mfg. 2Q คาดดีขึ้น; UK รายงาน GDP เดือน เม.ย.

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH BAFS DOD SAT TMT PORT SMT TOG ส่วน พอร์ต Big Cap แนะนำ AWC BEC JMART TCAP JMT CENTEL BH AOT EA MEGA MINT KTB PLANB MAJOR (แนะนำ ซื้อ CRC)

+ Monthly Stock Picks: CHAYO GFPT JMART JMT ORI BEM BH CRC GUNKUL MINT

+ Short Term/Tactical Play: Trading Buy

+ กลุ่มได้ประโยชน์จากยิลด์พันธบัตรปรับสูงขึ้น: กลุ่มธนาคาร, กลุ่มประกันภัยและประกันชีวิต BBL KBANK SCB TIPH BLA

+ กลุ่มป้องกันเงินเฟ้อ (Commodities Play): PTTEP TOP ESSO BCP KSL AGE

+ กลุ่มได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า: ธุรกิจส่งออก TWPC NER SMT KCE และท่องเที่ยว CENTEL MINT ERW SHR

+ กลุ่มได้ประโยชน์จากการเปิดเมืองเปิดประเทศ: MBK MAJOR CPN CENTEL ERW BA AAV AOT

+ SET50 / SET100 Index Rebalance: +JMART JMT AAV ASK BYD FORTH ONEE PSL TIPH –RATCH STGT BPP MAJOR RS SIRI STEC SYNEX TTA

+ FTSE Rebalance Index: +BRI CIVIL HENG PEACE KTBSTMR SVT TKC WFX TFM -PTT SCC AOT BDMS ADVANC KBANK

 

 

ปัจจัยลบ

- USA: รายงานเงินเฟ้อเดือน พ.ค. เติบโตสูงกว่าคาด +8.6% YoY สูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 1981 (รอบกว่า 40 ปี) +1% MoM (Vs คาดการณ์ +8.3% YoY, +0.7% MoM และเดือน เม.ย. +8.3% YoY, +0.3% MoM) โดย Energy Price +34.6% YoY สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2005

- Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติ กลับมาขายสุทธิ -5,889 ล้านบาท หลังจากซื้อสุทธิ 3 สัปดาห์สะสม +22,311 ล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +6,078 ล้านบาท) ส่วนตลาดอนุพันธ์ พบว่า นักลงทุนต่างชำติกลับมาเปิด Short Set 50 Index Future -18,097 สัญญา หลังจากเปิด Long มำ 3 สัปดาห์สะสม 157,673 สัญญา

 

ประเด็นสำคัญ

      - Opportunity Day: วันนี้ SMT CPANEL D SSP GPI TNP

      - UK: รายงาน GDP เดือน เม.ย. คาด +0.1% MoM, +3.9% YoY (Vs เดือน มี.ค. -0.1% MoM, +6.4% YoY) และดุลการค้าเดือน เม.ย. (Vs เดือน มี.ค. -23.9 พันล้านปอนด์)

      - Japan: รายงาน BSI Large Mfg. 2Q คาดดีขึ้นเป็น +2.7% QoQ (Vs 1Q -7.6% QoQ)

      - USA: รายงาน Consumer Inflation Expectation เดือน พ.ค. คาด 6.2% (Vs เดือน เม.ย. 6.3%)

 

Global Market Summry: วันทำการที่ผ่านมา


+ ตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดลบ: ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นภูมิภาค ในลักษณะ Zig-Zag Down กรอบ 1,640.86-1,631.43 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,632.62 จุด -8.72 จุด -0.53% วอลุ่มซื้อขาย 5.96 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ -1.21% ธุรกิจการเกษตร -1.13% เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -0.97% ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -0.92% เงินทุนและหลักทรัพย์ -0.82% หุ้นบวก >4% CPR CPH TVI MGT TQR SUTHA MATCH NOVA หุ้นลบ >4% TOP SABUY AP NINE JCK ACC BTNC

 

 

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรปร่วงแรง: DJIA -2.73% S&P500 -2.91% Nasdaq -3.52% เป็นผลจากการรายงานเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของสหรัฐฯ ที่สูงถึง +8.6% YoY (Vs คำด +8.3% YoYและสูงกว่าจุดสูงสุดเดิมในเดือน มี.ค. ที่ +8.5% YoY) และทำสถิติสูงสุดรอบ 40 ปี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากเฟดจะเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ DAX -3.08% CAC40 -2.69% FTSE -2.12 % โดย Bank of America เปิดเผยว่านักลงทุนถอนเงินออกจากหุ้นยุโรปต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 17 เพราะวิตกต่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามยูเครน-รัสเซีย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

-/+ น้ำมันปิดลบ แต่ทองคำปิดบวก: WTI -USD0.84 ปิดที่ USD120.67/บาร์เรล Brent -USD1.06 ปิดที่ USD122.01/บาร์เรล เนื่องจากการกลับมาแข็งค่าของเงินสกุล USD 0.88% เป็น 104.14 หลังจากสหรัฐฯ รายงานเงินเฟ้อสูงกว่าคาด ส่วนทองคำปิดพุ่งแรง +USD22.70 ปิดที่ USD1,875.50/ออนซ์ จากแรงซื้อเพิ่มทองคำในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ประเด็นสำคัญ

+ จีน: รายงานเงินเฟ้อ CPI เดือน พ.ค. +2.1% YoY ต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ +2.2% YoY แต่เท่ากับเดือน เม.ย. (สูงสุดรอบ 5 เดือน) เป็นผลจากราคาอาหารพุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2020 (+2.3% YoY Vs เดือน เม.ย. +1.9% YoY) เพราะการบริโภคเพิ่มขึ้น หลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่วนหมวดที่มิใช่อาหารลดลงเล็กน้อย (+2.1% YoY Vs เดือน เม.ย. +2.2% YoY) ทั้งนี้ ระดับเงินเฟ้อดังกล่าวยังคงต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของจีนที่ 3.0%

- USA: Michigan Consumer Sentiment เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 50.2 ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 58.5 และเดือน พ.ค. ที่ 58.4 และเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันร่วงลงทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 55.4 (vs เดือน พ.ค. 63.3) และความเชื่อมั่นต่อเหตุการณ์ในอนาคตร่วงลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 1980 ที่ระดับ 46.8

- USA: Inflation / Fed Fund Future อ้างอิงจาก Bloomberg Consensus อิง 59 นักวิเคราะห์ คาดว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ เฉลี่ยจาก 8% ใน 1Q22 จะทรงตัวที่ 8% (จากเดิม 7.8%) ใน 2Q22E ก่อนปรับลดลงเป็น 7.6% (จากเดิม 7.1%) ใน 3Q22E และ 6.3% (เดิม 5.9%) ใน 4Q22E ตามลำดับ ส่วนมุมมองต่อดอกเบี้ยนโยบาย อิง 61 นักวิเคราะห์ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 50 bps. เป็น 1.50% ในการประชุมเดือน มิ.ย. ส่วน 3Q22E คาดเพิ่มขึ้น 75 bps. และ 4Q22E เพิ่มขึ้น 50 bps. (สิ้นปี 2022E อยู่ที่ 2.75%) ส่วนปี 2023E คาดปรับขึ้น 50 bps. เป็น 3.25%)

- USA / GDP: ผลการสำรวจล่าสุด GDPNow โดยเฟดแอตแลนต้า พบว่า การบริโภคช่วง 2Q22E เติบโตลดลงเหลือ +3.7% QoQ จากเดิม 4.4% QoQ ทำให้คาดการณ์ 2Q22E GDP เติบโตเพียง 0.9% QoQ จากเดิม 1.3% QoQ ณ วันที่ 1 มิ.ย. 2022 ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับ Consensus ของตลาดที่บริเวณ 2.6-3% QoQ

- Germany: ธนาคารกลางเยอรมนีปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2022-23E เป็น 1.9%, 2.4% (จากเดิม 4.2%, 3.2% ตามลำดับ) และปรับเพิ่มเป้าหมาย เงินเฟ้อปี 2022-23E เป็น 7.1%, 4.5% (เดิม 3.6%, 2.2% ตามลำดับ) เนื่องจากราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของภาคครัวเรือน

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: BBL BLA DOD JMT

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: JMT BLA DOD

Derivatives: แนะปิด Long S50M22 ออกมาก่อน