เปิดกระดาน ‘ดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้’ 10แบงก์ ก่อนปรับดอกเบี้ย

เปิดกระดาน ‘ดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้’ 10แบงก์ ก่อนปรับดอกเบี้ย

เปิดสถิติอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง ก่อนปรับอัตราดอกเบี้ยตามกนง.ในอนาคต พบอัตราดอกเบี้ย เงินฝากระบบเฉลี่ยอยู่ที่ 0.125-0.50% ขณะที่ดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยอยู่ที่ 5.25-6.62%

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา แม้ครั้งนี้ กนง.จะมีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่0.50% แต่ครั้งนี้ กนง.มีการส่งสัญณาณชัดเจน เกี่ยวกับโอกาสในการปรับการดำเนินนโยบายการเงินได้ในระยะข้างหน้า เมื่อเห็นสัญณาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยชัดเจนมากขึ้น

       ขณะที่เงินเฟ้อสูงกว่าคาดตลอดทั้งปี ส่งผลให้ ตลาดตีความว่า กนง.อาจมีการขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมครั้งถัดไปได้ เพื่อคุมเงินเฟ้อ

      การประชุมกนง.ครั้งนี้ มีการสมมุติฐานถึงผลกระทบ ที่มาจากการปรับขึ้นของ ‘เงินเฟ้อ’ ว่ามีผล กระทบค่อนข้างมาก ที่มีผลทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนปรับตัวเพิ่มขึ้น

      โดยหากดูเงินเฟ้อ พบว่า เงินเฟ้อ ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี จนถึงปัจจุบัน โดยรวมจะสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับครัวเรือนประมาณ 850 บาทต่อเดือน หรือ 3.6% ของรายได้

เปิดกระดาน ‘ดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้’ 10แบงก์ ก่อนปรับดอกเบี้ย       แต่หากขึ้นดอกเบี้ย 1 % ภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจะอยู่ที่ เพียง 120 บาทต่อเดือน หรือ 0.5 % ของรายได้ ซึ่งต่างกันประมาณ 7-8 เท่า ดังนั้นตัวเลขนี้สำคัญ เพราะสิ่งที่กนง.เป็นห่วงมากที่สุด คือการที่เงินเฟ้อสูงขึ้น และยืนอยู่ในระดับที่สูง ยิ่งอยู่สูงนานเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายนานเท่านั้น

       หากขึ้นดอกเบี้ย แม้จะเพิ่มภาระขึ้นเล็กน้อย แต่ทำให้เงินเฟ้อ ในอนาคตกลับลงมา และทำให้เงินเฟ้อไม่อยู่นาน ก็เป็นสิ่งที่น่าจะคุ้มกับการดูแลภาระของประชาชน

        นอกจากกนง.ยังระบุอีกว่า อัตราดอกเบี้ยไทย อาจขึ้นสู่ดอกเบี้ยขาขึ้น และหมดยุคของอัตราดอกเบี้ยต่ำมากไปแล้วแต่ก็ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ยังต่ำอยู่ หากเทียบกับอดีต เพราะวันนี้ดอกเบี้ยไทย และดอกเบี้ยโลก ลงมาอยู่ที่ระดับต่ำมาก หากเทียบกับอดีต หลังลงมาต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบโควิด-19 

 

หากกลับมาดูอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ไทย 10แบงก์ ล่าสุด ก่อนที่จะปรับขึ้นในระยะข้างหน้า 

    พบว่า ธนาคารส่วนใหญ่ มีการให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ที่เป็นบัญชีเงินฝากพื้นฐาน เฉลี่ยอยู่ที่ 0.125-0.25% 

โดยพบว่าธนาคาร 8 แห่ง ให้อัตราดอกเบี้ยเท่ากัน คือ 0.25% คือ 

  1. ธนาคารกรุงไทย 
  2. ธนาคารกรุงเทพ 
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุทธยา 
  4. ธนาคารกสิกรไทย 
  5. ธนาคารไทยพาณิชย์ 
  6. ธนาคารทิสโก้ 
  7. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร 
  8. ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ 

ขณะที่ อีกสองธนาคาร คือ 

  1. ทีเอ็มบีธนชาต ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 0.125%
  2. ซีไอเอ็มบีไทยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.20% 

 

ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ พบว่า ส่วนใหญ่ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับลูกค่ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทกู้แบบมีระยะเวลา หรือ  Minimum Loan Rate) MLR ต่ำสุดที่ 5.25% ขณะที่สูงสุดอยู่ที่ 6.625% 

- แบงก์ที่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ต่ำสุด คือ 

  • แบงก์กรุงเทพ กรุงไทย และไทยพาณิชย์ ที่ 5.25% 
  • กสิกรไทย คิด MLR อยู่ที่ 5.47% และกรุงศรี ที่ 5.58%

 - แบงก์ที่ดอกเบี้ยเงินกู้ MLR สูงที่สุดคือ 

  • ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่ 6.625% 
  •  เกียรตินาคินภัทรที่ 6.525% 
  • ธนาคารทิสโก้ 6.45% 
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย6.350% 
  • ทีเอ็มบีธนชาตที่ 6.25% 

 

ส่วนดอกเบี้ย ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี หรือ Minimum Overdraft Rate) MOR พบว่าต่ำสุดคือ

  •  ธนาคารกรุงไทย  5.820%

ขณะที่แบงก์ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุด คือ 

  • แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่ 7.250 %
  • ไทยพาณิชย์ คิดดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ 5.845 % 
  • กสิกรไทย 5.84 %  
  • กรุงศรี 5.95 %  
  • ทีเอ็มบีธนชาต 6.15 %  
  • ทิสโก้ 6.450 %
  • เกียรตินาคินภัทร 6.45 %  
  • แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 7.250 %
  • ซีไอเอ็มบีไทย 6.850 % 

 

ส่วนการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ลูกค้ารายย่อย ชั้นดี MinimumRetailRate หรือ MRR ต่ำสุดที่คือ

  • ธนาคาร กรุงเทพ ที่ 5.95% 
  • กสิกรไทย 5.97% 
  • ไทยพาณิชย์ 5.99% 
  • กรุงศรี คิดดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 6.05% 
  • กรุงไทย ทีเอ็มบีธนชาต  6.28% 
  • ทิสโก้   6.725%
  • เกียรตินาคินภัทร 6.65% 
  • แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 7.350% 
  • ซีไอเอ็มบีไทย 7.350% 

อย่างไรก็ตาม การปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในอนาคต กนง.ระบุว่า ต้องดูจาก 3 ปัจจัย  

1. การชั่งน้ำหนักระหว่างการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย กับการดูแลเงินเฟ้อ 

2.การดูไทม์มิ่ง หรือระยะเวลาที่เหมาะสม ว่าจะปรับนโยบายการเงินเมื่อไหร่ 

3. ดูจากผลเงินเฟ้อที่มีต่อผู้ประกอบการ ประชาชน เป็นอย่างไร

     ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้น ผู้กู้ สามารถดูไว้ เพื่อใช้เปรียบเทียบ กับข้อมูลดอกเบี้ยใหม่ หาก กนง.ปรับดอกเบี้ยในอนาคตได้ เพื่อเตรียมพร้อมล่วงหน้ารับกับค่าใช้จ่ายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมได้