"บล.กสิกรไทย" มองตลาดหุ้นไทยเดือนมิ.ย. ยังผันผวน เผชิญ "6 ปัจจัยกดดัน"

"บล.กสิกรไทย" มองตลาดหุ้นไทยเดือนมิ.ย. ยังผันผวน เผชิญ "6 ปัจจัยกดดัน"

บล.กสิกรไทย มองหุ้นไทยเดือนมิ.ย. ยังเต็มไปด้วยความผันผวน เจอ 6 ปัจจัยกดดัน ได้แก่ 1.เงินเฟ้อสูง 2.นโยบายการเงินตึงตัว 3.จีนเปิดประเทศล่าช้า 4.โรคระบาดฝีดาษวานร 5.การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีข้อจำกัดจากเพดานหนี้ และ 6.ความเสี่ยงการเมืองในประเทศ

บล.กสิกรไทย ประเมินตลาดหุ้นไทยเดือนมิ.ย. ยังเต็มไปด้วยความผันผวน หลังเผชิญสารพัดปัจจัยรุมเร้า ได้แก่ 

1.) เงินเฟ้อสหรัฐและไทยที่ยังทรงตัวสูงกดดันกำลังซื้อและเศรษฐกิจ

2.) นโยบายการเงินตึงตัว ทั้งการขึ้นดอกเบี้ย และการเริ่มการทำ QT ตั้งแต่เดือน มิ.ย. แม้จะสะท้อนไปในราคาหุ้นแล้วระดับนึง แต่ยังไม่ทั้งหมด

3.) การเดินหน้าเปิดประเทศของจีนที่อาจจะล่าช้า โดยปัจจุบันจีนยังใช้นโยบาย  Zero Covid

4.) ฝีดาษวานร (Monkey pox) 

5.) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้อาจมีข้อจำกัดติดเพดานหนี้สาธารณะ 

6.) ความเสี่ยงเรื่องการเมืองในประเทศ

โดยรวม KS ยังประเมิน Upside ในการปรับขึ้นของดัชนีในช่วงนี้จำกัด หากเทียบจากดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2565 ซึ่งคาดที่ 1,650 จุด (ภายใต้สมมติฐาน EPS ที่ 106  บาทและส่วนต่างผลตอบแทนพันธบัตรกับตลาดหุ้น (EYG) ที่ -0.875SD)  

และแนวต้านทางเทคนิคที่ 1,666 จุด  แนะนำตามเดิม คือ ขึ้นมาในรอบนี้แนะนำหุ้นที่มีกำไรให้ทยอย Lock Profit หุ้นที่อยู่โซนบน และไม่เพิ่มน้ำหนักหรือไล่ราคา  โดยแนะนำลงทุนหุ้นที่อยู่โซนล่าง โดยเน้นเป็น Selective รายตัว คาดจะปลอดภัยมากกว่า อาทิ ANAN, TRUE

โดยมองกรอบการเคลื่อนไหว SET ที่ 1,610 -1,660 จุด หุ้น Top pick :   ANAN (ราคาพื้นฐาน 1.47 บาท)

1. ปรับเพิ่มคำแนะนำ ANAN จาก “ถือ” เป็น “ซื้อ” 

2. เราคาดกำไรรายไตรมาส ได้แตะจุดต่ำสุดแล้วใน 1Q22  และคาดพลิกจากการขาดทุนเป็นกำไรในช่วง 2H65  จากรายได้จากการขายและส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากโครงการคอนโดสร้างเสร็จพร้อมโอน 3 แห่ง (JV 2 แห่ง และ ANAN 1 แห่ง) มูลค่ารวม 1.55 หมื่นลบ.

3. มีคอนโดคงเหลือพร้อมขายจำนวนมากอันดับต้นเมื่อเทียบกับคู่แข็ง ซึ่งจะได้รับประโยชน์หลักจากการกลับมาของอุปสงค์คอนโด และต้นทุนทั้งหมดของโครงการคอนโดเป็นต้นทุนคงที่ ผลกระทบน้อยจากต้นทุนที่สูงขึ้น

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

- 6 มิ.ย. : ดัชนี PMI ภาคการบริการของจีนจากสถาบัน Caixin ( พ.ค.), ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานจากสถาบัน CB ของสหรัฐ (พ.ค.), เงินเฟ้อไทย เดือน พ.ค. ตลาดคาด  4.98% YoY  

- 7 มิ.ย. : ดัชนีการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่น (ปีต่อปี) (เม.ย.) ตลาดคาด -2.8% YoY, ยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานของเยอรมนี (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) ตลาดคาด -1.1% YoY,  ดุลการค้าของสหรัฐ (เม.ย.) ตลาดคาด -90.3 พันล้านดอลลาร์

- 8 มิ.ย. : GDP ญี่ปุ่นงวด 1Q22 ตลาดคาด 1.4% QoQ และ 5.6% YoY , การประชุมธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ตลาดคาดปรับขึ้นอยู่ที่ 4.8% จาก 4.4%, GDP ยุโรปงวด 1Q22 ตลาดคาด 4.6% YoY, การประชุมธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะมีการปรับคาดการณ์ GDP และเงินเฟ้อของไทย  

- 9 มิ.ย. : ยอดส่งออกและนำเข้าของจีน เดือน พ.ค., การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง (มิ.ย.) ที่เดิม -0.5%

- 10 มิ.ย. : ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีน เดือน พ.ค. ตลาดคาด 1.8% YoY, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีน เดือน พ.ค. ตลาดคาด 7.7%YoY