ผันผวนรอปัจจัยใหม่ (วันที่ 1 มิถุนายน 2565)

ผันผวนรอปัจจัยใหม่ (วันที่ 1 มิถุนายน 2565)

ตลาดหุ้นวานนี้ SET ปิดบวก 10 จุด มูลค่าการซื้อขาย หนาแน่น 9.7 หมื่นล้านบาทจากผลของ MSCI Rebalance มีผลโดยใช้ราคาปิดวานนี้ หุ้นกลุ่มน้ำมันและโรงกลั่นปรับขึ้นเด่นและเป็นกลุ่มนำตลาดรับข่าว EU แบนการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียจำนวน 2 ใน 3 ของการนำเข้าทั้งหมด

นำขึ้นโดย PTTEP+2.4%, TOP+2.7%, ESSO+4%

 

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

ประเมิน SET แกว่งตัว 1,655 - 1,675 จุด แม้ภาวะตลาดจะได้แรงหนุน Fund flow ต่างชาติที่ไหลเข้าต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวเป็นแรงกดดันหลังนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการ FED สนับสนุนให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนจนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงจะเป็นลบต่อกลุ่มพลังงานและทิศทางตลาด

 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

       GPSC BGRIM SCGP EPG sentiment บวกจากราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลง

       AOT MINT CENTEL ERW BDMS BH BEM BTS CPALL CPN CRC AMATA  อานิสงส์การเปิดประเทศ

        MFEC VCOM SECURE HUMAN INSET ITEL TKC BE8 BBIK อานิสงส์พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

 

หุ้นแนะนำวันนี้

VNG (ปิด 8.5 ซื้อ/เป้า 10.60) ผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นไม้ MDF และปาร์ติเกิล (PB) ซึ่งได้ผลบวกโดยตรงจากการคว่ำบาตรรัสเซียเพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออก PB และ OSB เบอร์ 2 ของโลก อีกทั้งตลาดส่วออกหลักอยู่ในตะวันออกกลางจึงได้ประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น

HMPRO (ปิด 14.9 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 17.5) เป็นหุ้นธีมเปิดเมืองและกลุ่มค้าปลีกที่ราคายัง Laggard ที่สุด โดย YTD ราคาหุ้น HMPRO ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงขณะที่หุ้นในกลุ่มเปิดเมืองและค้าปลีกปรับขึ้นเฉลี่ย 10% HMPRO มีสัดส่วนรายได้จากเมืองหลักและท่องเที่ยวคิดเป็น 70%ของรายได้รวม

 

 

บทวิเคราะห์วันนี้

            AH, VNG, Thailand Strategy

 

ประเด็นสำคัญวันนี้

(-) ดาวโจนส์พักตัว หลังคณะกรรมการเฟดบางรายออกมาหนุนให้เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ลดลง 223 จุด (-0.67%) ปิดที่ระดับ 32,990 จุด นักลงทุนชะลการลงทุนหลังนาย ปธน. โจ ไบเดน เรียกนายเจอ โรมพาวเวลเข้าพบเพื่อหารือเกี่ยวกับทิศทาง ศก. และเงินเฟ้ออีกทั้งยังถูกกดดันหลังจาก นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนจนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง

(-) เงินเฟ้อยูโรโซนเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์กดดัน ECB ขึ้นดอกเบี้ย: ล่าสุด EU รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 8.1% จาก 7.4% ในเดือน เม.ย. และมากกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 7.7% นับเป็นตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ปัจจัยนี้มีโอกาสสูงที่ ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและยุติโครงการ QE ในการประชุมครั้งถัดไป (9-10 มิ.ย.2022)

(+/-) จับตา OPEC+ อาจตัดรัสเซียออกและเตรียมเพิ่มปริมาณการผลิตสูงขึ้นเพื่อทดแทนรัสเซีย: ข่าวนี้สร้างความผันผวนให้กับตลาดน้ำมันทันทีเพราะในช่วงแรกของการซื้อขายราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นราว 3% รับข่าว EU คว่ำบาตรน้ำมันดิบจากรัสเซียจำนวน 2 ใน 3 ของทั้งหมด แต่ข่าวที่ OPEC+ อาจจะระงับการมีส่วนร่วมของรัสเซีย เพื่อเปิดทางให้ซาอุฯ และชาติสมาชิกเพิ่มปริมาณการผลิต ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบลดลงและพลิกปิดลบ 40 เซนต์ (-0.4%) ปิดที่ 115$/bbl