‘สศช.’เปิดข้อมูลน่าตกใจ คนไทยตายจาก ‘ควันบุหรี่มือ 2’ 6,000 รายต่อปี

‘สศช.’เปิดข้อมูลน่าตกใจ  คนไทยตายจาก ‘ควันบุหรี่มือ 2’ 6,000 รายต่อปี

สศช.เปิดข้อมูลน่าตกในคนไทยรับพิษควันบุหรี่มือสองจากสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ในบ้านเสี่ยงรับสารพิษกว่า 4,000 ชนิด สารก่อมะเร็งกว่า 50 ชนิด มีผู้เสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองที่ได้รับแบบไม่พึงประสงค์กว่า 6,000 รายต่อปี แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรณรงค์แก้ปัญหา

            วันที่ 31 พ.ค.ของทุกปีเป็นองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เป็น “วันงดสูบบุหรี่โลก” เพื่อรณรงค์ให้ทุกฝ่ายเห็นถึงภัยอันตรายของการสูบบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งผลกระทบต่อส่วนรวมในหลากหลายมิติ

            สำหรับปี 2565 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก คือ Tobacco: Threat to our environment หรือ “บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม” โดยเกี่ยวข้องวัฏจักรการผลิตยาสูบตั้งแต่การ ทำไร่ยาสูบ การบ่มใบยาสูบ ขบวนการผลิตภัณฑ์ยาสูบ วัสดุหีบห่อยาสูบ การบริโภคยาสูบ และขยะจากยาสูบ

ในแต่ละปีมีผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่เป็นจำนวน และไม่เพียงแต่คนที่สูบบุหรี่เท่านั้นแต่ควันบุหรี่ที่ประกอบไปด้วยสารพิษมากกว่า 4,000 ชนิด ส่งผลเสียต่อคนในครอบครัว และสังคมแม้ว่าจะไม่ได้สูบบุหรี่แต่ก็ได้รับอันตรายจาก “ควันบุหรี่มือสอง”

องค์การอนามัยโลก ได้ระบุว่า ควันบุหรี่มือสองส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ได้รับโดยเฉพาะในเด็ก และหญิงมีครรภ์โดยทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั่วโลกกว่า 1.2 ล้านคนต่อปี และในแต่ละปีมีเด็กกว่า 65,000 ราย ที่เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสองในที่สาธารณะ

          

 ในการแถลงข้อมูลภาวะสังคมไตรมาสที่ 1/2565 ของประเทศไทย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ "สภาพัฒน์" ได้เปิดเผยว่าจากผล สำหรับในประเทศไทยจากการสำรวจข้อมูลขององค์การ สหประชาชาติ ร่วมกับองค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย ในปี 2564 ระบุว่าในแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ที่เสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองประมาณ 6,000 ราย

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่สำรวจประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป พบว่า

23.7%  มีการสูบบุหรี่ในตัวบ้าน โดยจำนวนนี้มีการสูบในตัวบ้านทุกวันสูงถึง 67.53%

ซึ่งการสูบบุหรี่ในตัวบ้านจะส่งผลในสมาชิกในครัวเรือนได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งมีสารพิษมากกว่า 4,000 ชนิด และเป็นสารก่อมะเร็งประมาณ 50 ชนิด

 

รวมถึงบุหรี่มือสามที่ติดตามเส้นผม เสื้อผ้า ช่องแอร์ หรือเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งสารพิษจากควันบุหรี่สามารถตกค้างอยู่ภายในบ้านนานถึง 6 เดือน ท าให้เกิดการสัมผัสสารพิษซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งสร้าง การตระหนักรู้ของประชาชนถึงความอันตรายของการสูบบุหรี่ รวมถึงผลกระทบของควันบุหรี่มือสองและ มือสามซึ่งอาจเป็นการทำร้ายคนในครอบครัวหรือคนรอบตัวโดยไม่ตั้งใจ