ไต่ระดับ (ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2565)

ไต่ระดับ (ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2565)

ตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์ SET ปิดบวก 5 จุด จากแรงซื้อหุ้นในกลุ่มน้ำมัน รับข่าวราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกบวกแรง (PTTEP+3.4% และ TOP+1.8%) อย่างไรก็ตามดัชนีปรับขึ้นในกรอบจำกัดเนื่องจากมีแรงเทขายหุ้นในกลุ่ม ICT

กังวลดีลควบรวมกิจการ TRUE และ DTAC ไม่เกิดหลังการทำประชาพิจารณ์มีหลายภาคส่วนแสดงความไม่เห็นด้วย

 

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

ประเมิน SET ปรับตัวขึ้นแนวต้าน 1,645 - 1,650 จุด ตอบรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วหลังดัชนีราคาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐเดือนเม.ย.ชะลอตัวลงส่งผลให้ FED สามารถชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ประกอบกับแรงหนุนกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นซึ่งเป็นบวกต่อทิศทางการลงทุน

30 – 31 พ.ค.ติดตามการประชุม EU ในการทำข้อตกลงคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย

 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

         PTTEP TOP IVL SPRC BCP BANPU ราคาน้ำมันดิบ+ค่าการกลั่น+ ถ่านหิน ทรงตัวระดับสูง

         AOT MINT CENTEL ERW BDMS BH BEM BTS CPALL อานิสงส์การเปิดประเทศ

        หุ้นเข้า MSCI มีผล 31 พ.ค. Global Standard Index  JMT / Global Small Cap  ASK, BYD, DITTO, FORTH, KEX, PSG, SABUY, STGT, STARK, VIBHA

 

หุ้นแนะนำวันนี้

TOP (ปิด 57 ซื้อ/เป้า 63 บาท) คาดความต้องการใช้น้ำมันดิบและสำเร็จรูปในภูมิภาคเพิ่มขึ้นหลังจากจีนเตรียมคลายล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้ 1 มิ.ย. นี้ และเตรียมคลายล็อกกรุงปักกิ่งบางส่วน เป็นบวกต่อทิศทางราคาน้ำมันดิบและค่าการกลั่น

CPALL (ปิด 65 ซื้อ/เป้า 77 บาท) ได้ประโยชน์เปิดเรียน, รัฐเปิดสถานบันเทิงเริ่ม 1 มิ.ย. และเดินหน้าเปิดประเทศคาดหนุนยอดขายของ 7-11 เพิ่มขึ้นทั้งสาขาใหม่และสาขาเดิม เดินหน้าเปิดสาขาใหม่ 700 สาขาคาดปลายปีเข้าใกล้ 14,000 สาขา

 

 

 

บทวิเคราะห์วันนี้

        BCH (ปิด 19 ถือ/เป้าใหม่ 23.6 เดิม 23.1 บาท)

 

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+)  คาดหวังเงินเฟ้อสหรัฐผ่านจุดสูงสุดมาแล้วหลังดัชนี PCE Price Index เริ่มปรับตัวลง: ดัชนีการใช้จ่ายของผู้บริโภค (PCE Price Index) ซึ่งเป็นตัวแทนเงินเฟ้อของเฟดเริ่มปรับตัวลง โดย PCE Price Index เดือน เม.ย. ลดลงสู่ระดับ 6.3% จาก 6.5% ในเดือน มี.ค. และ Core PCE Price Index ลดลงสู่ระดับ 4.9% จาก 5.2% ในเดือน มี.ค.ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าเงินเฟ้อสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว

(+/-) ยอดส่งออกเดือน เม.ย.ของไทยยังขยายตัวแต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้: กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออกเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 9.9%yoy แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 14.5%yoy และเมื่อหักทองคำและน้ำมันยอดส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 6.9%yoy  เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดจีนหดตัว 7.2% อันเป็นผลกระทบจากมาตรการ Zero Covid

(+/-) ปัจจัยที่ต้องติดตาม อาทิ EU Meeting, เชี่ยงไฮ้คลายล็อกดาวน์ และ OPEC+ meeting: สหภาพยุโรปจะจัดประชุมสุดยอดในวันที่ 30-31 พ.ค. เพื่อลงมติแบนการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซีย ขณะที่ 1 มิ.ย.ติดตามว่าเชี่ยงไฮ้จะคลายล็อกดาวน์เต็มรูปแบบได้หรือไม่ และในวันที่ 2 มิ.ย.ติดตามการประชุมของกลุ่ม OPEC+ คาดคงปริมาณการผลิตที่ระดับ 432,000 บาร์เรลต่อวันตามเดิมเป็นบวกต่อราคาน้ำมันดิบ