กทม.เร่งสรุปโมโนเรลสายสีเทา เตรียมเสนอ "ชัชชาติ" เคาะลงทุน

กทม.เร่งสรุปโมโนเรลสายสีเทา เตรียมเสนอ "ชัชชาติ" เคาะลงทุน

กทม. เร่งสรุปผลโมโนเรลสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ เคาะงบลงทุน 2.7 หมื่นล้านบาท เตรียมเสนอ “ชัชชาติ” ดันโครงการเข้า ครม.ปีหน้า ปักธงเปิดประมูล 2567

นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาสรุปผลการศึกษา(สัมมนาปัจฉิมนิเทศโครงการ) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ โดยระบุว่า การสัมมนาครั้งนี้เพื่อนำเสนอผลการศึกษาข้อมูลโครงการด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์การเงินการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรูปแบบความเหมาะสมด้านการลงทุนโครงการ ที่มีความเหมาะสม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี หลังการสัมมนาครั้งนี้ กทม.จะดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการ เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาและให้ความเห็นชอบ จากนั้นนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในปี 2566 ส่วนขั้นตอนการจัดทำเอกสารร่วมลงทุนและคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าจะใช้จะเริ่มได้ภายในปี 2567 - 2568 จากนั้นขั้นตอนการก่อสร้างและทดสอบระบบใช้เวลาประมาณ 4 ปี ระหว่าง ปี 2569-2572 เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2573

กทม.เร่งสรุปโมโนเรลสายสีเทา เตรียมเสนอ \"ชัชชาติ\" เคาะลงทุน

สำหรับกรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีแนวคิดจะนำโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการศึกษาของ กทม.มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปดำเนินการพัฒนาและบริหารจัดการ ซึ่งส่วนหนึ่งมีโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทาด้วยนั้น กทม.ยืนยันว่าขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทายังอยู่ในขั้นตอนศึกษาความเหมาะสม และจะเสนอให้ผู้ว่าราชการฯ เป็นผู้พิจารณา โดย กทม.จะทำหน้าที่ศึกษารายละเอียดให้แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือก็เป็นไปตามนโยบาย

ทั้งนี้รายละเอียดผลการศึกษา โครงการมีแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นจากบริเวณทางเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามถนนประดิษฐ์มนูธรรมฝั่งทิศทางขาออก โดยวางโครงสร้างบนทางเท้าและทางจักรยานข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก

ประกอบกับแนวเส้นทางยังคงมุ่งหน้าลงทางทิศใต้ ข้ามถนนลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีฉลองรัชผ่านถนนประชาอุทิศ และข้ามทางพิเศษศรีรัชที่แยกพระราม 9- ประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีพระราม 9 จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางของถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่ถนนทองหล่อ จนกระทั่งมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 55 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีทองหล่อ รวมระยะทางทั้งหมด 16.3 กิโลเมตร

กทม.เร่งสรุปโมโนเรลสายสีเทา เตรียมเสนอ \"ชัชชาติ\" เคาะลงทุน

โดยโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเทา จะประกอบด้วยสถานีจำนวน 15 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อยู่ที่บริเวณสถานีวัชรพลและมีการออกแบบสถานีรถไฟฟ้า แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1.ชานชาลากลาง บนโครงสร้างโครงข้อแข็ง เป็นสถานีที่ชานชาลาอยู่ตรงกลาง ขนาบด้วยรางรถไฟทั้ง 2 ข้าง ใช้กับสถานีต้นทางและปลายทาง จำนวน 2 สถานี

2.ชานชาลาข้าง รองรับด้วยเสาเดี่ยว เป็นสถานีที่ชานชาลาแยกเป็น 2 ข้าง ตรงกลางเป็นรางรถไฟ 2 รางที่อยู่ติดกัน ใช้กับสถานีที่อยู่ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม จำนวน 10 สถานี

3.ชานชาลาข้าง บนโครงสร้างโครงข้อแข็ง เป็นสถานีที่ชานชาลาแยกเป็น 2 ข้าง แต่มีขนาดแคบกว่า 2 รูปแบบข้างต้น เพื่อให้สามารถตั้งบนถนนในซอยทองหล่อได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างโดยรอบ จำนวน 3 สถานี

ขณะที่รูปแบบของการพัฒนาโครงการ มีรูปแบบการพัฒนาเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็วเฉลี่ยในการเดินรถ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป – กลับ 62 นาที สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 8,000 - 20,000 คนต่อชั่วโมง โดยจากการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2573 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้บริการ จำนวน 97,000 คน-เที่ยวต่อวัน

นอกจากนี้โครงการได้ดำเนินการวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนและเอกชนที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1.PPP Net Cost เอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐ

2.PPP Gross Cost ภาครัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการแก่เอกชน

3.PPP Modified Gross Cost ภาครัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้และเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทน จ่ายค่าตอบแทนพิเศษ หากเอกชนดำเนินการดีกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจากการให้บริการแก่เอกชน

กทม.เร่งสรุปโมโนเรลสายสีเทา เตรียมเสนอ \"ชัชชาติ\" เคาะลงทุน

สำหรับผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น จะใช้การร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐ ในระยะเวลา 30 ปี และเพื่อจูงใจภาคเอกชนร่วมลงทุน ทีมที่ปรึกษานำเสนอความเป็นไปได้ที่จะมีการกำหนดมาตรการส่งเสริมให้เอกชน เช่น ภาครัฐช่วยลงทุนงานโยธา

ทั้งนี้ ผลการศึกษาความเหมาะสมของค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายของโครงการ พบว่ามูลค่าการลงทุนในช่วงก่อสร้างจะรวมอยู่ที่ 27,884 ล้านบาท แบ่งเป็น คค่าตอบแทนและชดเชยการใช้ที่ดิน 2,052 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 23,101 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 5,277 ล้านบาท ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 3,300 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม 100 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง 841 ล้านบาท ค่าออกแบบ 462 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำรอง (Provisional Sum)  รวมภาษี 1,328 ล้านบาท