บล.กสิกรไทย ชู 5 ธีมน่าลงทุนรับมือตลาดหุ้นผันผวน

บล.กสิกรไทย ชู 5 ธีมน่าลงทุนรับมือตลาดหุ้นผันผวน

บล.กสิกรไทย มองตลาดหุ้นในช่วงที่เหลือของเดือนนี้จะแกว่งตัวไซด์เวย์ อาจเห็นการรีบาวด์ได้ในบางช่วง มองแนวต้านสำคัญ SET Index ที่ 1,630 จุด แนวรับ1,585 จุด แนะนำติดตามการรายงานผลประชุมเฟดเพื่อจับสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย พร้อมชู 5 ธีมน่าลงทุนรับตลาดผันผวน

บล.กสิกรไทย คาดตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า (23-27 พ.ค.) จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,585 - 1,610 จุด ทั้งนี้มองว่าตลาดหุ้นโลกในช่วงที่เหลือของเดือนนี้จะยังเป็นลักษณะแกว่งตัว Sideway แต่อาจจะเห็นการ Rebound ในบางช่วงได้เนื่องจากปัจจัยลบใหม่ยังไม่มี

ส่วนปัจจัยลบเดิมเชื่อว่าได้ตอบรับไปในดัชนีระดับนึงแล้ว ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังมีการปะทะกันเป็นระยะ ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น แต่เชื่อว่าตลาดหุ้นเริ่มจะชินกับปัจจัยดังกล่าว คล้ายกับสมัยที่เกิด Tradewar ระหว่างสหรัฐ-จีนในปี  2018-2019  

ส่วนประเด็นเรื่อง Fed ประเมินว่าปัจจุบันตลาดเชื่อว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุม 3 ครั้งถัดไป (ลดลงจากเดิมคาด 0.75%) และอัตราดอกเบี้ยสิ้นปีของสหรัฐจะอยู่ที่ 2.75-3% มองว่าเงินเฟ้อสหรัฐได้ผ่านจุด  Peak ไปแล้วจะค่อยๆ ปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ อยากให้รอติดตามรายงาน Fed Minutes ในวันที่ 26 พ.ค. นี้ ว่าจะออกมาในโทนใด หากออกมาไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น

ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่คาดจะมีผลต่อ Sector อาทิ 

1.) อินโดนีเซียยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มแล้ว มีผล 23 พ.ค. KS ประเมินผลกระทบดังนี้ 

- ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปาล์มจะได้รับผลกระทบ หลังรัฐบาลมีนโยบายปรับลดส่วนผสม B100 ในน้ำมันดีเซล ทำให้โรงกลั่นน้ำมันปาล์มต้องลดการใช้กำลังการผลิตลงลบ (-) ต่อผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม อาทิ  GGC, BCP, PTG, EA 

- ส่งผลกระทบในเชิง sentiment ลบต่อ TVO แต่ผลกระทบด้านทางพื้นฐานจะจำกัด   

2.) เหตุระเบิดที่โรงกลั่นน้ำมันใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลกในเกาหลีใต้ (Onsan Refinery)  KS ประเมินแม้ยังไม่ทราบกำหนดการที่ชัดเจน แต่มองจะช่วยหนุน Gasoline crack spread ให้ยืนสูงต่อ (ล่าสุด USD30/bbl) เป็นบวกกับกลุ่มโรงกลั่น โดยเฉพาะ SPRC, TOP

ด้านปัจจัยในประเทศ

ล่าสุดผู้ว่าฯ ธปท.นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ แสดงความเห็นว่าไทยยังไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐ  ปัจจุบันดอกเบี้ยไทยอยู่ที่ 0.5% โดย KS คาดอัตราดอกเบี้ยไทยจะขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยสหรัฐและไทยยังกว้าง หนุนทิศทางเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ ส่งผลบวกต่อหุ้นส่งออก อาทิ ASISN, CPF, GFPT, CBG ฯลฯ

ประเด็นในประเทศในช่วงนี้ที่ต้องติดตาม  

1.) การประชุม ศบค. มีมติปรับพื้นที่โซนสีจังหวัดให้มาตรการผ่อนคลายลง และพิจารณาเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์  KS ประเมินเป็นการเพิ่ม Night acitivities ถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มร้านอาหาร (M, ZEN) กลุ่มค้าปลีก  อาทิ CPALL, กลุ่มท่องเที่ยวโรงแรม SHR, DUSIT, MINT, CENTEL ฯลฯ

2.) ติดตามผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 11 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 22 พ.ค.

กลยุทธการลงทุน

KS ประเมิน SET Index มีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,630 จุด ประเมินแนวโน้มการ Rebound รอบนี้จะแกว่งตัวลง (Sideway down) ส่วนแนวรับสำคัญรอบนี้ประเมินอยู่ที่ 1,585 จุด   

โดยในช่วงตลาดผันผวนแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่ม Defensive และมีปัจจัยบวกหนุน อาทิ 

1.) กลุ่มเปิดเมือง อาทิ BEM, CENTEL,OR, PTG, D, AMATA  

2.) กลุ่ม Growth เก็งกำไรเน้น Rebound อาทิ  SINGER, BE8 

3.) กลุ่ม Defensive อาทิ BH, BDMS,  ADVANC, AP 

4.) กลุ่มโรงกลั่น แนะนำ SPRC    

5.) กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าและได้ประโยชน์จากจีนเปิดประเทศ  อาทิ CPF, GFPT, CBG

ส่วนกลุ่มที่ยังคงแนะนำชะลอการลงุทุนในช่วงนี้  คือ กลุ่มปิโตรเคมี, อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์

หุ้น Top pick

CPN (ราคาพื้นฐาน 66.5 บาท) เนื่องจาก 1.) มีการแถลงแผนลงทุนวงเงิน 1.2 แสนล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อเพิ่มโครงการในมือเป็น 186 โครงการ สร้างความเชื่อมั่นการเติบโต  2.) ยังได้กระแสบวกการการเดินหน้าเปิดเมืองเปิดประเทศหนุน จำนวนผู้เดินห้างสรรพสินค้าโดยรวมของ CPN ในไตรมาส 1/2565 อยู่ระดับ 70% ต้นๆ ใกล้เคียงเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 โดย CPN สามารถปรับลดอัตราส่วนลดค่าเช่าเฉลี่ยที่เสนอให้ผู้เช่าลงเป็น 16%  3.) มี upside risk ต่อประมาณการของเราจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากกำลังซื้อที่สูงของลูกค้ากลุ่มนี้  

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

-23 พ.ค. : ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีจากสถาบัน Ifo ( พ.ค.) เดือน ตลาดคาด 89.1 จุด จาก 91.8 จุด ในเดือน เม.ย.

-24 พ.ค. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตของเยอรมนี (พ.ค.) ตลาดคาด คาด 54 จุด จาก 54.6 จุด ในเดือน เม.ย., ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยุโรป  ( พ.ค.) ตลาดคาด คาด 55 จุด จาก 55.5 จุด ในเดือน เม.ย., ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐ (พ.ค.) ตลาดคาด คาด 58.2 จุด จาก 59.2 จุด ในเดือน เม.ย., ยอดขายบ้านใหม่ (เม.ย.) ตลาดคาด คาด 7.58 แสนหลัง  จาก 7.63 แสนหลัง  ในเดือน มีค.

-25 พ.ค. : การประชุมธนาคารนิวซีแลนด์ คาดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% อยู่ที่ 2%, ดัชนีจีดีพี (GDP) ของเยอรมนี ตลาดคาด 0.2%QoQ และ 4%YoY ติดตามยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) ตลาดคาด 0.6% MoM จาก 1.2% ในเดือน มี.ค.

-26 พ.ค. : รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC), การประชุมธนาคารเกาหลีใต้ คาดปรับลดดอกเบี้ย 0.25% อยู่ที่ 1.25%, ดัชนีจีดีพีสหรัฐ (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 1) ตลาดคาด -1.4%QoQ, ยอดขายบ้านที่รอการปิดการขาย (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) ตลาดคาด -1.6%MoM

-27 พ.ค. : ติดตามดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) ตลาดคาด 0.3%MoM, ดัชนีการใช้จ่ายส่วนบุคคล (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) ตลาดคาด 0.7%MoM, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครัฐมิชิแกน ( พ.ค.) คาด 59.1 จุด