ธุรกิจยา-เครื่องมือแพทย์ โอกาสที่มาพร้อม 'โควิด'

ธุรกิจยา-เครื่องมือแพทย์  โอกาสที่มาพร้อม 'โควิด'

การเติบโตของตลาดยาในประเทศน่าจะเป็นโอกาสของผู้ผลิต/ นําเข้ายาจากต่างประเทศเป็นหลักได้เนื่องจากมูลค่าตลาดยากว่า 70% ของมูลค่าตลาดยาทั้งหมดเป็นการนําเข้าจากต่างประเทศ ภาพรวมตลาดยา ปี 2565 มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทและมีแนวโน้มโต 3-5%

การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลดีต่อ อุตสาหกรรมยา ธุรกิจ Healthcareซึ่งมีแนวโน้มเติบโตเห็นได้จาก ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมดของผู้บริโภคกว่า 30-40% เป็น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับยาโดยมูลค่าการนําเข้ายาของไทยในปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 13.0% จากปี 2563 เป็นผลมาจากการนําเข้า ยาเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 คาดว่าหลังจากประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคประจําถิ่นแล้วจะมีคนไข้ที่รักษาโรคทั่วไปและคนไข้ต่างชาติ กลับมาใช้บริการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นประกอบกับไทยเข้าสู่สังคม สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปีนี้จะส่งผลให้มีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มขึ้นด้วยคาดว่าจะทําให้มูลค่าตลาดยาในประเทศ ปี 2565 อยู่ที่ 2.33-2.38 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 3.0-5.0% เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่ขยายตัว 2.5%

โควิด-19 ที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นทั้งวิกฤติและโอกาส ว่ากันว่า การเติบโตของตลาดยาในประเทศน่าจะเป็นโอกาสของผู้ผลิต/ นําเข้ายาจากต่างประเทศเป็นหลักได้เนื่องจากมูลค่าตลาดยากว่า 70% ของมูลค่าตลาดยาทั้งหมดเป็นการนําเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปี 2564 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 13.0% จากภาพรวมตลาดยา ปี 2565 มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทและมีแนวโน้มโต 3-5% ดังนั้น หากไทยสามารถทําการตลาดให้ประชาชนคนไทยหันมาใช้ยา ที่ผลิตในประเทศมากขึ้นโดยอาจจะเริ่มจากยาชื่อสามัญที่ไทย พอจะมีศักยภาพในการผลิตได้โดยเน้นไปที่กลุ่มเฉพาะยาที่ใช้ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่จะพึ่งพิงสวัสดิการรักษาพยาบาลของ ภาครัฐเป็นหลัก ดูจากเม็ดเงินค่าใช้จ่ายสําหรับยาต้นตํารับ (Original Drugs) ต่อยาชื่อสามัญ (Generic Drugs) มีสัดส่วน ประมาณ 45 : 55 ของค่าใช้จ่ายยาในประเทศทั้งหมด

ความต้องการยาและอุปกรณ์การแพทย์ในช่วงสถานการณ์ ที่ต้องอยู่ร่วมกับ “โควิด-19” อย่างไรให้ปลอดภัย ทุกประเทศ ใกล้เคียงกันรวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถ พึ่งพาตนเองได้ และเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้องกับโควิด-19 หลายประเทศ จึงมีมาตรการงดภาษี สินค้านําเข้าที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 รวมถึงประเทศไทยด้วย เช่น ยา เครื่องมือแพทย์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นโอกาสของ ผู้ประกอบการต่างๆ ถือว่าเป็นโอกาสในการนําสินค้าเข้ามาเพิ่มขึ้น มีผู้ประกอบการและสินค้าใหม่มากขึ้นจึงเป็นโอกาสที่หน่วยงาน ภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะผลักดันให้อุตสาหกรรมยา เครื่องมือแพทย์ของไทยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถแข่งขัน ได้ในช่วงที่ “โควิด-19” กําลังจะเป็นโรคประจําถิ่นในอนาคต อันใกล้นี้

ประกอบการปรับมาตรฐานร้านยาให้เป็นไปตามมาตรฐาน ของการบริการที่ดีทางเภสัชกรรม หรือ Good pharmacy practice (GPP) เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการใช้ยาของ ประชาชนร้านยาประเภทขย.2ประมาณ 1,000 แห่งต้องจ้างเภสัชกร ประจําร้านยาซึ่งในอนาคตจะมีบริการเทเลเมดิซีนหรือให้บริการ ออนไลน์ต่างๆ เพิ่มขึ้นนับเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง คาดว่าจะมี นักลงทุนสนใจในตลาดนี้มากขึ้น