บล.กสิกรไทย ชี้ 3 ปัจจัยกดดันตลาดหุ้น "แรงถล่มขายคริปโท-เฟดขึ้นดอกเบี้ย-ศก.ถดถอย"

บล.กสิกรไทย ชี้ 3 ปัจจัยกดดันตลาดหุ้น "แรงถล่มขายคริปโท-เฟดขึ้นดอกเบี้ย-ศก.ถดถอย"

บล.กสิกรไทย มองตลาดหุ้นช่วงครึ่งหลังเดือนพ.ค. ยังเต็มไปด้วยความผันผวน ท่ามกลางสารพัดปัจจัยลบ ทั้งแรงเทขายในตลาดคริปโทฯ เฟดขึ้นดอกเบี้ย ภาวะเศรษฐกิจถดถอย มองกรอบการเคลื่อนไหว 1,550-1,585/1,600 จุด แนะนำเก็งกำไร MTC และ BE8  

บล.กสิกรไทย ประเมินในช่วงที่เหลือของเดือน พ.ค. ภาพความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ จะยังมีอยู่และน่าจะแกว่งตัวในทิศทางลง (Sideway Down) เนื่องจากขณะนี้ยังไม่เห็นปัจจัยบวกที่จะทำให้หุ้นกลับตัวเป็นขาขึ้นชัดเจน  

 

โดยปัจจัยลบที่จะยังกดดันตลาดหุ้นหลักๆ ได้แก่        

- Sentiment ลบจากตลาด Crypto Currency ในช่วงนี้ที่ราคาปรับลงแรง ทั้ง Bitcoin ฯลฯ ประเมินเบื้องต้นคาดนักลงทุน ทั้ง Hedge fund ฯลฯ จะมีการปรับพอร์ตทั้งหุ้นและสินทรัพย์ต่างๆ

 

- ผลกระทบจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เดินหน้าทำ QT และขึ้นดอกเบี้ยทำให้เกิดการ Derate PER รวมถึง Real yield เป็นบวก ตามที่ KS นำเสนอมาตลอดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันตลาดหุ้นโลก

- ความกังวลเศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) หลังจากคาดการณ์โอกาสความน่าจะเป็น Probability เพิ่มขึ้น อาทิ

  • ยุโรป Bloomberg คาด Prob อยู่ที่ 35%
  • ญี่ปุ่น Prob อยู่ที่ 30%
  • สหรัฐ Prob อยู่ที่ 25%
  • ไทย Prob อยู่ที่ 10% 

โดยรวม KS คาดสหรัฐจะยังไม่เกิด Recession ในปีนี้  เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน

ระยะถัดไป KS ประเมินเม็ดเงินคาดจะไหลกลับมาพักที่พันธบัตร สะท้อนจาก Bond Yield สหรัฐยังคงปรับลง ทั้งนี้ทิศทาง Bond Yield ที่ลง KS มองบวกต่อกลุ่มการเงินเช่าซื้อ (MTC, SAWAD, TIDLOR, MICRO) และในระยะถัดจะทำให้  Earning Yield Gap มีแนวโน้มกว้างขึ้น และทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวในระยะถัดไป

อย่างไรก็ตาม KS ประเมินว่าหลังจากนี้ตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักถ้อยแถลงของคณะกรรมการ (Fed) ว่าจะมีมุมมองต่อทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐในช่วงที่เหลือของปีนี้อย่างไร  (โดยเฉพาะการประชุมรอบเดือนมิ.ย. ผลสำรวจในตลาด Consensus ยังให้น้ำหนักสูงจะขึ้น 50bps, ประชุมรอบเดือน ก.ค. และ ก.ย. คาดขึ้น 50bps)  

หากคณะกรรมการ (Fed) มีการส่งสัญาณขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 50bps ตลาดจะปรับลง แต่หากขึ้น 50bps ประเมินว่าหุ้นโลกมีแนวโน้ม Rebound ในช่วงสั้น

 

ด้านปัจจัยในประเทศประเด็นสำคัญ คือ

- MSCI ประกาศหุ้นเข้า/ออก ในการคำนวณดัชนีปรับน้ำหนัก (Effective) วันที่ 31 พ.ค. 65 ดังนี้

MSCI Global Standard Index 

หุ้นเข้า : JMT 

หุ้นออก : STGT,  

MSCI Global Small Cap 

หุ้นเข้า : ASK, BYD, DITTO, FORTH, KEX, PSG, SABUY, STGT, STARK, VIBHA  

หุ้นออก : EASTW, JMT  KS

ประเมินอาจจะมีแรงเก็งกำไรในหุ้นที่เข้า MSCI Small Cap 

กลยุทธการลงทุน

ประเมินตลาดหุ้นไทยหลังจากนี้กรอบการลงทุนจะอยู่ที่ 1,550-1,585/1,600 จุด รอการแสดงความเห็นคณะกรรมการ Fed โทนจะออกมาอย่างไร คำแนะนำลงทุนหุ้นในช่วงนี้

แนะนำในหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า อาทิ  ASIAN, SAPPE และหุ้นกลุ่ม Defensive อาทิ BH, BDMS ADVANC, AP และเก็งกำไร MTC, BE8  

ส่วนกลุ่มที่ยังคงแนะนำชะลอการลงุทุนในช่วงนี้  คือ 

  1. กลุ่มปิโตรเคมี, อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์
  2. หุ้นกลาง-เล็กที่ PE สูง

Top pick   

- MTC (ราคาพื้นฐาน 61 บาท) มองว่ามูลค่าหุ้น MTC ปัจจุบันค่อนข้างถูก โดยหุ้น MTC ซื้อขายที่ PBV ปี 2565 ที่ 3.3 เท่า หรือเท่ากับ  2.5SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV ในอดีต ขณะที่โมเมนตัมของกำไรมีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาสต่อๆ ไป รวมถึง NPL คาดว่าจะคงที่มากขึ้นหรือลดลงในไตรมาส 2-3/2565 ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้น

- BE8 (ราคาพื้นฐาน 48.50 บาท) รายงานกำไร 1Q65 ที่ 24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น9% QoQ และ39%% YoY ยังคงมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานของ  BE8 เนื่องจากงานในมือที่รอดำเนินการในปี 2565 และโครงการใหม่ที่มีศักยภาพซึ่งมีมูลค่ารวม 570 ล้านบาท และมีมุมมองที่เป็นบวกต่อแผนการเข้าซื้อกิจการของ BE8

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

-16 พ.ค. : การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ของจีน (Fixed Asset Investment) (ปีต่อปี) (เม.ย.) ตลาดคาด  7%YoY จาก 9.3%YoY ในเดือน มี.ค., ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน (ปีต่อปี) (เม.ย.) ตลาดคาด 0.3%YoY จาก 5%YoY ในเดือน มี.ค., ดัชนีภาคการผลิตเขตรัฐนิวยอร์ก ( พ.ค.) ตลาดคาด  15.5 จุด จาก 24.6 จุด ในเดือน เม.ย.

-17 พ.ค. : อัตราการว่างงานอังกฤษ (มี.ค.) ตลาดคาด 3.8%YoY ทรงตัวจาก ในเดือน ก.พ., ดัชนีจีดีพีของยุโรป (ปีต่อปี) (ไตรมาส 1) ตลาดคาด 5%YoY ทรงตัวจาก ไตรมาสที่ 4, ดัชนียอดขายปลีก (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) ตลาดคาด 0.7%MoM, ดัชนีภาคการผลิตอุตสาหกรรมของสหรัฐ  (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) ตลาดคาด 0.4%MoM   

-18 พ.ค. : ดัชนีจีดีพีของญี่ปุ่น (ปีต่อปี) (ไตรมาส 1) ตลาดคาด -1.8%YoY จาก 4.6%YoY ในไตรมาสที่ 4, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของอังกฤษ (ปีต่อปี) (เม.ย.), ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยุโรป  (ปีต่อปี) เดือน เม.ย. คาด 5%YoY ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า, รายงานจำนวนใบอนุญาตก่อสร้าง สหรัฐ (เม.ย.)ตลาดคาด 1.81 ล้านหลัง จาก 1.87 ล้านหลัง ในเดือน มี.ค.

 -19 พ.ค. : การเปลี่ยนแปลงในการจ้างงาน (Employment Change) (เม.ย.) ตลาดคาด  4 หมื่นตำแหน่ง จาก 1.79 หมื่นตำแหน่งในเดือน มี.ค., ดัชนีภาคการผลิตจากธนาคารกลางรัฐฟิลาเดลเฟีย ( พ.ค.)ตลาดคาด   17.2 จุด จาก 17.6 จุด ในเดือน เม.ย., ยอดขายบ้านมือสอง (Existing Home Sales) (เม.ย.) ของสหรัฐ ตลาดคาด  5.65  ล้านหลัง จาก 5.77 ล้านหลัง ในเดือน มี.ค.

 -20 พ.ค. : ดัชนียอดขายปลีกของอังกฤษ (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.), ดัชนีผู้ผลิต (PPI) เยอรมนี (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.)