ผ่าแผน 'LTR วีซ่า' ขจัดอุปสรรคเกณฑ์-กฎหมาย

ผ่าแผน 'LTR วีซ่า'  ขจัดอุปสรรคเกณฑ์-กฎหมาย

เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 (ศบศ.) ได้เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.)

เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 (ศบศ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานได้เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.)

โดยคณะกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนนโยบายการดึงดูดชาวต่างชาติศักยภาพสูงในกลุ่มที่เป็นนักธุรกิจ นักลงทุน แรงงานที่มีทักษะสูงเข้ามาทำงานและอู่อาศัยระยะยาวในประเทศไทย ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้เห็นชอบการให้ วีซ่าสำหรับผู้พำนักระยะยาว (Long-term residentvisa) หรือ “LTR” ที่มีอายุ 10 ปี และตั้งเป้าว่าจะมีชาวต่างชาติในกลุ่มนี้มาอาศัยในประเทศไทยประมาณ 1 ล้านคนในระยะเวลา 5 ปี

สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่ ครม. ปรับหลักเกณฑ์การดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa :LTR Visa) โดยการขยายเวลา และ ลดค่าธรรมเนียมนั้นเป็นสิ่งที่ดี และ เชื่อว่าจะช่วยเสริมและดึงดูด การลงทุนมาที่ประเทศไทยได้ 

ในส่วนนี้ ภาคเอกชนได้มีการหารือ ใน เวที ศบศ มาระยะหนึ่งแล้ว โดย หอการค้าฯ ได้รับฟังจาก นักธุรกิจต่างชาติ และ หอการค้าต่างประเทศ เชื่อว่า เป้าหมาย 1 ล้านคนนั้นเป็นไปได้ 

 

ผ่าแผน \'LTR วีซ่า\'  ขจัดอุปสรรคเกณฑ์-กฎหมาย

ทั้งนี้ประเทศไทย มีความน่าสนใจให้คนมาทำการค้า ทำการลงทุน อยู่แล้ว ยิ่งปีนี้ เราใช้โอกาสจากการเป็น เจ้าภาพความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ช่วยประชาสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่นและโชว์ศักยภาพความพร้อมของประเทศ ในการหานักลงทุนเข้ามาในประเทศ ซึ่งหากรัฐบาลมีการช่วยสนับสนุน และแก้เงื่อนไขต่างๆ แบบนี้เยอะขึ้น ก็จะช่วยให้เศรษฐกิจ กลับมา และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ได้แน่นอน

แหล่งข่าวยังกล่าวถึงความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย ที่ ครม.เห็นชอบในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างให้แต่ละกระทรวงจัดทำกฎหมายลูกหรือออกประกาศกฎกระทรวงให้สอดคล้องกับมติ ครม. โดยในส่วนการอนุญาตให้คนต่างด้านเดินทางเข้าประเทศไทย ตามเกณฑ์วีซ่า LTR ของกระทรวงมหาดไทยจะมีผลบังคับใช้หลังเดือน พ.ค.  เช่นเดียวกับการรับรองคุณสมบัติของคนต่างชาติที่ได้รับคุณสมบัติของคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิวีซ่า LTR

หลังจากที่ได้มีการนำเอามาตรการนี้ไปโรดโชว์ระหว่างการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นของสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อเดือนที่ผ่านมาและรับฟังความเห็นจากนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศพบว่าแม้จะมีมาตรการวีซ่า LTR ก็ยังต้องมีนโยบายสนับสนุนอื่นๆ รวมทั้งมีการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนอื่นๆที่ต้องมีความคล่องตัวในการอนุมัติสั่งการจึงได้มีการเสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการเฉพาะขึ้นจึงนำมาสู่การพิจารณาให้ตั้ง คสดช.ขึ้นมารับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ

 

รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมครม. เมื่อ10 พ.ค. 2565  ว่า ครม.เห็นชอบปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (LTR Visa) ให้มีความครอบคลุมและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ตามที่บีโอไอเสนอ

โดยให้เข้ามาพำนักหรือทำงานในไทยระยะยาว 1ล้านคน ใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่กลุ่มประชาคมโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และ กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญ

โดยออกเป็นร่างระเบียบและร่างประกาศ รวม 3 ฉบับ คือ1.ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน พ.ศ.2540 เช่นผู้พำนักระยะยาวและผู้ติดตามบุคลากรกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศมีสิทธิใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าฯ แบบเบ็ดเสร็จ

2. ร่างประกาศ สกท. เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษเช่นผู้ยื่นคำขอกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ต้องแสดงกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 5 หมื่นดอลลาร์ มีระยะเวลาคุ้มครองคงเหลือไม่น้อยกว่า 10 เดือน หรือเงินฝากในบัญชี ไม่น้อยกว่า1 แสนดอลลาร์ ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง ต้องแสดงหลักฐานการมีรายได้ส่วนบุคคลขั้นต่ำ เช่น มีรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 8 หมื่นดอลลาร์ต่อปี ในระยะเวลา 2 ปีกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญ ต้องแสดงสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการกับกิจการในประเทศ หรือกับกิจการในต่างประเทศกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญ ต้องแสดงหลักฐานการมีประสบการณ์การทำงาน ในอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 5 ปี ในห้วงระยะเวลา 10 ปี เป็นต้นและ3. ร่างประกาศ สกท. เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) เช่นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรอง ในอุตสาหกรรมเป้าหมายมีการลงทุนไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานการผลิต หรือบริการ หรือในบริษัทเงินร่วมลงทุนเป็นต้น