สถาบันป๋วยฯชี้ธุรกิจรายเล็ก ใช้ดิจิทัลต่ำ สวนทางยอดใช้อีเพย์เม้นท์พุ่ง

สถาบันป๋วยฯชี้ธุรกิจรายเล็ก ใช้ดิจิทัลต่ำ สวนทางยอดใช้อีเพย์เม้นท์พุ่ง

สถาบันป๋วยฯ เปิดผลศึกษา การใช้ดิจิทัลของธุรกิจรายย่อย-ขนาดเล็ก พบทักษาใช้ดิจิทัลต่ำ เพียง40% สวนทางการทำธุรกรรมการเงินผ่านออนไลน์พุ่ง

       สถาบันป๋วยฯเปิดผลศึกษาทักษะการเข้าถึงดิจิทัลของธุรกิจ 
ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ถึงศักยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยและธุรกิจขนาดเล็กได้
      ล่าสุด มีการจัดงาน PIER Research Brief บนหัวข้อ “ทำความเข้ามใจศักยภาพการแข่งขันของ MSMEs ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการชี้วัดทักษะด้านดิจิทัลและรัดบการเปลี่ยนด้านดิจิทัล ของธุรกิจรายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก 

      “ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น” คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บรรยาย กล่าวว่า สิ่งที่ผู้วิจัย การพัฒนาเครื่องมือชี้วัด Digital literacy หรือทักษะความรู้ด้านดิจิทัล
 รวมถึงการวัดความสามารถของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล Digital transformation ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะเป็นตัวชี้วัดให้เห็นว่า ธุรกิจรายย่อย และธุรกิจขนาดเล็ก มีทักษะดิจิทัล และมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน?

       โดยการทำมาตรวัดนี้ ก็เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการช่วยเหลือธุรกิจรายย่อย และธุรกิจขนาดเล็กเข้าถึงโอกาสใหม่ทางดิจิทัลได้มากขึ้น 

สถาบันป๋วยฯชี้ธุรกิจรายเล็ก ใช้ดิจิทัลต่ำ สวนทางยอดใช้อีเพย์เม้นท์พุ่ง        Digital literacy เรานิยามว่า คือทักษะความรู้ด้านดิจิทัล หากเรามีพื้นฐานที่แน่น จะช่วยนำพาธุรกิจไปสู่บิสเน็ตโมเดลใหม่ สู่การสร้างประสิทธิภาพให้กับธุรกิจมากขึ้น 

      อย่างไรก็ตาม หากดูตั้งแต่เกิดโควิด-19 พบว่า แม้จะมีการเติบโตด้านอีเพย์เม้นท์ หรือการทำธุรกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านดิจิทัลระดับสูง จนการทำธุรกรรมผ่าน ออนไลน์ หรืออีมันนี่เติบโตขึ้นกว่า 25-30 เท่า โมบายแบงกิ้งมียอดใช้ถี่ขึ้น วงเงินต่ำลง เฉลี่ยต่อทรานเซกชั่นเพียง 3 พันบาท

      ขณะที่จำนวนยอดใช้โมบายแบงกิ้งเติบโตก้าวกระโดด มากกว่า 80 ล้านบัญชี มากกว่ายอดประชากรไทยไปแล้ว
       แต่หากดูด้านธุรกิจรายย่อยและ    ขนาดเล็ก พบว่า การใช้ดิจิทัลยังต่ำมาก เช่นการใช้คอมพิวเตอร์กับธุรกิจรายย่อยวันนี้ภาพรวม หรือค่าเฉลี่ยยังอยู่เพียง 30% ซึ่งถือว่าน่ากังวล เช่นเดียวกัน ยอดการใช้อินเตอร์เน็ต ระดับไมโครเอสเอ็มอี เฉลี่ยทั้งประเทศเพียง 40% เท่านั้น

     ซึ่งแตกต่างกันมากกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตในการประกอบธุรกิจสูงถึง 80% 
       พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของธุรกิจรายย่อย และขนาดเล็ก มีการใช้อินเตอร์เน็ตเพียงเพื่อดูอีเมล์ ออนไลน์เสิรซ์ข้อมูลเท่านั้น แต่ใช้ในเรื่องอื่นน้อยมาก เหล่านี้ตรงข้างกับยอดการใช้อีเม้นท์ของประเทศที่เติบโตไปไกลมาก

      ดังนั้นการเข้าสู่ digital economy ก็ไม่ได้เป็นการันตีว่า ผู้ประกอบการระดับไมโคร จะสามารถประสบความสำเร็จได้ในยุคดิจิทัล!
      เหล่านี้ จึงนำมาสู่สมมุติฐานสำคัญ ในการทำวิจัย จึงมีการสร้าง Digital literacy ขึ้นมา ที่มองว่าต้องทำให้เกิดมาตรวัดที่เหมาะสม เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ที่ถูกต้อง ให้ทราบว่าธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กมีทักษะดิจิทัล และนำมาสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน 
    โดยการการทำผลสำรวจของงานวิจัย ภายใต้ตัวอย่าง 2014 ตัวอย่าง ครอบคลุมพื้นที่ในไทย และครอบคลุม 4 อุตสหกรรมสำคัญๆ อย่างการขายค้าปลีก ขายส่ง การผลิต บริการอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบอาชีพรายใหม่พบว่า 
    ผู้ประกอบการธุรกิจราย่อยและขนาดเล็กในไทย ไทยมีระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลที่ค่อนข้างต่ำ สะท้อนจากสัดส่วน 40% ของกลุ่มตัวอย่างเป็น กลุ่มมือใหม่ (digital infant) ที่มีระดับทักษะความรู้แบบลองผิดลองถูก และยังไม่สามารถใช้ทักษะดังกล่าวได้ในระดับพื้นฐาน

     ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลสูง และสามารถบริหารความเสี่ยงด้านไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี (digital expert) กระจุกตัวอยู่ที่บางกลุ่มเท่านั้น โดยจะมีลักษณะเด่นเป็นกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก (คนทำงาน 11-100 คน) หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่ และเจ้าของกิจการจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปเท่านั้น

      ระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สูง สามารถสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถสร้างรายได้จากการประกอบธุรกิจที่สูงตามไปด้วย มีการเติบโตที่สูงกว่าคู่แข่ง มีอัตราการทำกำไรที่สูงกว่าคู่แข่ง และมีเป้าหมายการเติบโตที่สูงมากกว่า 2 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า

        ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในไทยที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสูงอยู่แล้ว ยังมีความพยายามที่จะหาแนวทางประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มเติมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อให้ธุรกิจได้รับประโยชน์จากวิกฤติดังกล่าวให้มากที่สุด
    ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมทักษะความรู้ด้านดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของผู้ประกอบการผ่านการทำนโยบายดังกล่าว 
        ต้องไม่เหวี่ยงแห หรือทำมาตรการแบบเหมารวม แต่ควรมีโครงการเฉพาะสำหรับแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในไทยมีความหลากหลายของระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล เช่น กลุ่ม digital expert ควรมุ่งเน้นให้สามารถบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างกลยุทธ์ธุรกิจ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ขณะที่กลุ่ม digital infant ควรส่งเสริมเฉพาะความรู้พื้นฐานด้านการประกอบธุรกิจและการใช้อินเทอร์เน็ตและซอฟท์แวร์พื้นฐานในการติดต่อสื่อสารก่อน

     ต้องส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลควรทำอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ

    โดยควรเริ่มต้นจากการมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความครอบคลุม มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่เหมาะสมในระดับราคาที่ย่อมเยา ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่มล้าหลังด้านดิจิทัล (digital laggards) สามารถเริ่มเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลได้ 
      หลังจากนั้นควรมุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมการใช้ซอฟท์แวร์พื้นฐานในการประกอบธุรกิจเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจกลายเป็นกลุ่มผู้ตามด้านดิจิทัล (digital followers) แล้วจึงส่งเสริมซอฟท์แวร์เฉพาะทางในการประกอบธุรกิจจนเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่เรียกว่ากลุ่มประยุกต์ใช้ดิจิทัล (digital adopters) และสุดท้ายคือการส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการวิเคราะห์ต่อยอดทางธุรกิจ จนทำให้เป็นผู้นำด้านดิจิทัล (digital front-runners) ในที่สุด
      สุดท้ายคือการประยุกต์ใช้ดิจิทัลต้องมุ่งเป้าที่การเพิ่มยอดขายเป็นลำดับแรก เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจยอมรับและมีความมั่นใจในการประยุกต์ใช้ดิจิทัล แล้วจึงค่อยส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเพื่อลดต้นทุน เพิ่มอัตราการทำกำไร และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เงินทุน 
    “ปัญหาสำคัญของเอสเอ็มอีในการเข้าสู่ดิจิทัล คือการสนับสนุนของภาครัฐ นอกจากจะเป็นการหว่านแห นโยบายยังไม่ต่อเนื่อง เพราะเมื่อจุดที่เอสเอ็มอี อยากปรึกษา อยากประยุก์ใช้ดิจิทัลก็หาคนช่วยตรงนี้ไม่เจอแล้ว ดังนั้นภาครัฐต้องสร้างหน่วยงานขึ้นมาเพื่อเป็นเพื่อนเอสเอ็มอีช่วยธุรกิจไปเรื่อยๆ”        

      ด้าน“สันติธาร เสถียรไทย” นักเศรษฐศาสตร์ การเงิน ประธานทีมเศรษฐกิจ และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท SEA Group กล่าวว่า การสนับสนุนให้ธุรกิจเอสเอ็มอี ธุรกิจรายย่อย หรือขนาดเล็ก เข้าถึงดิจิทัลได้ ส่วนแรกทำให้ธุรกิจเหล่านั้น มีประสบการณ์ที่ดีก่อน

    เช่นการแสดงให้เห็นว่า การเข้าถึงดิจิทัลได้ จะช่วยธุรกิจเพิ่มยอดขาย รวมถึงแรงจูงใจจากฝั่งภาครัฐ ที่ต้องเพิ่มแรงสนับสนุนเพิ่มนโยบายในการสนับสนุนดิจิทัลมากขึ้น โดยภาครัฐอาจร่วมมือกับเอกชน ที่เข้าใจ pain point ของเอสเอ็มอีได้มากกว่า 

    หรืออย่างเช่น ในประเทศสิงค์โปร ที่อาศัยช่วงโควิด โดยการทำนโยบายเข้าไปสนับสนุนเอสเอ็มอีมากขึ้น โดยการเพิ่มแรงจูงใจพ่วงเข้าไปด้วย เช่นหากธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล อาจได้เงินสนับสนุนเพิ่มขึ้น หรือได้เครดิตเพื่อเอาไปซื้อโฆษณา ไปใช้ลดต้นทุนในการทำธุรกิจได้ ดังนั้นการทำนโยบายของไทย อาจพ่วงด้วยการเพิ่มแรงจูงใจ เพื่อสนับสนุนธุรกิจเข้าสู่ดิจิทัลได้มากขึ้น     

   ทั้งนี้มองว่าสถาบันการเงิน ถือมีบทบาทสำคัญมาก ในการสนับสนุนเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่ถือเป็นประเด็นใหญ่ เพราะวันนี้มีผู้ประกอบการที่เข้าถึงดิจิทัล ที่เป็นคนรุ่นใหม่ ไม่มีร้านค้า ไม่มีหลักประกันในการขอสินเชื่อ

   ดังนั้นเหล่านี้จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนแบงก์ได้ยาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าวันนี้แบงก์เริ่มปรับโมเดลการทำธุรกิจ ผ่านการปล่อยกู้แบบใหม่ เพื่อให้มีข้อมูลในการเข้าถึงธุรกิจเหล่านี้ได้มากขึ้น เช่นการปล่อยผ่านดิจิทัลเลนดิ้ง

   โดยใช้ข้อมูลการทำธุรกรรมการซื้อขายออนไลน์ต่างๆ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญที่จะเข้ามาเติมเต็ม และเป็นแหล่งเงินทุน เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเหล่านี้เข้าถึงดิจิทัลและใช้ทุนในการขยายธุรกิจตอไปได้