ก่อน “Shake Shack” เข้าตลาดไทย แฮมเบอร์เกอร์แบรนด์ไหน เข้ามาตีตลาดแล้วบ้าง?

ก่อน “Shake Shack” เข้าตลาดไทย แฮมเบอร์เกอร์แบรนด์ไหน เข้ามาตีตลาดแล้วบ้าง?

ก่อนที่ “Shake Shack” (เชคแชค) จะบุกบ้านเราปีหน้า (2566) ชวนเปิดลิสต์รายชื่อ "แฮมเบอร์เกอร์" เจ้าใหญ่ในต่างประเทศที่เจาะตลาดไทย เคยมีแบรนด์อะไรตบเท้าเข้ามาบ้าง พร้อมส่องเมนูเด็ดจากแต่ละแบรนด์ รวมมาให้ครบที่นี่!

เป็นที่ฮือฮาอย่างมากเมื่อ “Shake Shack” (เชคแชค) แฮมเบอร์เกอร์ สัญชาติสหรัฐอีกหนึ่งแบรนด์ดัง กำลังจะบุกไทย เปิดสาขาแรกในกรุงเทพ ในปี 2566 นี้ ซึ่งนำเข้ามาโดย บริษัท แม็กซิมส์ เคเทอร์เรอร์ จำกัด และคาดว่าจะเปิดให้ได้ถึง 15 สาขา ภายในปี 2575

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนส่องลิสต์รายชื่อ ร้าน "แฮมเบอร์เกอร์" ต่างประเทศที่บุกตลาดประเทศไทย ตั้งแต่อดีตมีเจ้าไหนเข้ามาบ้าง มาเมื่อไร และแต่ละแบรนด์มีเมนูเด็ดอะไรที่น่าสนใจ? เรารวบรวมมาเป็นไทม์ไลน์ให้แล้ว ที่นี่!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ก่อน “Shake Shack” เข้าตลาดไทย แฮมเบอร์เกอร์แบรนด์ไหน เข้ามาตีตลาดแล้วบ้าง?

1. แมคโดนัลด์ (McDonald's)

สัญชาติ-ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: สหรัฐ (รัฐแคลิฟอร์เนีย)

ปีที่ก่อตั้ง: 2498

เมนูดัง: บิกแมค 191 บาท

สำหรับร้าน “แมคโดนัลด์” มีนายเดช บุลสุข บริษัท แมคไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้าเมื่อปี 2528 โดยท่านได้ชื่นชอบในแมคโดนัลด์ตั้งแต่สมัยที่เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนโครงการ AFS ที่สหรัฐ และได้เปิดสาขาแรกตั้งอยู่ที่โรงเรียนสตรีวิทยา

ปัจจุบันมีทั้งหมด 221 สาขาในประเทศไทย ทั้งสาขาบริการ 24 ชั่วโมง สาขาบริการอาหารเช้า, เดลิเวอรี, แมคคาเฟ่, ไดรฟ์ทรู และตู้คีออส (Koisk) ขายไอศกรีม-ขนมหวาน

ก่อน “Shake Shack” เข้าตลาดไทย แฮมเบอร์เกอร์แบรนด์ไหน เข้ามาตีตลาดแล้วบ้าง?

2. เบอร์เกอร์ คิง (Burger King)

สัญชาติ-ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: สหรัฐ (รัฐฟลอริดา)

ปีที่ก่อตั้ง: 2497

เมนูดัง: วอปเปอร์ 189 บาท

ทางด้านร้าน “เบอร์เกอร์ คิง” มีการนำเข้าประเทศไทยโดย บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้ ไมเนอร์ ฟู้ด ในปี 2543 จุดเด่นอยู่ตรงที่เบอร์เกอร์แบรนด์นี้มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ด้วยซอสสูตรเฉพาะเหนือกว่าคู่แข่งอื่นๆ และวัตถุดิบที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ ตามสโลแกน “Home of the Whopper”

ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เบอร์เกอร์ คิง ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์แฮมเบอร์เกอร์อันดับที่ 2 ของโลก ส่วนชื่อเสียงในประเทศไทย สามารถชิงรางวัล Operator of the Year เป็นเวลา 3 ปีซ้อน (2556-2558) และได้รับรางวัล Best Global Operator ในปี 2559 จากสำนักงานใหญ่ของเบอร์เกอร์ คิง และในประเทศไทยเอง ณ ปัจจุบันมีด้วยกันถึง 116 สาขาแล้ว

ก่อน “Shake Shack” เข้าตลาดไทย แฮมเบอร์เกอร์แบรนด์ไหน เข้ามาตีตลาดแล้วบ้าง?

3. มอส เบอร์เกอร์ (MOS Burger)

สัญชาติ-ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: ญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว)

ปีที่ก่อตั้ง: 2515

เมนูดัง: ฟูจิยามะ เบอร์เกอร์ 125 บาท

ส่วนร้าน “มอส เบอร์เกอร์แฮมเบอร์เกอร์ที่ใครหลายคนอาจไม่รู้ว่ามาต้นทางมาจากญี่ปุ่นนั้น ได้มีการนำเข้าโดย บริษัท มอส ฟูดส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) ในปี 2551 โดยทางแบรนด์มีนโยบายในการบริหารร้านด้วยการ “ทำให้ผู้คนมีความสุขผ่านอาหาร”

ทางด้านการขยับขยายสาขา ส่วนใหญ่จะอยู่ในเหล่าประเทศเอเชีย เช่น จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย และสำหรับประเทศไทยเอง ณ ปัจจุบัน มีจำนวนสาขาอยู่ที่ 22 แห่ง

ก่อน “Shake Shack” เข้าตลาดไทย แฮมเบอร์เกอร์แบรนด์ไหน เข้ามาตีตลาดแล้วบ้าง?

4. คาร์ลซ จูเนียร์ (Carl's Jr.)

สัญชาติ-ที่ตั้งสำนักงานใหญ่:  สหรัฐ (รัฐแคลิฟอร์เนีย)

ปีที่ก่อตั้ง: 2484

เมนูดัง: เดอะบิ๊กคาร์ล เบอร์เกอร์ 209 บาท

ทางร้าน “คาร์ลซ จูเนียร์” มีการนำร้านเข้ามาเปิดในไทยเมื่อปี 2555 โดยบริษัท อาร์แอนด์อาร์ เรสทัวรองท์ กรุ๊ป จำกัด เป็นเวลา 10 ปี จนถึงเดือนมีนาคม ปี 2565 ได้มีการปิดตัวทุกสาขาในประเทศไทยลงเนื่องมาจากการขาดทุนสูงอย่างต่อเนื่อง และมีสาเหตุหลักมาจากวิกฤตเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนัก

สาขาในประเทศไทยมีด้วยกันทั้งหมดเพียงแค่ 6 สาขา ได้แก่ สาขา นานาสแควร์ ชั้น G, สาขา อาคารมิดทาวน์อโศก ชั้น G, สาขา โรงแรมฮอลิเดย์ อินท์ ซอยสุขุมวิท 22 ชั้น G, สาขา ซอยสุขุมวิท 11สาขาพัทยา ชลบุรี, สาขา Terminal 21 ชั้น 3 และและสาขา เซ็นทรัลพลาซ่าพัทยาบีช ชั้น 3

ก่อน “Shake Shack” เข้าตลาดไทย แฮมเบอร์เกอร์แบรนด์ไหน เข้ามาตีตลาดแล้วบ้าง?

5. เชคแชค (Shake Shack)

สัญชาติ-ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: สหรัฐ (รัฐนิวยอร์ก) 

ปีที่ก่อตั้ง: 2547

เมนูดัง: แชคเบอร์เกอร์ ราคาประมาณ 181 บาท (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ = 34.14 บาท ณ วันที่ 5 พ.ค. 65)

ปิดท้ายด้วย “เชคแชค” ว่าที่ร้านแฮมเบอร์เกอร์น้องใหม่ ซึ่งกำลังจะเตรียมเปิดสาขาแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดกรุงเทพ ภายในปี 2566 นำเข้าโดยบริษัท แม็กซิมส์ เคเทอร์เรอร์ จำกัด และอนาคตคาดว่าจะเปิดให้ได้มากถึง 15 สาขาในประเทศไทย ภายในปี 2575 น่าจับตาดูว่าอาหารและการตกแต่งร้านสาขาในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร 

หากทางกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดร้านเชคแชค จะนำมารายงานให้แฟนๆ ทุกคนที่ตั้งตารอการเปิดตัวของร้านให้ได้ทราบเพิ่มเติมกันอย่างแน่นอน

ก่อน “Shake Shack” เข้าตลาดไทย แฮมเบอร์เกอร์แบรนด์ไหน เข้ามาตีตลาดแล้วบ้าง?

-------------------------

อ้างอิงMos BurgerBurger KingMINOR FoodMcDonald’ sBrand InsideShake ShackCarl's Jr.Carl's Jr. Thailand