ไอเดียนิวเจน‘พรประภา-ปราณีนิจ’ ดัน‘เมดิคาน่าแล็บ’ลุยธุรกิจกัญชา-กัญชง

ไอเดียนิวเจน‘พรประภา-ปราณีนิจ’ ดัน‘เมดิคาน่าแล็บ’ลุยธุรกิจกัญชา-กัญชง

เปิดไอเดียนิวเจน‘พรประภา-ปราณีนิจ’ดัน‘เมดิคาน่าแล็บ’ลุยธุรกิจกัญชา-กัญชงครบวงจรหลังถูกผลักดันให้เป็นพืชที่ถูกกฎหมายทั้งในด้านการครอบครอง การปลูกและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

ประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม ทว่าสินค้าส่งออกสูงสุดกลับเป็นเครื่องจักร ส่วนประกอบยานยนต์ อัญมณีที่มีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่สินค้าเกษตรกลับมีมูลค่าน้อย จากรูปการณ์จะเห็นได้ชัดว่า เศรษฐกิจไทยยังคงยึดติด หรืออยู่ในกับดัก “อุตสาหกรรมเก่า” ที่นับวันจะแผ่วลงเรื่อยๆ ขณะที่ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังมาแรง กัญชง กัญชา จากการผลักดันให้เป็นพืชที่ถูกกฎหมายทั้งในด้านการครอบครอง การปลูกและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

  “กรุงเทพธุรกิจ” ได้มีโอกาสพูดคุยกับ 2 นิวเจนของตระกูล “พรประภา-ปราณีนิจ” วรภัทร พรประภา กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหาร และ ศิรสิทธิ์ ปราณีนิจ กรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เมดิคาน่าแล็บ จำกัด ถึงไอเดียธุรกิจที่ประเดิมด้วยการโดดลงสมรภูมิพืชเศรษฐกิจใหม่ อาสาปลุกปั้นนิวโมเดลธุรกิจกัญชง กัญชา ครั้งนี้ว่า เริ่มต้นมาจากพี่สาวของคุณศิรสิทธิ์ ปราณีนิจ เป็นแพทย์ทางด้านชะลอวัยได้ทำการศึกษาการใช้กัญชารักษาโรคต่างๆ ก่อนที่ภาครัฐจะเปิดให้เป็นพืชที่ถูกกฎหมายทั้งด้านการครอบครอง การปลูกและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

ประกอบกับ 2 หนุ่มได้มีประสบการณ์ในการสัมผัสกับธุรกิจที่มีสินค้าและบริการที่มีส่วนผสมจากกัญชงและกัญชาในต่างประเทศสมัยที่เรียนปริญญาโทที่ประเทศอังกฤษ จึงมีความสนใจที่พัฒนาและวิจัยกัญชงและกัญชาในแต่ละสายพันธุ์อย่างจริงจังเพื่อนำสารสกัดที่ได้มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ จึงได้ร่วมมือกันตั้งบริษัท เมดิคาน่าแล็บ จำกัด โดยทาง วรภัทร ซึ่งมีประสบการณ์จากการเป็นสถาปนิกในการออกแบบ

Facility เข้ามาร่วมกันทำธุรกิจนี้เพื่อทำสารสกัดกัญชงที่เป็นมาตรฐาน Medical-Grade

“เราอยากจะเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยเกี่ยวกัญชงและกัญชาใหม่ เหมือนกับประเทศที่เขาทำธุรกิจที่มีส่วนผสมจากกัญชงและกัญชาอย่างถูกกฏหมาย หน่วยงานรัฐและเอกชนร่วมมือกันทำให้คอมมูนิตี้ของกัญชงและกัญชา ไม่ใช่เรื่องอันตรายแต่เป็นเรื่องของการรักษาหรือบำบัดมากกว่า ซึ่งเป็นจุดที่สร้างแรงบันดาลใจให้เข้ามาในธุรกิจนี้ ” ศิรสิทธิ์ กล่าว

วรภัทร ขยายความต่อว่า เหตุผลที่คนต่างประเทศมีทัศนคติในเรื่องกัญชาและกัญชงต่างจากคนไทย! โดยมองว่า เป็นพืชที่มีประโยชน์ ดังนั้นเมื่อกัญชาและกัญชงกลายเป็นพืชที่ถูกกฎหมายทั้งด้านการครอบครอง การปลูก และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จึงเป็นจังหวะและโอกาสสำคัญในการเข้ามาทำธุรกิจนี้ บวกกับความชอบในเรื่องเทคโนโลยี การทำธุรกิจในรูปแบบสตาร์อัพ ที่จะใช้เป็นแต้มต่อทางการแข่งขัน

เริ่มต้นจากโครงการนำร่องในการทดลองผลิตช่อดอกกัญชง ในมาตรฐาน Medical-Grade เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ด้วยการปลูกใน Indoor Facility ที่ถูกออกแบบด้วยเทคโนโลยี smart farming ทำงานควบคู่กับระบบ IoT เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์

สำหรับต้นกัญชงอย่างครบวงจร เช่น อุณภูมิ ความถี่ของแสง Co2ในอากาศ ระดับความชื้นและค่า VPD (ความต่างของแรงดันในใบ เทียบกับแรงดันในอากาศ) เพื่อพิสูจน์ผลสัมฤทธิ์ ความเป็นไปได้ก่อนนำไปขยายผลการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ต่อไป

  “จากเทคโนโลยีในการปลูกทำให้รอบในการผลิตมีประสิทธิภาพสูงถึง 12 รอบจากปกติใช้เวลา 4 รอบ ทำให้วางแผนการเก็บเกี่ยวเริ่มจาก 504 ต้น ในโรงเรือนปลูกที่ชั้น 1 ของอาคารเมดิคาน่า แล็บย่านทาวน์อินทาวน์ แต่ถ้ารวมต้นกล้ามีจำนวน1,000 ต้น”

ปัจจุบันในเมืองไทยมี 4-5 บริษัทขนาดใหญ่ที่ให้ความสนใจในการลงทุนในธุรกิจ “ต้นน้ำ”ในการผลิตช่อดอก มาตรฐาน Medical-Grade เพื่อใช้นำไปใช้ต่อยอดสู่กลางน้ำ และปลายน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจหลักเป็นอาหาร ยา อาหารสัตว์

แตกต่างจาก เมดิคาน่าแล็บ ที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจ ”สตาร์ทอัพ” เน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการผลิตอย่างระบบ automatic fertigation หรือการจ่ายปุ๋ยแบบอัตโนมัติ เพื่อ dosing และ feeding program ที่แม่นยำ สามารถเก็บ data หรือข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

ไอเดียนิวเจน‘พรประภา-ปราณีนิจ’ ดัน‘เมดิคาน่าแล็บ’ลุยธุรกิจกัญชา-กัญชง

รวมถึงได้มีการตรวจสอบและเปรียบเทียบข้อมูลผ่านทางกล้องวงจรปิด ควบคู่กับ sensor เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลต้นกัญชงให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตรงตามความต้องการทั้งในแง่ของปริมาณและมาตรฐาน

รวมทั้งอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ด้านเข้ามาลดความเสี่ยงและการลงทุน ที่สำคัญทำให้การทำธุรกิจสะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะทุกวันนี้เข้าสู่ยุค “แชร์ริง อีโคโนมี” หมดยุคการทำธุรกิจแบบกินรวบ!

โดยวางแผนการดำเนินงานเป็น 2 เฟส เฟสแรกใช้งบลงทุนราว 20 ล้านบาท สำหรับการลงทุนในโรงเรือนเพาะปลูก Indoor Facility ที่ถูกออกแบบด้วยเทคโนโลยี smart farming ทำงานควบคู่กับระบบ IoT สามารถผลิตช่อดอกแห้ง 500 กิโลกรัมต่อปี คาดว่าผลผลิตล็อตแรกจะออกสู่ตลาดในเดือน ก.ค. นี้ ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหน่วยงานองค์กรภาครัฐ (B2G) และเอกชนที่ต้องการดำเนินธุรกิจ (B2B)อยู่ระหว่างการเจรจา

ส่วนเฟสสองใช้งบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ในการลงทุนขยายกำลังการเพาะปลูก กำลังผลิต พร้อมต่อยอดธุรกิจจากต้นน้ำสู่กลางน้ำและปลายน้ำ ด้วยการจับมือกับ "พันธมิตร" ในการลงทุนแบบครบวงจร เพื่อสร้างผลผลิตให้มากขึ้น การแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องสำอาง ฯลฯ 

รองรับดีมานด์ตลาดในประเทศและส่งออกผลักดันไทยสู่ฮับกัญชา-กัญชงในอาเซียนลุมพินี วิสดอม" ระบุ "Well-Being" เป็นโอกาสในการพัฒนาธุรกิจบริการ