“ข้าวเหนียวมะม่วง “แพง “ ข้าวเหนียว – มะม่วง” ถูก

“ข้าวเหนียวมะม่วง “แพง  “ ข้าวเหนียว – มะม่วง” ถูก

สงครามรัสเซีย-ยูเครน เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารและไม่ใช่อาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้น กลายเป็นความกังวลเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งยังสวนทางกับราคาสินค้าเกษตรในประเทศที่หลายชนิดยังตกต่ำและล้นตลาด

ถ้า” มิลลิ ดนุภา" ไม่หยิบ“ข้าวเหนียวมะม่วง” ไปทานบนเวที เทศกาลดนตรีโคเชลลา (Coachella)ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย แล้วกล่าวถึงเสาไฟกินรีต้นละแสนก็มี รถไฟสมัยร.5 ใช้มาแล้ว 120ปี", "Country is good. People is good. Our food is good. But governmentis bood"ก็คงลืมไปแล้วว่า “ข้าวเหนียวมะม่วง” เป็นของแสลงทางการเมือง ที่ครั้งนึงในอดีตถ้าเอ่ยถึงข้าวเหนียวมะม่วง นั่นหมายถึง“การตายก่อนวัยอันควร “ ของนักการเมือง

“ข้าวเหนียวมะม่วง “แพง  “ ข้าวเหนียว – มะม่วง” ถูก

 แต่ก็นั่นแหละ สถานการณ์ดังกล่าว ทำเอาราคาและยอดขายข้าวเหนียวมะม่วงราคาพุ่งขึ้นทันที ทางกระทรวงพาณิชย์ก็บอกยินดีสนับสนุนหันกลับมามองเกษตรกรชาวนา ขายข้าวกินยังไม่ลืมตาอ้าปาก ส่วนมะม่วงก็เทเกลื่อนถนน ปีนี้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เกรดส่งออกเหลือเพียง 20-30 บาทต่อ กก.จากเดิม กก.ละ 60-70 บาท ส่วนมะม่วงที่กินกันในประเทศ เหลือเพียงกิโลกรัมละ 10-15 บาทเช่น ฟ้าลั่น เขียวเสวย เหลือกก.ละ 1- 4 บาท เรียกว่าตกต่ำเป็นสุดๆ

การจะให้เกษตรกรนำมะม่วงเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นส้มลิ้มมะม่วงบ๊วยหรืออื่นๆ ตามที่ทองเปลว กองจันทร์ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์Talk Show“เหลียวหลังแลหน้า130ปีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สู่ Next Normal”ในงานวันคล้าย วันสถาปนาครบรอบ 130 ปี เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมานั้นน่าจะช้าไป เพราะไม่ได้เตรียมรับมือมาก่อนส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ มะม่วงเป็นผลไม้ที่ไม่ค่อยโดดเด่น เมื่อเทียบกับทุเรียน หรือมังคุด

อีกอย่าง ตลาดส้มลิ้ม หรือมะม่วงบ๊วย เหล่านี้ กระทรวงพาณิชย์น่าจะยังไม่มีแผนตลาดนำการผลิต ดังนั้นหากจะเอาจริงเอาจังด้านการแปรรูปมะม่วงอาจต้องหารือ เขียนแผนให้เป็นรูปธรรมและนำไปปฏิบัติ ซึ่งยังพอมีเวลานะ เพราะปีหน้า ปีโน้น มะม่วงก็ยังติดดอก ออกผลอยู่เช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ไทยเป็นผู้ผลิตอาหาร และต้องการเป็นครัวของโลก จะว่าดีที่เป็นโอกาส ก็ว่าน่าจะใช่ แต่ดูแล้วน่าค่อนไปทางแย่เพราะจากการรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)ได้ประกาศตัวเลขดัชนีราคาอาหารโลก เดือนมี.ค. 2565 ว่า อาหาร 5 กลุ่มหลัก คือ ธัญพืช น้ำมันพืช น้ำตาล นม และเนื้อสัตว์ นั้นได้ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาอาหารของโลกเพิ่มขึ้น25%สูงสุดในรอบ26 ปี

 ซึ่งเป็นผลมาจาก สถานการณ์วิกฤติความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาอาหาร สินค้าเกษตร และปุ๋ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินว่าประเทศในภูมิภาคแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง ที่พึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน และเมล็ดrapeseedจากรัสเซียและยูเครน รวมทั้งปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ ปุ๋ย ซึ่งจะทำให้หลายประเทศได้รับผลกระทบด้านความมั่นคงอาหารอย่างรุนแรง

 สมาชิก44 ประเทศ นำโดยสหรัฐ สหภาพยุโรป และชาติตะวันตก ได้เรียกร้องให้ เอฟเอโอมีมติเรียกร้องให้รัสเซียยุติการใช้ความรุนแรงกับยูเครน หยุดการกระทำที่ส่งผลให้สถานการณ์ความไม่มั่นคงอาหารโลกย่ำแย่ลง เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก และ เรียกร้องให้ทุกประเทศไม่ดำเนินมาตรการชะลอ หรือระงับการส่งออกสินค้าเกษตรและปุ๋ย ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลผลิตทางการเกษตร