ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน โจทย์ที่ต้องแก้สำหรับ SME ในปี 2566

ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน โจทย์ที่ต้องแก้สำหรับ SME ในปี 2566

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการบริหารธุรกิจ SME ในช่วงแพร่ระบาดโควิด-19 ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ถูกบีบบังคับให้ต้องปรับตัวในการทำธุรกิจด้วยระบบดิจิทัลอย่างเร่งด่วน

ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เพราะผู้บริโภคเคยชินกับพฤติกรรมซื้อขายผ่านออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ จนเป็นช่องทางธุรกิจที่เติบโตมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติทำให้หลายธุรกิจจำเป็นต้องเพิ่มการรับชำระเงินเป็นสกุลเงินต่างประเทศ

เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมมากขึ้น ซึ่งทำให้เห็นว่าการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้แต่รัฐบาลไทยและองค์กรต่าง ๆ ก็พยายามปรับตัวเอง และช่วยผลักดันให้ธุรกิจ SME ปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล

ทำไมธุรกิจ SME ต้องปรับตัวในยุคดิจิทัล

ด้านผู้บริโภค ระบบดิจิทัลจะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัลของผู้บริโภค เช่น การทำธุรกรรมผ่านมือถือ การซื้อออนไลน์ การชำระเงินแบบไร้สัมผัส การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2022 โดย Google, Temasek และ Bain & Company พบเศรษฐกิจดิจิทัลไทยมีมูลค่า 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2022 และยังคาดการณ์ว่าในปี 2025

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยจะมีมูลค่าสินค้ารวมเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี โดยมี อีคอมเมิร์ซ เป็นแรงผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โดยตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย ในขณะที่อัตราการใช้บริการอีคอมเมิร์ซของไทยอยู่ที่ 94% ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคฯ รองจากสิงคโปร์

ด้านธุรกิจ การปรับธุรกิจให้มุ่งดำเนินการบนระบบดิจิทัลต้องปรับรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ พร้อมการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการทำงานกับใช้บริการแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาจจะต้องลงทุนกับเครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อทำให้การทำงานราบรื่นและตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค มุ่งเน้นสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบจะช่วยให้ใช้กำลังคนน้อยลง โดยรายงานจากธนาคารยูโอบี พบว่าประมาณ 2 ใน 3 (66%) ของธุรกิจ SME ต้องการเพิ่มการลงทุนในแพลตฟอร์มเทคโนโลยี และสถิติ 3 ใน 4 (74%) ของธุรกิจ SME ต้องการขยายการดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

พลิกโอกาสทางธุรกิจด้วยการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล

ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคชาวไทยปรับตัวเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและมีการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมีความต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากขึ้นในทุก ๆ วัน เพื่อทำให้ชีวิตสะดวกสบายและมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจ SME ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและตอบรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีวิธีการปรับตัวธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลมีดังนี้

1. กำหนดกลยุทธ์เชิงธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีดิจิทัลและให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น ร้านค้า สิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่าเดิมคือการสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่น (seamless experience) ทั้งในโลกจริงและดิจิทัล แต่ละช่องทางมีบทบาทที่แตกต่างกันและต่างมีความสำคัญในการสร้างความพึงพอใจและยอดขายที่มากขึ้น

2. มุ่งดำเนินธุรกิจเชิงรุก ทำความเข้าใจ และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกินความคาดหมายของผู้บริโภค สามารถใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive analytics) โดยการใช้ข้อมูลต่าง ๆ มากขึ้น เช่นข้อมูลทางการเงิน การดำเนินงาน และการทดสอบต่าง ๆ เพื่อช่วยให้คาดการณ์ได้ว่าสิ่งใดจะตรงใจลูกค้าและทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น

3. สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในระยะยาว เพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้ลูกค้าเชื่อมั่นและภักดีต่อแบรนด์ ซี่งการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับแต่ละบุคคล (personalization) เป็นทางหนึ่งในการเพิ่มความภักดี แบรนด์สินค้าที่ทำให้ความสามารถในการค้นหาสิ่งที่ต้องการง่ายขึ้นและใช้เครื่องมืออย่างแมชชีนเลิร์นนิงเข้าช่วย สามารถรวมข้อมูลเชิงลึกเข้ากับความพยายามในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับแต่ละบุคคลในทุกขั้นตอนของประสบการณ์ลูกค้า

4. ปรับระบบหลักในการทำงานให้เป็นดิจิทัล และพัฒนาทักษะของบุคลากรอยู่เสมอให้สอดคล้องกับความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ในกรณีที่สินค้าอาจมีความต่างไม่มากจากคู่แข่งในสายตาลูกค้า แต่ความได้เปรียบทางการแข่งขันสามารถมาจากการดำเนินงานที่เหนือกว่าและการปรับตัวได้เร็วกว่าได้เช่นกัน (operational competitiveness)

Digital transformation ยังเป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลต้องคำนึงถึง ประสบการณ์ของลูกค้า กระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ และโมเดลธุรกิจ ยกตัวอย่างธุรกิจที่มีการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล เช่น “M Pass” ไว้ใช้เป็นบัตรชำระทางด่วนหรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ใช้สำหรับการทำธุรกรรมผ่านเครื่อง ATM และสามารถใช้ซื้อสินค้าตามร้านที่มีสัญลักษณ์ VISA ได้ทั่วประเทศ, แอปพลิเคชั่น “DLT Smart Queue”

สำหรับจองวันล่วงหน้าเพื่อเข้ารับบริการกับสำนักงานขนส่ง เปิดให้จองทั้งการทำใบขับขี่ ต่ออายุใบอนุญาต การชำระภาษีรถ และการขอใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ, ไปรษณีย์ไทยเปิดตัวบริการจัดส่งแบบดิจิทัล, แอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” เปิดยืนยันตัวตนผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-Eleven เพิ่มความสะดวกให้ประชาชนในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อเข้าถึงบริการของหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัล เป็นต้น

สำหรับ YouTrip ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล (Multi-currency wallet) เป็นธุรกิจที่ใช้ระบบดิจิทัลทั้งหมด ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ของเราไปจนถึงวิธีการทำงานเป็นทีม ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว

โดยตั้งแต่ YouTrip เริ่มเปิดให้บริการในประเทศไทยในเดือนพ.ย. 2562 มุ่งเน้นธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นหลักจนกระทั่งประสบสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 แต่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการปรับแผนเพิ่มกลุ่มลูกค้าที่ใช้จ่ายออนไลน์เป็นสกุลเงินต่างประเทศ ช่วยผู้ใช้งานประหยัดเงินด้วยเรทที่ดีกว่า ไม่มีค่าธรรมเนียม และไม่มีค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 2.5% นอกจากนี้ YouTrip ยังรับความเห็นของลูกค้าและแก้ไขจุดบกพร่องได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เราได้รับคำชื่นชมและได้รับความไว้วางใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา