เพิ่มทางเลือกให้พอร์ต บนปัจจัยลบเดิม

เพิ่มทางเลือกให้พอร์ต บนปัจจัยลบเดิม

ภาวะการลงทุนในเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ต้องบอกว่าผันผวนอย่างรุนแรงตามที่เราคาดการเอาไว้ ทั้งหมด มีปัจจัยหลักๆอยู่ไม่กี่ประเด็นแต่การที่สินทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลง

ยังคงมาจากฝั่งตะวันตกโดยมี สหรัฐเป็นแกนโดย Fed เป็นกลไกสำคัญที่กดดันให้ภาพการลงทุนโดยรวมแย่ลง ตลาดหุ้นปรับตัวลง ผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า อาจจะถือได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

น่าจะส่งผลถึงทิศทางของกระแสเงินที่เริ่มหมุนออกจาก เอเชียเรามาเริ่มกันที่ SET Index เดือนก.ย. ได้ปรับตัวลดลงราว 3% จากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิหุ้นไทยในเดือนนี้ไป 2 หมื่นล้านบาท โดยปัจจัยกดดันหลักในเดือนนี้คือการเข้มงวดนโยบายการเงินของ Fed ที่แม้จะขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 0.75 ตามคาด

แต่ประมาณการอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ( Dot plots) ที่ออกมานั้นถือว่ายังคงนโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้นกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ทำให้ทั้งเงินดอลลาร์ และ ผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สกุลเงินต่างๆในเอเชียปรับอ่อนค่าลง โดยเงินบาทปรับตัวทำสถิติอ่อนค่าใหม่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์

ผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds อย่างรุนแรง ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่แท้จริง (Real bond yield) ปรับตัวสูงขึ้น กดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยงเช่นหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือกเช่นทองคำในภาพรวม นอกจากนั้น การขึ้นมาของพันธบัตรฯ รุ่นสั้นที่มาก กว่ารุ่นยาว ทำให้ ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี กับ 10 ปี ของสหรัฐฯปรับตัวเข้าสู่ภาวะไม่ปรกติ ( Inverted yield curve) ที่มากขึ้นตามลำดับ ถือเป็นปัจจัยกดดันต่อกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และกลุ่มหุ้นวัฎจักร ที่อิงกับเศรษฐกิจโลกอีกด้วย 

ส่งผลให้ในเดือนนี้ เราเห็นการปรับตัว Outperform ที่ดีของกลุ่มหุ้นที่เน้นการเติบโตภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มที่อิงกับการบริโภค ซึ่งยังมีแรงหนุนจากประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศ ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป ไม่นับรวมกับแนวนโยบายการเงินของธปท. ที่ถึงแม้จะมีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนนี้ แต่ก็เป็นเพียงระดับร้อยละ 0.25 เท่านั้น ลดความกังวลใจของนักลงทุนบางส่วนที่เคยมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรงเกินไปอาจนำมาอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอลงได้

สำหรับภาพการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ในเดือนต.ค.แกว่งตัวออกด้านข้าง ในกรอบ 1,550-1,650 จุด โดยในช่วงต้นเดือนอาจเผชิญอุปสรรคจากปัจจัยต่างประเทศเดิม นั่นก็คือความกังวลของนักลงทุนต่อประเด็นการเข้มงวดนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งต้องบอกว่าปัจจุบัน ยังมีนักลงทุนเกือบครึ่งที่ยังไม่ได้ตระหนักหรือคิดไปถึงว่า Fed อาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 0.75 อีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไป 

ดังนั้น หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะออกมาในเดือนต.ค.บ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันถึงความร้อนแรงทางด้านเงินเฟ้อที่มาจากแรงผลักดันทางด้านอุปสงค์ มีความเป็นไปได้สูงที่ในช่วงแรกค่าเงินดอลลาร์  และ ผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐฯจะปรับตัวขึ้นต่อ ซึ่งก็จะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อตัวแปรสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆได้ ส่วนผลตอบแทนของพันบัตรรัฐบาลไทยก็ได้รับผลกระทบเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพียงแต่ไม่รุนแรงเท่าเพราะเรายังคงนโยบายการเงินแบบระมัดระวัง

ส่วนเหตุการณ์สำคัญที่น่าติดตามในเดือนนี้ได้แก่ การประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. โดยคาดว่าจะมีการต่ออายุการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ออกไปอีกเป็นสมัยที่ 3 และต้องจับตาดูว่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการ Zero-Covid หรือไม่ ซึ่งหากไม่เกิดขึ้น อาจเป็นประเด็นเชิงลบต่อตลาดหุ้นจีนได้เช่นกัน

ในเชิงกลยุทธ์ ภาพการลงทุนตลาดยังมีปัจจัยลบเดิมกดดันบรรยากาศการลงทุน ซึ่งผมยังเน้นพอร์ตการลงทุนให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นร้อยละ50 โดยเป็นหุ้นไทย ร้อยละ20หุ้นญี่ปุ่น จีน และสหรัฐประเทศละร้อยละ10ตราสารหนี้ระยะสั้น ร้อยละ20น้ำมันทองคำ และREITsประเภทละร้อยละ10เท่าๆกัน

อย่างไรก็ดี หากนักลงทุนที่มีความวิตกกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและการชะลอตัวของทางฝั่งยุโรป รวมถึงภาวะสงครามระหว่งรัสเซีย-ยูเครน ก็อาจจะลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นต่างประเทศและไปเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นก็ได้ โดยการเข้าสู่โหมด Bias to Conservative โดยลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นต่างประเทศทั้งหมด ร้อยละ 30% มาอยู่ที่ตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งหมด ก็จะทำให้สัดส่วนหุ้นในพอร์ตเป็นหุ้นไทยร้อยละ 20 ตราสารหนี้ระยะสั้น ร้อยละ 50 และที่เหลือก็เป็น น้ำมัน ทองคำ และ REITs ร้อยละ 10 เท่าๆ กัน