เลือกตั้งบัตร 2 ใบ ตัวแปรและทีเด็ด ชิงคะแนนนิยม

เลือกตั้งบัตร 2 ใบ ตัวแปรและทีเด็ด ชิงคะแนนนิยม

เปิดมุมมอง เลือกตั้งบัตร 2 ใบ ตัวแปรและทีเด็ด ชิงคะแนนนิยม

เสถียรภาพ "รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ไม่สู้จะดี จากกรณีปัญหาภายในพรรคพลังประชารัฐ สะเทือนถึงพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ และการเตรียมตัวของพรรคฝ่ายค้าน อย่าง พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล คาดว่าจะมีการยุบสภาจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ซึ่งหากการเลือกตั้งใหม่ที่ต้องกลับมาใช้ เลือกตั้งบัตร 2 ใบ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เลือกตั้งบัตร 2 ใบ ใครได้เปรียบ” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,318 หน่วยตัวอย่าง

ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้บัตร 2 ใบ ในการเลือกตั้ง (แบบเขต และแบบบัญชีรายชื่อ)

พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.62 ระบุว่า เห็นด้วยมาก 
รองลงมา ร้อยละ 24.66 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย 
ร้อยละ 15.02 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย 
ร้อยละ 6.45 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย 
ร้อยละ 3.72 ระบุว่า อย่างไรก็ได้ 
และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

พรรคการเมืองที่ประชาชนคิดว่าจะได้เปรียบจากการใช้บัตร 2 ใบ ในการเลือกตั้ง
พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.38 ระบุว่า ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เปรียบ 
รองลงมา ร้อยละ 23.75 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ร้อยละ 22.00 ระบุว่า พรรคเพื่อไทย
ร้อยละ 18.36 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ 
ร้อยละ 4.86 ระบุว่า พรรคก้าวไกล และพรรคประชาธิปัตย์ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ร้อยละ1.29 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย
และร้อยละ 2.28 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคเพื่อชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกล้า พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยภักดี และพรรคประชาชาติ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อความเป็นไปได้ที่จะทำให้มีพรรคชนะการเลือกตั้งได้ ส.ส. เกินครึ่งของสภา (มากกว่า 250 คน) จากการใช้บัตร 2 ใบ ในการเลือกตั้ง (แบบเขต และแบบบัญชีรายชื่อ)
พบว่า  ส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.67 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ 
รองลงมา ร้อยละ 26.71 ระบุว่า เป็นไปได้มาก 
ร้อยละ 11.08 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 
ร้อยละ 8.50 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย 
ร้อยละ 8.04 ระบุว่าไม่ค่อยเป็นไปได้   

แนวโน้มการตัดสินใจลงคะแนนในการเลือกตั้งด้วยบัตร 2 ใบ (แบบเขต และแบบบัญชีรายชื่อ)
 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.59 ระบุว่า บัตรทั้ง 2 ใบ เลือกพรรคเดียวกัน 
รองลงมา ร้อยละ 27.84 ระบุว่า บัตร 2 ใบ เลือกต่างพรรคกัน
 ร้อยละ 17.83 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ 
ร้อยละ 4.02 ระบุว่า บัตรทั้ง 2 ใบจะไม่เลือกใคร (Vote NO) 
ร้อยละ ระบุว่า 2.58 ระบุว่า บัตรใบหนึ่งจะไม่เลือกใคร (Vote NO)  
ร้อยละ 1.14 ระบุว่า จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

สำหรับผู้เขียนมองว่า คนไทยส่วนใหญ่ อยากเลือกพรรคที่ใช่ กับคนสมัคร ส.ส.ที่ชอบ อยู่แล้ว จึงไม่คิดว่า จะมีปัญหาอะไรกับการเลือกตั้งบัตร 2 ใบ คนที่ชอบอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ก็คงเลือกเพื่อไทย และคนที่ชอบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็คงเลือกพรรคพลังประชารัฐ ชอบคณะก้าวหน้าก็ต้องเลือกพรรคก้าวไกล และแฟนพันธุ์ ปชป. ก็เลือกพรรคประชาธิปัตย์

ทว่า ประเมินจากโพล คนส่วนใหญ่ เลือกบัตรทั้ง 2 ใบ เลือกพรรคเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่า หากใครเชียร์ใครอยู่แล้วจะเลือกทั้งคนทั้งพรรค ซึ่งน่าจะเป็นฐานเสียงเดิมอยู่แล้ว

น่าสนใจว่า ตัวแปรราว 35% ที่ยังไม่แน่ใจและจะเลือกต่างพรรค น่าจะเป็นคนต่างจังหวัด มากกว่า คนกรุง เนื่องจากปัจจัยกระแส และกระสุนการทำคะแนนของหัวคะแนนด้วย

ขณะเดียกัน จากโพลจึงย้ำภาพได้หรือว่า ประชาชนรู้จักพรรคใหญ่เป็นตัวเลือกแรกมากกว่าพรรคเล็กหรือพรรคที่เพิ่งตั้งใหม่ แต่ก็คงต้องรอดูการสร้างกระแสเรียกคะแนนนิยม และ "ทีเด็ด" ของแต่ละพรรคในห้วงการเลือกตั้งจริงๆเช่นกันว่า สร้างภาพจำให้ตราตรึงไปจนถึงวันลงคะแนนได้หรือไม่.