ยืนอยู่ที่เดิมไม่รอด ดีเท่าเดิมไม่พอ รู้เท่าเดิมไม่ทัน

ยืนอยู่ที่เดิมไม่รอด ดีเท่าเดิมไม่พอ รู้เท่าเดิมไม่ทัน

ยืนอยู่ที่เดิมไม่รอด ดีเท่าเดิมไม่พอ รู้เท่าเดิมไม่ทัน.. "Learning Agility" คือ คำตอบ

ดิสรัปชันในโลกธุรกิจนั้นมีอยู่ตลอดและมีมานานแล้ว และ Learning Agility คือหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่สร้างความแตกต่างระหว่างผู้ที่อยู่รอดกับผู้ที่ต้องถูกดิสรัปหายไป 

ก่อนที่จะมาเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผู้นำและองค์กรในวันนี้ ผู้อ่าน bangkokbiznews.com ทราบหรือไม่ว่า “แพคริม กรุ๊ป” นั้นเริ่มต้นจากการเป็นบริษัท recruitment advertising agency แห่งแรกของประเทศไทยเมื่อกว่า 29 ปีก่อน และเราก็โดนดิสรัปอย่างจังเมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ธุรกิจจำนวนมากต้องลอยแพพนักงาน และแทบจะไม่มีใครเลยที่ต้องการลงโฆษณาเพื่อจัดหาพนักงานใหม่ ซึ่งนั่นหมายถึงธุรกิจของเราลดขนาดลงไปเหลือศูนย์ภายในเวลาชั่วข้ามคืน!!

แต่เมื่อมองย้อนกลับไปจากวันนี้ ดิฉันต้องขอบคุณวิกฤตในครั้งนั้น ที่เปิดโอกาสให้ดิฉันได้รู้จักกับ Dr. Stephen Covey และได้รับความไว้วางใจจากกูรูด้านการพัฒนาผู้นำระดับโลกท่านนี้ ให้ PacRim ได้เป็นตัวแทนแต่เพียงผู้เดียวของ FrankinCovey ในประเทศไทย พลิกโฉมหน้าจากธุรกิจ Recruitment Advertising Agency มาเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผู้นำจนถึงปัจจุบัน

การเริ่มต้นใหม่ของเรา ไม่ได้เป็นเพียงแค่การค้นพบโอกาส การสร้าง "บิสิเนส โมเดล" ใหม่ หรือการ มีผลิตภัณฑ์ระดับเวิลด์คลาสเท่านั้น แต่เพื่อจะก้าวไปข้างหน้า และสร้าง S-curve ใหม่ให้กับองค์กร เราจำเป็นต้องเลิกยึดติดกับบางสิ่งบางอย่างที่คุ้นเคย เปลี่ยนกรอบความคิดและพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เปิดโลกทัศน์ใหม่ และปรับตัวไปสู่วิถีใหม่  (Unlearn and Relearn) 

ในโลกยุคนี้ที่ดิสรัปชันเป็นไปอย่างเข้มข้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ขีดความสามารถในการ “ล้มแล้วลุก” (Resilience) และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า Learning Agility ยิ่งทวีความจำเป็นมากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรสับสนระหว่าง “Learning Ability” ซึ่งค่อนข้างจะขึ้นอยู่กับสติปัญญา และความเฉลียวฉลาด (IQ) ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด กับ  “Learning Agility”  ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) ที่สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ในทุกคน

   

  •  รู้ว่าจะทำอย่างไรกับสิ่งที่ไม่รู้ 

แน่นอนว่า เราต้องมีไอคิวมากพอ จึงจะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้   แต่คนฉลาดทุกคนก็ไม่ได้มี Learning Agility เสมอไป

หัวใจสำคัญ คือ เราต้องมีความสามารถในการนำเอา “ประสบการณ์” มาเป็นบทเรียนที่ทำให้ตัวเองเก่งขึ้นได้ทุกวัน  มีความกระหายที่จะเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง อยากเติบโต อยากก้าวหน้า รู้ว่าจะทำอย่างไรกับสิ่งที่เราไม่รู้ และรู้ว่าจะหาคำตอบอย่างไรกับเรื่องที่เราไม่รู้  

ในทัศนะของดิฉัน คนที่มี  Learning Agility จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญอย่างน้อย 4  ข้อคือ

1มี Mindset ที่เป็นบวกและใจกว้าง

มีทัศนคติ หรือ Mindset  เป็นบวกต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต  มองทุกโอกาสเป็นบวก และเปิดใจกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  มองเห็นโอกาสในทุกวิกฤตที่ทำให้เราสามารถเติบโต และแข็งแรงมากขึ้น รวมทั้งมีความคิดริเริ่มและมองหาโอกาสที่จะมีบทบาทและช่วยเหลือผู้อื่นให้ประสบผลสำเร็จ มีความยินดีและเต็มใจช่วยเหลือแม้ว่าจะเกินขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบตามปกติ จึงทำให้เรามีโอกาสมากขึ้นในการเรียนรู้และเติบโตก้าวหน้าไปได้ไกลกว่าใครๆ

2ถ่อมตน (Humility) และกระหาย feedback

เราตั้งมาตรฐานตัวเองไว้สูง แต่ต้องไม่มี “อีโก้”  ที่จะหยุดการพัฒนา หรือขอรับฟังความคิดเห็น (Feedback) และเรียนรู้จากบุคคลอื่น  รวมทั้งข้อผิดพลาด โดยจะไม่พยายามหาข้ออ้างให้กับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เราเป็นนักฟังที่ดี จึงสามารถสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และสนับสนุนให้มีการแบ่งปันความคิดและประสบการณ์ เพื่อได้รับข้อมูล ข่าวสารที่ทันต่อสถานการณ์ และสามารถเรียนรู้จากกันและกันในการเติบโต

เหมือนดั่งที่ โสเครติส นักปราชญ์ยุคกรีกโบราณเคยกล่าวไว้ว่า

คนฉลาดเรียนรู้จากทุกสิ่งและทุกคน
คนทั่วไปเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา
คนโง่มีคำตอบทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว

3. กล้าเสี่ยง (Courage to Take Risks)

กล้าเสี่ยงหรือทดลองทำอะไรใหม่ๆ  เวลาองค์กรมีโครงการหรือเรื่องอะไรใหม่ๆ เราจะอาสาหรือไม่ลังเลที่จะรับทำงานเหล่านี้ แม้ว่าจะมีโอกาสล้มเหลว เพราะเห็นโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อปลดปล่อยศักยภาพตัวเอง ให้ก้าวออกจาก Comfort Zone เดิมๆ  ในองค์กรคนกลุ่มนี้จะเป็น  “Change Agents” ที่ช่วยเป็นต้นแบบ โน้มน้าวและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นตามเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ขององค์กรที่วางไว้

4ยืดหยุ่น ปรับตัวได้ดี (Adaptive & Flexible)

ความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวได้ดี ถือเป็นสมรรถนะสำคัญในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้เรายังมีความอดทนและทนทานต่อความไม่แน่นอนสูง และพร้อมที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยไม่รู้สึกลำบากหรืออึดอัดกับสิ่งที่ไม่เหมือนเดิม หรือไม่เหมือนตนเอง ไม่เปรียบเทียบตนเองกับอดีตหรือกับบุคคลอื่น โฟกัสในสิ่งที่เราสามารถทำได้ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์และสภาพแวดล้อมนั้นๆ

      

  •  ถ้าอยากสร้าง Learning Agility  จะต้องทำอย่างไร? 

การสร้าง Learning Agility จะต้องอาศัยปัจจัยหลัก 3  ประการ ได้แก่ 1.ทีมผู้นำองค์กร 2. วัฒนธรรมองค์กร และ 3.ระบบ (System & Process)

1. ทีมผู้นำองค์กร

ทีมผู้นำ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหนหรือวัยไหน จะต้องทำตนเป็นแบบอย่างว่าสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็ว และต้องสื่อสารให้คนในองค์กรได้รู้ว่าองค์กรกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อนาคตขององค์กรกำลังมุ่งไปที่ไหน ที่ไม่เหมือนในวันนี้ เราคาดหวังให้คนของเราจะต้องเก่งขึ้นกว่าเดิมอย่างไร และสนับสนุนการยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของพวกเขาอย่างเต็มที่

2. วัฒนธรรมองค์กร

วันนี้หลายๆ องค์กรจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม เช่น ในเรื่องของความเกรงใจ ที่มีมากจนพองาม ซึ่งบางครั้งอาจไม่เกื้อหนุนให้คนตั้งคำถามกับสิ่งเก่าๆ ที่คุ้นเคย หรือทำกันมาเป็นเวลานาน อนุญาตให้ทำข้อผิดพลาด เปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันนำข้อผิดพลาดมาเป็นบทเรียน โดยไม่ชี้นิ้ว หรือตำหนิกันและกัน  สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนรู้สึกสบายใจและสะดวกใจที่จะให้และรับฟีดแบ็กกันจนเป็นกิจวัตรประจำวัน ประหนึ่งดังนักกีฬาที่เตรียมตัวเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกที่กระหายจะได้รับฟังคำแนะนำจากโค้ช ที่จะมาช่วยชี้ข้อบกพร่องและจุดอ่อนเพื่อปรับปรุงตนเองไปสู่เส้นชัย

3ระบบ (System & Process)

ระบบและกระบวนการต่างๆ จะต้องสนับสนุน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทชั้นนำหลายแห่งเช่น  P&G และ Google  ที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีโอกาสหมุนเวียนไปทำงานในตำแหน่งต่างๆ (Job Rotation) แม้ว่างานนั้นจะเป็นสิ่งใหม่ที่ทำให้ต้องเสียเวลา เสียทรัพยากรในการฝึกฝนหรือเรียนรู้งานใหม่ แต่ถือเป็นการลงทุนเพื่อให้บุคลากรมี Learning Agility สูงขึ้น

นอกจากนี้องค์กรจำเป็นต้องลงทุนในการสร้างระบบนิเวศน์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมแนวทางการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ (New Way of Learning) ซึ่งประกอบด้วยคอนเทนต์ชั้นเยี่ยม การออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลและนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงสำหรับทีมงานในทุกระดับ สนับสนุนให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง (Self-learning Accountability) สร้างวัฒนธรรมและมอบอำนาจให้ผู้นำทุกระดับในองค์กรมีส่วนรวม สนับสนุนการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถของคนในองค์กร ลงทุนในดิจิทัล แพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัวและปรับขนาดตามความต้องการได้ (Flexible and Scalable) 

ยืนอยู่ที่เดิมไม่รอด ดีเท่าเดิมไม่พอ รู้เท่าเดิมไม่ทัน 

Alvin Toffler ฟิวเจอร์ริสท์ชื่อดังเคยกล่าวไว้ว่า คนที่ไม่รู้หนังสือในศตวรรษที่ 21 จะไม่ได้หมายถึงผู้ที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ แต่จะหมายถึงผู้ที่ไม่สามารถเรียนรู้ ละทิ้งความรู้เดิม แล้วเริ่มเรียนรู้ใหม่ต่างหาก” (The illiterate of the 21st century will not be those who cannot read and write but those who cannot learn, unlearn and relearn)

เพราะวันนี้เราอยู่ในโลกยุคใหม่ที่หมุนเร็วกว่าเดิมหลายเท่า  คนเก่งในวันนี้ถ้าไม่ขวนขวายหาความรู้ใหม่ๆ และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ก็อาจกลายเป็นคนที่ล้าหลังได้ในเวลาอันรวดเร็ว

วันนี้เราจึง ““ยืนอยู่ที่เดิมไม่รอด ดีเท่าเดิมไม่พอ รู้เท่าเดิมไม่ทัน 

----------------------------------------------

เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสู่โลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว PacRim Group ได้นำ Power Skills จาก Partners ระดับโลกทั้ง Franklin Covey, Vital Smarts, GP Strategies และ DPI ร่วมกันทำเนื้อหาเป็นภาษาไทย  โดยทีมที่ปรึกษาของบริษัท ในรูปแบบ Live Online ร่วมกับ Micro Learning VDO 2-5 นาที สั้นๆ ดูง่ายๆ กว่า 100 เรื่องครอบคลุมทักษะที่จำเป็น ที่จะช่วยจุดประกาย Mindset และเสริมทักษะ รวมถึงให้ Tips & Tricks เพื่อการใช้เวลาอย่างประหยัดแต่นำไปฝึกฝนใช้ได้จริง ซึ่งหากผู้อ่านกรุงเทพธุรกิจสนใจสามารถติดต่อคุณเบ็ญจวรรณ์  งามระลึก โทร. 083-495-6915 อีเมล:benjawan@pacrimgroup.com หรือคลิกอ่านรายละเอียด https://pacrim.link/Power

เกี่ยวกับผู้เขียน

พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ เป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร PacRim Group [email protected] 

162666951761